คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Council for Peace and Order (NCPO) เดิมใช้ชื่อ National Peace and Order Maintaining Council (NPOMC) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้สองวัน และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ

วลีเด็ดจากเพลง

แก้ไข
  • เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน

คำคมเกี่ยวกับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

แก้ไข
  • สพฐ.ได้จัดทำบทเพลงค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ เสร็จเรียบร้อยแล้วจะให้ นายณเดชน์ คูกิมิยะ และ น.ส.อุรัสยา เสปอร์บันด์ หรือ ญาญ่า นักแสดงชื่อดังเป็นผู้ขับร้อง โดยบทเพลงดังกล่าว สพฐ.จะให้โรงเรียนนำไปเปิดทำกิจกรรมภายในโรงเรียน เช่น เต้นออกกำลังกาย หรือใช้ประกอบการแสดงจินตลีลา เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาของบทเพลงก็จะมาจากค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ ส่วน การให้เด็กท่องบทอาขยานนั้นโรงเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเชื่อว่าจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีคุณธรรมและจริยธรรมในอนาคต อย่างไรก็ตามการการออกแนวปฎิบัติในเรื่องนี้จะเป็นการกำหนดตัวชี้วัดด้าน ความดีความชอบของผู้บริหารและเขตพื้นที่การศึกษาด้วย
    • กมล รอดคล้าย
  • แก้ปัญหาไม่ได้ ก็ให้คนที่ฉลาดกว่ามาแก้ ไม่ใช่ปิดประเทศ
    • โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
  • ทั้งๆ ที่ถ้าเราพิจารณาให้ดี สนช. ได้รับการแต่งตั้งมาจากตัว คสช. เอง ก็ยังไม่มีความเป็นอิสระ ไม่ใช่ผู้แทนปวงชน ไม่น่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมในการคัดเลือกองค์กรอิสระ เพราะฉะนั้นผลที่เราเห็นก็คือแทนที่เราจะได้ศาลและองค์กรอิสระซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล กลับกลายเป็นว่าเราได้ศาลและองค์กรอิสระซึ่งเป็นพวกเดียวกันกลับรัฐบาลในขณะนั้น ผลที่ตามมาก็คือศาลและองค์กรอิสระกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดอำนาจของสิ่งที่เราเรียกว่าระบอบ คสช.
    • เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
  • "คสช.ไม่มีบทบาทอะไรในการเลือกตั้ง เลย แต่มีหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อย เข้ามาเพื่อสร้างบรรยากาศดีสำหรับการเลือกตั้ง ไม่ใช่อุปสรรคของการเลือกตั้ง"
    • จอม รุ่งสว่าง
  • ปัจจุบันรัฐบาล คสช.กลายมาเป็นคู่ขัดแย้งเสียเองกับพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตย จึงขอเสนอว่าในการจัดตั้งรัฐบาล ควรมีการดำเนินการในรูปแบบของ "รัฐบาลปรองดอง" ซึ่งไม่ใช่รัฐบาลแห่งชาติที่มีการเสนอและพูดคุยอยู่ในขณะนี้ แต่จะให้พรรคการเมืองที่ได้ที่นั่ง ส.ส.ผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 มาร่วมพูดคุยกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลปรองดองร่วมกัน มุ่งเน้นแก้ปัญหาให้กับประเทศใน 3 เรื่องหลัก ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยรัฐบาลปัจจุบันต้องยอมเสียสละ ยอมถอยออกจากอำนาจเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ รัฐบาลปรองดองแห่งชาตินี้ จะต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี ก่อนคืนอำนาจกับประชาชนเลือกตั้งใหม่ โดยเฉพาะภารกิจสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยมุ่งเน้นไปที่ "หัวใจ" ของรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นี้ ถ้าเปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์ เป็นร่างกายที่กำลังเป็นโรคหัวใจรั่ว ทำให้มีอายุไม่ยืน ดังนั้นต้องมีการแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตย ทั้งประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี และที่มาของ ส.ว.ที่ต้องมาจากการเลือกตั้ง
    • ดิเรก ถึงฝั่ง
  • กฎหมายนี้กว่าจะมีผลใช้ก็หลังเลือกตั้งแล้ว ไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลจะออกกฎหมายให้นักการเมืองใช้ ประกอบการแนวคิดยุทธศาสตร์ชาติยี่สิบปี ทำให้เชื่อว่า คสช. คงอยากจะอยู่ในอำนาจในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่อยากมีอำนาจต่อไปคงอยากมีเครื่องมือควบคุมกำกับความเห็นของประชาชนผ่านการกำกับสื่อ" เทพชัยกล่าวและย้ำว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสิทธิของสื่อไม่ควรร่างในบรรยากาศที่มีอำนาจปกครองแบบนี้ ในบรรยากาศที่มีผู้นำประเทศที่มีทัศนคติต่อสื่อในเชิงลบแบบนี้ ควรร่างในบรรยากาศประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากกว่า
    • เทพชัย หย่อง
  • "การล็อคคอ จับตัวผู้เห็นต่างเกิดช่วงแรก คสช.เท่านั้น ที่ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดความสงบ แต่ก็ไม่เคยไปทำร้ายใคร และตอนนี้คสช.ก็ไม่ได้ทำแล้ว อีกทั้งมุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนยังขึ้นอยู่กับคำที่ใช้เรียก และช่วงเวลาที่ประเมิน ทั้งนี้ที่มีการประเมินออกมาดังกล่าวน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะในปัจจุบันคสช.ไม่ได้ไปลิดรอนสิทธิ์แบบนั้น เราใช้การเชิญมาพูดคุย ทำความเข้าใจ และในระยะหลังๆนี้ จะเห็นได้ว่า คสช.ก็ไม่ได้กระทำการในลักษณะนั้น ไม่ค่อยมีการเชิญมาปรับทัศนคติแล้ว"
    • ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
  • นับตั้งแต่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ยังไม่มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกแต่อย่างใด เพียงแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพที่กฎหมายปกติบังคับใช้ไม่ได้ เช่น การป้องกันปราบปรามยาเสพติด รวมถึงประเด็นด้านความมั่นคงด้วย
    • ธีรชัย นาควานิช
  • สังคมไม่ควรยอมให้ คสช.เข้าใจผิดทึกทักว่า ความมั่นคงของรัฐบาล คสช. เท่ากับความมั่นคงของรัฐ
    • บุญเลิศ วิเศษปรีชา
  • การใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการท้องถิ่น ข้าราชการประจำ 300 กว่าคน ที่เกี่ยวข้องการทุจริต แต่กลับไม่มีทหารสักคน แสดงว่าทหารไม่มีการคอร์รัปชั่นใช่หรือไม่ การใช้ ม.44 นั้นไม่โปร่งใส โยกย้ายใครเราไม่เคยรู้ข้อกล่าวหา การที่ลงโทษไป 80 รายก็ไม่รู้ลงโทษอย่างไร เพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูล ไม่ได้สร้างให้สังคมเกิดความมั่นใจ เป็นการเล่นงานพวกตรงข้ามหรือไม่ พวกเดียวกันไม่เล่น อย่างกรณีที่มีการตั้งคำถามไม่ชอบมาพากลกับองค์การทหารผ่านศึก (อผศ.) ที่ผูกขาดขุดลอกคลอง หรือโซล่าร์ฟาร์มก็ไม่มีการสอบสวน หรือการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ที่สอบแล้วไม่ผิดเพราะอะไรก็ไม่เปิดเผย หรือแม้แต่เครื่องตรวจระเบิดGT200 เรื่องก็ยังไม่ถึงไหน การกุมอำนาจไว้มากๆ โดยไม่มีการตรวจสอบถือว่าอันตรายที่สุด ทางออกคือต้องเปิดเผยข้อมูลทุกเรื่อง เว้นแต่เรื่องที่เป็นความลับจริงๆ ให้ประชาชนเข้าถึงได้ถึงถึงจะแก้ถูกจุด
    • ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
  • "ได้รับกำลังใจจากครอบครัว เพื่อน ๆ น้อง ๆ นักศึกษา รวมทั้ง อาจารย์ก็พร้อมอาสาที่จะใช้ตำแหน่งเป็นนายประกันให้ จึงไม่กังวล และไม่กลัว เพราะรู้อยู่ว่าการต่อสู้ย่อมมีต้นทุนที่ต้องจ่าย แต่ยืนยันว่าเป็นการต่อสู้เพราะไม่อยากใช้ชีวิตอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการ ซึ่งหากจะเปรียบเผด็จการคสช.เป็นปีศาจ อาวุธสำคัญที่จะ กำจัดปีศาจตนนี้ได้คือ ความกล้าของคนเมืองไทยทุกคน ที่จะออกมาต่อสู้กับเผด็จการ ออกมาร่วมกันเปิดไฟ เพื่อไล่ปีศาจเผด็จการ ไม่ให้เผด็จการกดขี่ข่มเหงคนไทยอีกต่อไป"
    • ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์
  • รู้ไหมครับทหารทำแบบนี้ได้เพราะอะไร? เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังหลับหูหลับตาเชียร์ โดยมีฐานมวลชน กปปส.เป็นบันไดให้ คสช.ปีนขึ้นมา ซึ่งผมเป็นหนึ่งในนั้น และรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง คำถามที่อยู่ในใจคือ ตอนนั้นสุเทพ กำลังวางแผนอะไรกับทหาร? หวังว่าคนไทยจะตื่นทันเวลา
    • ประสิทธิชัย หนูนวล
  • จะนำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ทั้งระบบน้ำ ราง ถนน อากาศ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอยู่ในโครงการ 2 ล้านล้านบาท นำไปเสนอให้ประธาน คสช. เพื่อทบทวนจัดทำแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์
    • ประจิน จั่นตอง
  • สรุปคือ ต้องถามว่า 1.คสช.หมายถึงอะไร หมายถึงนายพลที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ขณะนี้ หรือรวมบริวารด้วย และ 2.คสช.จะเข้ามาทำอะไร และมีอำนาจหน้าที่อะไร ถ้าเข้ามาผ่านกฎหมาย ก็ต้องถามว่า สมาชิก คสช.มีความรู้มากมายที่จะเข้ามาทำกฎหมายหรือ การจะทำอะไรต้องดูงาน และจัดคนให้เหมาะสมกับงาน ถ้าเอาคนทั้งกระบิเข้ามาโดยไม่สนอะไรเลย ก็เท่ากับการสืบทอดอำนาจอย่างที่คนเขาแคลงใจกันนั่นเอง
    • พงษ์เทพ เทพกาญจนา
  • แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกระบวนการการระงับนั้น จะเป็นในลักษณะของการสอดส่องผ่านกลุ่มไลน์ (Line group) มากกว่า โดยทางเราอาจจะมีมาตรการเข้าไปสมัคร “เป็นเพื่อนกับท่าน” แล้วพอท่านกดรับ (accept) ผมก็จะคอยดูว่าในกลุ่มนั้น มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าข่ายการเผยแพร่ข้อมูลที่ขัดต่อประกาศ คสช. หรือไม่
    • พิสิษฐ์ เปาอินทร์
  • คสช. ไม่ใช่มนุษย์วิเศษที่จะสามารถบันดาลสิ่งใดก็ได้
    • ไพบูลย์ คุ้มฉายา
  • คุณยิ่งลักษณ์น่าจะพอทราบคำตัดสินแล้ว และคงถูกกดดันจากผู้มีอำนาจให้เลือกที่จะหนี เพื่อแลกกับอิสระภาพนอกประเทศ และเพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลสูญเสียเลือดเนื้อของประชาชนหลังคำตัดสิน ซึ่งเข้าทางคสช.และเมื่อคุณยิ่งลักษณ์หนีออกแล้ว เท่่ากับ คสช.ได้ถอดสลักระเบิดเวลาลูกใหญ่ออกไปได้ แต่ในระยะยาว อำนาจเผด็จการไม่จีรัง แม้คุณยิ่งลักษณ์ จะไม่อยู่แล้ว แต่ประชาชนจำนวนมากที่พร้อมจะออกมาต่อสู้เพื่อความถูกต้อง เพื่อหลักยุติธรรมและประชาธิปไตยยังมีอยู่อีกมาก รอเพียงว่าเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไหร่เท่านั้นเอง
    • พนัส ทัศนียานนท์
  • การที่คสช.อ้างตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์เสียเอง ทำให้คดีไม่คืบหน้า และมีความพยายามของคสช.ที่พยายามเข้ามาก้าวก่ายคดีตั้งแต่ครั้งแรกๆ การแต่งตั้งคณะกรรมชุดนู้นชุดนี้ ล่าสุดอย่าง สปท.ของ เสรี สุวรรณภานนท์ ที่พยายามเสนอแนวทางปรองดองในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะไทยไม่เคยมีกระบวนการอย่างนี้มาก่อน แต่ควรให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วม และไม่ควรทำช่วงนี้
    • พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
  • เป็นการทำลายสถาบันทางการเมืองซึ่งขัดแย้งต่อเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และอาจจะเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ เป็นความกลัวที่จะแพ้เลือกตั้งซึ่งเป็นความอัปยศและอัปลักษณ์อย่างยิ่งของคณะ คสช.ซึ่งพรรคการเมืองทั้งหลายคงจะได้หารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนว่าจะเป็นแผนที่จะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งเพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างเลื่อนการเลือกตั้งหรือทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่นั้นประชาชนจะต้องช่วยกันติดตามตรวจสอบต่อไป
    • ภูมิธรรม เวชยชัย
  • ยุค คสช.มีวัฒนธรรมเรื่องกฎหมายเป็นของผู้มีอำนาจ ตีความบังคับใช้โดยผู้มีอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ในการอยู่ต่อในอำนาจ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่อันตราย เราจะต้องล้างวัฒนธรรมนี้ใหม่หลังหมดยุค คสช.
    • ยิ่งชีพ อัชฌานนท์
  • ได้เคยยื่นเรื่องเอาไว้เมื่อวันที่ 15 พ.ค. และได้หนังสือตอบรับจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่าเรื่องดังกล่าวถึงหัวหน้า คสช.เรียบร้อย แต่ขณะนี้เรายังไม่ได้รับการตอบกลับมา และเมื่อเรายังไม่ได้เห็นรายชื่อทำให้ยังมีข้อสงสัยอยู่ หาก คสช.จริงใจขอให้เปิดเผยออกมา
  • ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
  • ส่วนที่มีการมองว่าเป็นการเลื่อนเพื่อสืบทอดอำนาจและอ้างพระราชพิธีนั้น นายวุฒิสาร กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็น เพราะไม่ว่าจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนการเลือกตั้ง รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็เป็นรัฐบาลต่อไปอยู่แล้วจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ และไม่ได้ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับบางพรรคการเมือง เพราะทุกพรรคมีเวลาเท่าเทียมกัน
    • วุฒิสาร ตันไชย
  • “ในเมื่อวันนี้คุณเดินเข้าสู่เส้นทางทางการเมืองแล้ว ก็ควรทำทุกอย่างอย่างเที่ยงธรรม ทีคุณยังเดินเข้าหานักการเมืองได้เลย ไม่ใช่ตัวเองทำได้แต่ไปตำหนิคนอื่น ทั้งนี้ การไปเจอ ไปกินข้าวกันเป็นเรื่องปกติที่คนที่รักและคิดถึงกันเขาก็ทำกัน และคงไม่มีใครเอาเรื่องการเมืองมาคุยกันในวงกินข้าวหรอก”
    • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
  • อ่านรัฐธรรมนูญ มาตราว่าด้วยที่มาของสว.แล้ว รัฐบาลคสช.น่าจะทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกที่มีผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา และมีความเป็นกลางทางการเมือง แต่ทำตรงกันข้าม ฝากถามนักกฎหมายหน่อย ว่าเรื่องนี้ประชาชนจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
    • วิทยากร เชียงกูล
  • ส่วนตัวมองว่า ผลงานของ คสช. ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเกินเป้าเป็นอย่างมาก
    • วีรชน สุคนธปฏิภาค
  • ผมไม่เคยเชื่อว่า คสช. อยากจะคืนอำนาจให้ประชาชน แต่ด้วยความด้อยสติปัญญาคนพวกนี้จึงไม่สามารถบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของประชาชน การถอยลงจากอำนาจจึงมิได้เกิดจากความเต็มใจแต่ไม่อาจยื้อต่อเพราะกลัวจะถูกประชาชนออกมาขับไล่
    • วัฒนา เมืองสุข
  • “การจะพิจารณาประเด็นปัญหานี้ให้ได้ข้อยุติ จำเป็นต้องได้รับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจากหน่วยงานของทหารซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ โดยสำนักงาน กสม. ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแจ้งข้อขัดข้อง และแม้จะพิจารณาตรวจสอบไปตามพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่แล้วก็ยังมิอาจได้ข้อยุติที่ชัดเจนว่าการควบคุมตัวผู้ร้องทั้งสามกับพวก ผู้ถูกร้องได้ใช้อำนาจตามกฎหมายใด และไม่อาจพิจารณาได้ว่าผู้ถูกร้องได้กระทำการหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีควบคุมตัวผู้ร้องทั้งสามกับพวกหรือไม่”
    • วัส ติงสมิตร
  • "รายงานตัว ?" หลังจากแถลงการณ์ของคณะรัฐประหารได้ประกาศรายชื่อบุคคลให้ไปรายงานตัว และได้ปรากฎชื่อผมด้วยนั้น ผมขอแจ้งให้ทราบว่า ชีวิตเคยไปรายงานตัวตอนสอบเข้าเรียนเท่านั้น นอกจากนั้นไม่เคยไปรายงานตัวเลย อีกอย่างผมไม่ยอมรับอำนาจคณะรัฐประหาร การออกประกาศเหล่านี้จึงไม่สามารถบังคับจิตใจผมได้ และที่เมื่อเช้าไปตามหาผมทีคอนโด แล้วไปทำลูกบิดบ้านผมพัง อันนี้ผมเคือง อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการกวนตีนของผมจะไม่มีทางหยุดยั้ง จนกว่าคุณจะจับตัวผมได้ ลองดูมั้ย ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ ?
    • สมบัติ บุญงามอนงค์
  • "คำสั่งตาม ม.44 ครั้งนี้ทำให้ระบบกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของไทยเสมือนย้อนกลับไปในสมัยที่กิจการโทรคมนาคมอยู่ใต้ระบบสัมปทาน ซึ่งเป็นระบบที่เปิดให้มีการวิ่งเต้น กติกา สัญญาต่างๆ ที่ไม่สามารถคาดหมายและพยากรณ์ได้ ทำให้เกิดธนกิจการเมือง (Money Politics) สร้างเจ้าสัวใหญ่โตแล้ววันต่อมาก็เข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง เสียหายต่อเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของประเทศ"
    • สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
  • รัฐธรรมนูญที่ คสช.สั่งให้เขียน เป็นรัฐธรรมนูญของ คสช., เป็นของบวรศํกดิ์, เป็นของมีชัย, และกรรมการร่วมร่าง ไม่ใช่ของประชาชน คสช.ต้องสั่งใหม่ คสช.ต้องสั่งใหม่ว่า ให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญและให้ร่วมตลอดกระบวนการ เท่านี้ปีเดียวก็สำเร็จ
    • สมเกียรติ อ่อนวิมล
  • “ฝากไปยัง คสช. ว่าบ้านเมืองเราเป็นระบบใหม่แล้วเดี๋ยวนี้ไมมีใครไปไล่ท่านแล้ว ขอให้มีสปิริตช่วยปลดล็อคพรรคการเมืองให้ทำกิจกรรมได้ ซึ่งการต่อสู้ครั้งนี้ไม่ได้เป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง แต่เป็นการต่อสู้กับคนรุนเก่าใทำเนียนบ คนรุ่นดึกดำบรรพ์ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กับคนรุ่นใหม่ในพรรคการเมือง”
    • สุรทิน พิจารณ์
  • ยอมรับว่าตกใจกับข่าวที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้นานาประเทศ เห็นว่ารัฐบาล และคสช.ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เหมือนที่ผ่านมา และการที่รัฐบาลใช้กฎอัยการศึกก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    • อมรา พงศาพิชญ์
  • การโพสต์ข้อความเชิญชวนให้ต่อต้าน คสช. ถือว่ามีความผิดแน่นอน เพราะเป็นการชวนคนให้มาชุมนุม หรือการแสดงความชื่นชอบด้วยการกดไลค์ ถือว่ามีความผิดเช่นกัน เพราะเป็นการกระจายข่าวโดยคอมพิวเตอร์
    • อำนวย นิ่มมะโน