ความหมายของห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดประชาชน[1] เป็นแนวคิดทางการจัดสรร การเรียนรู้นอกสถาบันการศึกษาในประเด็นที่ไม่มุ่งหวังต่อข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่การเรียนรู้แบบมีกฎเกณฑ์ (Follow a set curriculum) หลักสูตรต่าง ๆ มุ่งหวังต่อทักษะการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่มาจากประชาพิจารณ์ของประชุมชนในท้องถิ่น


“ ห้องสมุดประชาชนมีความหมายแตกต่างกันไปในละประเทศ คำว่า ห้องสมุดประชาชน เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ ก่อนหน้านี้อาจจะใช้คำอื่น เช่น ห้องสมุด หรือ หอไตร แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจ และรู้จักกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงห้องสมุดประชาชน ”
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล (ค.ศ. 2002)[2]


“ ห้องสมุดประชาชน คือ ห้องสมุดที่ให้บริการ แก่ผู้ที่อาศัย อยู่ในชุมชนใด ชุมชนหนึ่ง หรือเขตใดเขตหนึ่ง และได้รับความสนับสนุน ทางการเงินบางส่วน หรือทั้งหมด จากเงินของประชาชน ”
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (ค.ศ. 1973)


“ ห้องสมุดประชาชน คือ ห้องสมุดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยกฏหมายของรัฐ ได้รับการสนับสนุน การเงินจากภาษีท้องถิ่น หรือ จากการบริจาค ดำเนินการบริหารงาน โดยประชาชน ประชาชน ทุกคนมีสิทธิ ร่วมกัน ในการอ่าน และการใช้บริการ ”
วิลเลียม เฟรเดอริค พูล (ค.ศ. 1876) บรรณารักษ์ ของห้องสมุดประชาชนชิคาโก


“ ห้องสมุดประชาชนคือ ห้องสมุดซึ่งให้บริการทั่ว ๆ ไปฟรีแก่ประชาชนในท้องถิ่น ในอำเภอ หรือภูมิภาค ได้รับ การสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลหรือจากประชาชน ห้องสมุดประชาชน รวบรวมวัสดุห้องสมุด ส่วนใหญ่ให้บริการฟรีแก่คนในท้องถิ่น แต่อาจคิดค่าบริการ จากคนนอกท้องถิ่น ”
สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ค.ศ. 1983)

อ้างอิง

แก้ไข