อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน-อเมริกัน

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (14 มีนาคม ค.ศ. 1879 - 18 เมษายน ค.ศ. 1955) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพอันเลื่องลือ

ผมเตือนตัวเองเป็นร้อย ๆ ครั้งทุกวันว่าชีวิตภายในและภายนอกของผมขึ้นอยู่กับแรงงานของคนอื่น ทั้งคนเป็นและคนตาย และผมต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะให้ได้ในระดับเดียวกันกับที่ผมได้รับและยังคงได้รับอยู่

คำพูด

แก้ไข
  «พวกเขาไปที่ Villa Carlotta (ที่ ทะเลสาบโคโม) เพื่อชื่นชมสำเนาของ "คิวปิดและไซคี" โดย Canova และหลังจากที่ใช้เวลากลางคืนที่โรงแรมแล้ว พวกเขาออกเดินทางจาก Lierna ไปยังการเดินทางขึ้นภูเขาสู่ Grigna พบหิมะ "สูงถึงหกเมตร" จากนั้นพวกเขาเช่ารถเลื่อน "ประเภทที่ใช้ที่นั่น ซึ่งมีที่ว่างเพียงพอสำหรับคนรักสองคนเท่านั้น ขณะที่คนขับยืนอยู่ด้านหลังบนแท่น พูดคุยตลอดเวลาและเรียกคุณว่า ‘คุณนาย’" "คุณจินตนาการถึงสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้ไหม?"»  
  จินตนาการสำคัญกว่าความรู้  
  การเมืองนั้นแสนสั้น แต่สมการคงอยู่ชั่วนิรันดร์  
  หากข้อเท็จจริงไม่เหมาะกับทฤษฎี จงเปลี่ยนข้อเท็จจริงนั้นเสีย  
  อย่าเป็นคนที่มุ่งหวังเพียงความสำเร็จ แต่จงมุ่งหวังความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า  
  ความกลัวความตายเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผลที่สุดของมนุษย์  
  มีเพียงชีวิตเพื่อผู้อื่นเท่านั้น ที่มีคุณค่าแก่การมีชีวิต  
  ไม่สามารถรักษาสันติได้ด้วยกำลัง หากแต่ด้วยความเข้าใจ  
  ความประสบความสำเร็จในชีวิตเท่ากับ A ดังนั้น A = x + y + z เมื่อ x เท่ากับงาน y เท่ากับเที่ยวเล่น และ z เท่ากับหุบปากสนิท  
  ข้าพเจ้าไม่อาจทราบได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 ใช้อะไรสู้กัน แต่สงครามโลกครั้งที่ 4 จะต่อสู้กันด้วยท่อนไม้และก้อนหิน  
  สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือ อย่าได้หยุดตั้งคำถาม ความกระหายใฝ่เรียนรู้นั้นมีเหตุผลในตัวมันเองที่จะต้องดำรงอยู่ ช่วยไม่ได้เลยที่เราจะรู้สึกครั่นคร้ามเมื่อได้ครุ่นคิดถึงความลึกลับแห่งนิจนิรันดร์ชีวิต และลักษณะอันน่าพิศวงของสัจจะ แค่เพียงได้คิดคำนึงถึงความลึกลับเหล่านี้วันละนิดก็เพียงพอแล้ว จงอย่าได้สูญเสียความกระหายใฝ่รู้อันศักดิ์สิทธิ์นี้  
  สมการมีความสำคัญต่อข้าพเจ้ามากกว่า เพราะการเมืองเป็นเรื่องสำหรับปัจจุบันกาล แต่สมการเป็นบางสิ่งบางอย่างสำหรับนิรันดร์กาล  
  มีไม่กี่คนหรอกที่เห็นด้วยตา และรู้สึกด้วยหัวใจของตนเอง  
  พระเจ้ามิได้ทรงเล่นลูกเต๋ากับเอกภพเป็นแน่  
  E = mc²  
  กลศาสตร์ควอนตัมนั้นน่าอัศจรรย์ แต่เสียงในหัวใจของฉันบอกว่ามันยังไม่ใช่ความจริง ทฤษฎีบอกอะไรได้มากมาย แต่มันยังไม่พาเราเข้าใกล้ความลับของพระเจ้า ฉันคิดว่า พระเจ้าไม่ได้ทอยลูกเต๋าหรอก  
จดหมายถึง Max Born เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1926
  1 ชั่วโมงที่ชายหนุ่มนั่งเคียงหญิงสาวผ่านไปไวราวกับ 1 นาที แต่ 1 นาทีที่เขานั่งบนเตาที่ร้อน ผ่านไปราวกับ 1 ชั่วโมง นี่คือสัมพัทธภาพ[1]  
  เชาว์ปัญญาทำให้เรามีความกระจ่างชัดในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของวิธีการกับเป้าหมาย แต่ลำพังการคิดหาเหตุผลนั้นมิอาจทำให้เรามีความรู้สึกเกี่ยวกับเป้าหมายพื้นฐานและเป้าหมายสุดท้ายได้ การทำความกระจ่างชัดเกี่ยวกับเป้าหมายพื้นฐานเหล่านี้ และการประเมินค่าก็ดี, ทั้งการทำให้เป้าหมายพื้นฐานเหล่านี้แน่นเหนียวในชีวิตทางอารมย์ความรู้สึกของปัจเจกบุคคลก็ดี สำหรับข้าพเจ้าแล้วดูเหมือนเป็นที่แน่นอนว่าหน้าที่สำคัญที่สุด ซึ่งศาสนาต้องแสดงบทบาทในชีวิตทางสังคมของมนุษย์[2]  

อ้างอิง

แก้ไข
  1. Steve Mirsky Scientific American (September 2002). Vol. 287, Iss. 3; pg. 102.
  2. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, วิทยาศาสตร์, ปรัชญา และศาสนา : ประชุมเอกสารัตถ์ (1941) บทที่ 13, พิมพ์เผยแพร่โดยการประชุมว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศาสนาในความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย, อิงค์., นิวยอร์ค, 1941.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้ไข