ชวลิต ยงใจยุทธ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่
คำพูด
แก้ไข- คนที่กล้าเปลี่ยนแปลงนโยบายจากชนดะ ไปสู่การให้ความรักโดยทั่วไปได้ นี่มันมหาบุรุษนะ ไม่ใช่คนธรรมดาที่ทำอย่างนี้ได้ เพราะต้องคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง[1]
- ด้วยความเคารพต่อข้อคิดเห็นของทุกฝ่าย คำแถลงฉบับนี้ กระผมมิได้กระทำ ในฐานะนักการเมืองเพื่อตอบโต้ หรือ แสวงหาประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองที่สังกัดแต่ประการใด ซึ่งเรื่องทางการเมืองยังมีอีกมาก แต่จะไม่ขอนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ด้วยความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองในฐานะส่วนตัว กระผมได้ทำงานด้านความมั่นคง ของชาติมายาวนาน และนำเสนองานด้านวิชาการอันเป็นหลักวิชาที่เป็นความเห็นถูกแห่งสัมมาทิฐิ เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นการให้การศึกษาต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่ความสำเร็จของการสร้างประชาธิปไตยและเป็นการนำเสนอหลักวิชาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติชาติทั้งปวง ต่อไป
- คือ หวังในพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานให้พวกเรา เพื่อยุติความขัดแย้งที่มีมานาน และสร้างความเสียหายให้กับบ้านเมืองอย่างมหาศาล...พระอาญามิพ้นเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับทุกสิ่งทุกอย่างไว้เหนือหัว หากสิ่งที่อยู่ในหัวใจของพวกเราในวันนี้ คือ ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมให้กับพี่น้องคนไทย ให้กับพวกเราด้วย ผมคิดว่าถ้าไม่มีพระมหากรุณาธิคุณ ก็ไม่แน่ใจต่อการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นภายในวันสองวันข้างหน้านี้ และจะเป็นตราบาปที่คนไทยไม่ต้องการเห็น...ที่ตัดสินใจมาทำงานทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย เพราะมีภารกิจที่ต้องพิสูจน์ว่า พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อสีนี้และคนที่เกี่ยวข้องมีความจงรักภักดีหรือไม่ วันนี้ก็ได้พิสูจน์ด้วยสายเลือดทหารรักษาพระองค์ จึงขอประกาศว่า บุคคลทุกคนที่กล่าวมาข้างต้น มีความจงรักภักดีอย่างที่สุด สิ่งที่หวัง คือ ให้สังคมไทยเกิดสันติสุข และปัญหาได้รับการแก้ไข จะยืนหยัดทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ให้สถิตสถาพรต่อไปให้จงได้...ผู้สื่อข่าวถามว่า...แสดงว่าใน 1-2 วัน ทหารจะใช้กำลังเข้าสลายประชาชน ใช่หรือไม่ กระผมตอบว่า มันคือสิ่งที่ต้องเน้นย้ำ เพราะกลัวว่าทหารจะใช้กำลังเข่นฆ่าประชาชน...” รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบท้ายได้ปรากฏว่า วันรุ่งขึ้น 20 เมษายน 2553 ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ไม่เห็นด้วยและไม่บังควรที่นำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง” และนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กล่าวว่า “...นับว่าเป็นความคิดที่แย่มาก คนแก่มีวุฒิภาวะถึงขนาดนี้ เคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ย่อมรู้ดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง และอยู่เหนือการเมือง...เป็นการดึงฟ้าให้ต่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และอยู่เหนือความขัดแย้งมาโดยตลอด ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่ทุกคนเข้าใจได้ดีว่า เป็นความคิด ที่ทำลายสถาบัน...“ และคำกล่าวของนายศุภชัย ใจสมุทร ว่า “...ก็ควรต้องรู้ว่าอะไรบังควรหรือไม่บังควร เพราะเป็นที่รู้กันตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง...” ฯลฯ[2]
อ้างอิง
แก้ไข- ↑ พลเอก ชวลิต กล่าวถึงแนวคิด "โซ่ข้อกลาง" แนวคิดทางการเมืองแบบสมานฉันท์ ภายหลังการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007
- ↑ คำแถลงการณ์พลเอกชวลิต เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมือง