การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564
การเดินขบวนและการดื้อแพ่งนิยมประชาธิปไตยในประเทศไทย
ฝ่ายผู้ชุมนุม
แก้ไข- พี่ๆเจ้าหน้าที่จะจัดการกับกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงแบบนี้มั้ยครับ
- กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม
- ฮอร์ครักซ์ยังไม่ถูกทำลาย เครื่องรางยมทูตยังหาไม่พบ ฉะนั้นคุณไม่สามารถพูดออกมาในที่สาธารณะได้ บางทีอาจอยู่ในเยอรมนี
- ผู้ประท้วงกล่าวถึง "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร", 3 สิงหาคม 2563[1]
- ผมยินดี สละอิสรภาพ เพื่อยึดมั่นไว้ซึ่งอุดมการณ์ การอยู่ในคุกนั้นทรมาน อย่าให้อิสรภาพของผมต้องสูญเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วงผมแต่จงพยายามนำชัยชนะกลับคืนมา
- ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือ แอมมี่ เดอะบอตทอมบลูส์ โพสต์ผ่านทางอินสตาแกรมหลังจากถูกตำรวจควบคุมตัวในวันที่ 13 ตุลาคม, 15 ตุลาคม 2563[2]
- ผบ.ตร. : “ที่บ้านไม่มีรถไฟฟ้าใช่ไหม...พาลูกน้องมาดูรถไฟฟ้าชอบไหม”
- เจ้าหน้าที่ : “ชอบครับ”
- ผบ.ตร. : “คราวหน้ามาอีกไหม”
- เจ้าหน้าที่ : “นายสั่งก็มาครับ”
- บทสนทนาระหว่างผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากต่างจังหวัด, 16 ตุลาคม 2563[3]
- ขอพวกพี่สนุกหน่อย มันเต็มที่แล้ว
- ตำรวจควบคุมฝูงชน, 10 สิงหาคม 2564[4]
- ขออนุญาตฝากไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่าคำพิพากษาที่จะเกิดขึ้นนั้นจะผูกพันทุกองค์กร จะผูกพันพี่น้องประชาชนทุกคน ถ้าท่านตัดสินว่าเราปฏิรูป มันก็จะเป็นเช่นนั้น หากบอกว่าเราล้มล้างสถาบัน มันก็จะเป็นเช่นนั้น
- อานนท์ นำภา กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องที่มีผู้ยื่นให้ศาลฯ วินิจฉัยว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่, 19 กันยายน 2563[5]
- ผมขอสรรเสริญและขอบคุณ คุณPenquin นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้ยอมเสียสละเพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศไทย รายการที่เขาขอนั้นมีความชอบธรรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศชาติและพระมหากษัตริย์
- ประจวบ เจริญสุข
- ยืนยันด้วยคลิป ถ่ายโดยผม ขณะรายงานข่าว บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล และแยกนางเลิ้ง ไม่มีการขัดขวางขบวนเสด็จของพระราชินี และ เจ้าฟ้าทีปังกรฯ แต่อย่างใด ขบวนเสด็จดังกล่าวฝ่ามาในที่ชุมนุมโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าใดๆ อันนี้พูดตามหลักข้อเท็จจริง #สื่อไทยต้องทํางาน #ม๊อบ14ตุลา
- นพเก้า คงสุวรรณ
ข้อความบนป้ายประท้วง
แก้ไข- การ์ดอย่าตกพ่องง!
- ภานุพงศ์ จาดนอก ถือป้ายประท้วงรอรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะกำลังเดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์โรคโควิดที่จังหวัดระยอง, 16 กรกฎาคม 2563[6]
ฝ่ายต่อต้านผู้ชุมนุม
แก้ไข- เสียใจที่วันนี้คำว่าสิทธิเสรีภาพนั้นถูกนำมาใช้คุกคามความรัก และศรัทธาที่คนไทยมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
- เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์
- เข้าคุกแม่งให้หมด รำคาญ
- ศศิพัฒน์ พงษ์ประภาพันธุ์
- กลุ่มของตนเองพร้อมที่จะพูดคุยและเสนอแนะกับตัวแทนกลุ่มคณะราษฎรในการปฏิรูปประเทศโดยที่ไม่มีการจัดช่วงถึงสถาบัน ซึ่งเป็นเสรีทางการแสดงออกในหลักประชาธิปไตย โดยจุดประสงค์หลักของกลุ่ม ไม่ต้องการเป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายใด เพียงแต่การรวมตัวครั้งนี้ เพื่อใช้รถติดเครื่องขยายเสียงเสนอแนวคิด ขณะที่ผู้ชุมนมกลุ่มคณะราษฎรเคลื่อนผ่าน แต่เมื่อมีการย้ายที่ชุมนุม ก็จะไม่ตามไป เพราะไม่ได้มีเจตนาแบบนั้น อาจถูกมองเป็นคู่ขัดแย้ง
- สาธุ อนุโมทามิ
รัฐบาล
แก้ไข- วันนี้ คลังขอเสนอคำว่า "วิ่งไล่พุง" ใช่ครับ "วิ่งไล่พุง" เพื่อนๆไม่ได้อ่านผิด แล้วผมก็เขียนไม่ผิดแต่อย่างใด เนื่องจากว่ามีเพื่อนๆพี่หลายท่านถามเข้ามาเยอะว่าได้ไปสมัครงานวิ่งวันที่ 12 มกราคม 63 นี้มั้ย เพราะเห็นเราชอบวิ่งและเป็นนักการเมืองด้วย" จากคำถามจึงเป็นที่มาของโพสต์นี้ถามว่าสมัครมั้ย แล้วจะไปร่วมมั้ยไม่ว่าจะงาน วิ่งไล่ หรือ เดินเชียร์ คำตอบคือไม่ได้ไปทั้ง2งานครับ และไม่เคยคิดจะสนับสนุนด้วยเหตุผลที่ว่าทั้ง 2 งานมีจุดประสงค์ทางการเมืองและความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมักนำมาซึ่งความแตกแยก ในที่สุดก็ทะเลาะกันแบ่งฝักแบ่งฝ่าย "มีคนชอบก็มีคนไม่ชอบ มีดีก็มีไม่ดี ไม่มีใครที่จะดีเป็นที่รักของทุกคนได้หรอก คนมี2ด้านเสมอ แล้วเราจะเอาการเมืองมาทะเลาะทำลายมิตรภาพกันทำไมเล่า" เราคนรุ่นใหม่ นี่มันก็ปี2020แล้วนะ จะมาแบ่งข้างกันอีกหรอ สามัคคีรักกัน รักกันนะจ๊ะ ผมจะไม่ไล่ใครและเชียร์ใคร แต่ถ้าจะให้ไล่และอยากไล่มากที่สุดก็มีแต่พุงผมนี้แหละครับ555 ฉะนั้นเรามา "วิ่งไล่พุง" กันเถอะ สุขภาพดีไม่มีขาย ใครว่างมาวิ่งด้วยกัน มาวิ่งไล่พุงกันเยอะๆนะครับ #วิ่งไล่พุง #1000km2020 #สสสายวิ่งหนุ่มหล่อสายวิ่ง สมเป็นคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ไม่สร้างความแตกนะจ๊ะ
- ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ
- ผมแค่ยกตัวอย่าง เท่าที่ฟังจากนักศึกษามาบางคนก็ไม่ได้อยากมีส่วนร่วมเท่าไร แต่ถูกบูลลี่ถูกกีดกันหลาย ๆ อย่าง ก็ขอให้ทุกคนได้หารือด้วยความเป็นเหตุเป็นผลละกัน
- นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 18 สิงหาคม 2563[7]
- อะไรที่มันไม่ได้ ก็ต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ด้วย อย่าเรียกว่านักศึกษาทั้งหมด หรือนักเรียนทั้งหมด มันไม่ใช่ มันเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนในสังคม แต่ตนก็ฟังพวกเขา เพราะไม่อยากให้เกิดจลาจล หรือสงครามกลางเมือง ตนไม่อยากให้ไปถึงจุดนั้น ซึ่งทางสื่อมวลชนก็ต้องช่วยตนตรงนี้ด้วย
- นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 19 สิงหาคม 2563[8]
- อย่าประมาทกับชีวิต เพราะคนเราสามารถตายได้ทุกเวลา อย่าไปท้าทายกับพญามัจจุราช
- ประยุทธ์ จันทร์โอชากล่าวกับผู้ประท้วง, 16 ตุลาคม 2563[9]
อื่นๆ
แก้ไข- กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ
- วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ทรงตรัสชมผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์ ร.9 กลางกลุ่มผู้ชุมนุม 24 ตุลาคม 2563[10]
- อะไรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ควรที่จะมีความระมัดระวัง ทุกวันนี้เราเห็นการจาบจ้วง หยาบคาย ล้อเลียน และล่วงละเมิดต่อสถาบัน กระทบกระเทือนจิตใจและสังคมโดยรวม ขณะเดียวกันก็ทำให้การชุมนุมทางการเมืองด้อยค่าตัวเองลงไป ซึ่งไม่ได้สร้างผลดีต่อทุกฝ่าย จุดยืนของกมธ. คือ สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย
- สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
อ้างอิง
แก้ไข- ↑ Yer an Activist, Harry: Themed Protest Calls for Democracy, Reforms
- ↑ "แอมมี่ เดอะบอททอมบลูส์" ออกมาคลื่อนไหวหลังโดนจับ ยินดีสละอิสรภาพเพื่อยึดมั่นซึ่งอุดมการณ์
- ↑ เกาะติดเหตุสลายการชุมนุม "คณะราษฎร" ที่แยกปทุมวัน
- ↑ เผย ผบช.น.เพิ่งรู้จากสื่อ คลิป คฝ.พูด "ขอพวกพี่สนุกหน่อย มันเต็มที่แล้ว"
- ↑ อานนท์ลั่นเช้านี้ปักหมุดคณะราษฎร 'หมุดที่ 2' ตำรวจวางแนวป้องกันผ่านฟ้า-มัฆวานฯ
- ↑ ตร.เชิญตัว ชายวัยรุ่น 2 คน ถือป้ายด่านายกฯ ขณะรอรับลงพื้นที่ระยอง
- ↑ นายกฯ ห่วงนักศึกษาที่ไม่ร่วมม็อบถูกเพื่อนบูลลี่ แนะให้คุยกับแบบมีเหตุผล
- ↑ นายกฯ หวั่นเกิดสงครามกลางเมือง เตือน นักศึกษาชุมนุมได้ แต่ขอร้องอย่าแตะสถาบัน
- ↑ “ประยุทธ์” ถามกลับ ผมทำผิดอะไร ลั่นไม่ลาออก รับ มีแผนใช้เคอร์ฟิว แต่ยังไม่ใช้ตอนนี้
- ↑ "ในหลวง" ตรัส "กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ" ชายชูพระบรมฉายาลักษณ์ ร.๙ กลางผู้ประท้วง (ชมคลิป)