ความคิด
ต้อย พระโขนง แก้ไข
คำศัพท์และทั่วไป แก้ไข
๑ มนุษย์และคน มนุษย์ไม่เรื่องมาก ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อแก้ตัวเหมือนคน (คำต่าง ๆ มีระดับความหมายในการปฏิบัติและความหมายที่ละเอียดอ่อน)
๒ แก้กำ(กรรม)แค่แบ (มือ) (การกระทำของทุกคนเป็นกรรม แต่นิ้วมือทั้งห้าของคนเสมือน พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เพียงแบมือออกมาจะเห็นสัจธรรมของนิ้วมือทั้งห้า เป็นสิ่งเตือนใจ)
๓ เมื่อคนเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่ง ไม่ว่า คน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติ ต้องมี ๓ คำนี้เสมอ คือ เข้าใจ ยอมรับ ทนุถนอม จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ (เข้าใจ- คือใช้สมองเรียนรู้ว่า ทุกสรรพสิ่งนั้น ๆ มันเป็นของมันเช่นนั้น แก้ไขได้ก็ดีไป แก้ไขไม่ได้ เปลี่ยนแปลงยาก จากนั้น ยอมรับ- คือใช้จิตรับรู้ว่า ไม่ถือโทษโกธรเคือง สุดท้าย ทนุถนอม- คือใช้วิญญาณรู้ลึกว่า ถ้าสิ่งนั้นดี ให้ดำรงคงอยู่ ถ้าสิ่งนั้นไม่ดี ต้องปล่อยไป)
๔ คุณค่า สำคัญ (กว่า) ราคา คือคำ ๓ คำที่นำไปใช้เปรียบเทียบกับ คน สัตว์ สิ่งของ เพื่อรู้แจ้งแห่งความเป็นจริง (คุณค่า- คือทุกสิ่งที่ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ มีคุณค่าในตัวของมันเองเสมอ ตีราคาไม่ได้ สำคัญ(กว่า)- คือการเทียบเคียงหรือชั่งน้ำหนักว่า ณ เวลานั้น สองสิ่งที่นำมาเทียบเคียง อะไรต้องทำก่อน-หลัง ส่วนราคา- คือเทียบเคียงสองสิ่งที่คนเป็นผู้กำหนดสิ่งนั้นเป็นตัวเงินว่าอะไรถูกหรือแพง)
๕ เพียงพอเพื่อพอเพียง (คนสามารถใช้สิ่งของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดให้พอเหมาะพอดีในการดำรงชีวิตอย่างไม่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น)
๖ หน้าที่ในทางโลกคือสิ่งที่ต้องทำตามที่ผู้อื่นกำหนด ส่วนหน้าที่ในทางธรรมคือสิ่งที่ต้องทำตามที่ตนเองกำหนด (การกระทำใดๆ ต้องมีความสมดุลย์เพื่อความถูกต้องตามกฎเกณฑ์)
๗ ครูคือผู้ที่ทำให้นักเรียนชื่นชม (มีความเป็นแบบอย่าง เอาใจใส่ มีมารยาท ตักเตือน) นักเรียนคือผู้ที่ทำให้ครูชื่นชอบ (มีความตั้งใจเรียน รู้จักกาลเทศะ-มารยาทและรับผิดชอบ)
วิธีการคิด แก้ไข
๑ ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ ยกเว้นไม่ทำ (การกระทำของคนทุกคนเป็นผลงานทั้งสิ้น และเป็นผลงานขั้นพื้นฐานอันดับแรกก่อน ส่วนจะเพิ่มไปสู่ผลงานขั้นปานกลางและขั้นสูงนั้น อาจจะยากและเกินความสามารถบางคน ดังนั้นทุกคนทำได้เสมอภาคกันในขั้นพื้นฐาน ส่วนขั้นปานกลาง ขั้นสูงต้องเพิ่มคุณภาพงาน)
๒ คิดอะไรก็ไร้ค่า ถ้าเพียงคิด (ความคิดของคนนั้นยิ่งใหญ่ แต่ถ้ายังอยู่ในความคิด ไม่นำออกมาทดลองใช้ หรือทำให้เห็น ก็ไม่มีคุณค่าอะไรเลย)
๓ สมองคิด จิตกำกับ (ให้เห็นว่าทุกสิ่งที่มาจากคนนั้น ต้องมีการกลั่นกรอง และตัวกลั่นกรองก็คือ จิตใจนั้นเอง)
๔ อ่านไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่จำ - จำไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่จด - จดไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ - ทำไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่คิดวิเคราะห์ - คิดวิเคราะห์ไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่ประเมิน - ประเมินไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่แก้ไข - แก้ไขไปก็ไร้ค่า ถ้าไม่นำมาใช้ใหม่ - นำมาใช้ใหม่ก็ไร้ค่า ถ้าไม่บอกต่อ (การแสวงหาความรู้ เป็นเหตุ-ปัจจัย ต่อเนื่องกันไป เป็นวัฎจักร)
๕ กายไหว ใจสงบหรือ กายเคลื่อนไหว จิตใจสงบ พบความสุข (แสดงถึงการเคลื่อนไหวทั้งร่างกายและสมอง แต่จิตใจมีความนิ่ง ควบคุมการเคลื่อนไหวอยู่ทุกขณะ )
๖ ไม่มีงานใดครบถ้วนสมบูรณ์ในเวลานั้น มีแต่ทำให้ดีที่สุดในเวลานั้น (เป้าหมายของงานมาจากความคิดคนที่คิดว่างานสมบูรณ์ แต่ความจริงในการทำงานทุกขณะจะมีข้อบกพร่องอยู่เสมอ)
๗ ผ่านไป ๑ วัน ความคิดสร้างสรรค์ก็ผ่านไปเช่นกัน (ทุกเวลานาที มีคุณค่า อย่าปล่อยผ่านเลยไป)
๘ สมองที่สร้างสรรค์สิ่งสุดยอด คั้นมาจาก ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น(วัตถุต่าง ๆ ทางโลกเกิดขึ้นมากมาย แต่ขาดทางธรรมจึงทำให้วัตถุนั้นกลับมาทำลายโลก)
๙ ความรู้ที่ดี มีคุณค่า รีบใฝ่หา มาใส่ใจ (เรื่องราวต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ จงศึกษาให้เร็วไว)
๑๐ จุดหมายปลายทางของจิตใจในการเรียนพลศึกษา คือ น้ำใจนักกีฬา และจุดหมายปลายทางของจิตใจด้านพุทธศาสนา คือ นิพพาน ทั้งคู่คือ ความฝันอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ (ความต่างเนื้อหาแต่มีความเหมือนกันในปลายทาง ย่อมไปกันได้เสมอ)
๑๑ ของดี มีฟรีอยู่อย่างเดียวในโลก คือ นั่งสมาธิ (สิ่งดีดี ยังมีอยู่ในโลกใบนี้อีกมากมาย เพียงแต่ตามหาให้พบ)
๑๒ คนชอบอ้างเรื่องความแตกต่างหรือความไม่เหมือนกัน ความจริง คนแตกต่างที่ความรู้ความสามารถ แต่เหมือนกันที่มีคุณธรรม (วิชาการทางโลกคนจะแตกต่าง แต่ความประพฤติทางธรรม คนจะเหมือนกัน)
๑๓ ก่อกรรมก็แก้กรรมกันก่อน (การกระทำต่าง ๆ ของคนคือกรรม หากกระทำดี ไม่มีปัญหา ถ้ากระทำชั่ว รีบแก้ไขการกระทำให้ดี)
๑๔ คนดี มีความสามารถ ดูจาก คำพูดขณะนั้น การกระทำขณะนั้น มิใช่ ดูจากคุณวุฒิและวัยวุฒิ (คนแสดงออกที่ คิดดี พูดดี ทำดี)
๑๕ การลดวัตถุนิยม ...คิดขณะปัจจุบัน...สิ่งของที่จะซื้อ ต้องจำเป็น ย้ำ ต้องจำเป็น ไม่มีจะตายไหม อยู่ได้ไหม ... คิดเผื่ออนาคต...ไกลหน่อย... ซื้อของมาก ก็ทำให้คนค้าขายนำวัสดุจากธรรมชาติมาผลิตของมากขึ้น ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เสื่อมสลายลงทีละน้อย ๆ โอกาสโลกร้อนก็มาทีละนิด ๆ ...คิดแบบพระ...ใช้สิ่งของนั้นจนมันใช้ไม่ได้แล้ว ค่อยซื้อใหม่ คิดดู จีวรพระ ใหม่ ๆ ใช้นุ่งห่ม พอเก่าหน่อย ใช้เป็นผ้าเช็ดโต๊ะ ยิ่งจีวรเริ่มบางซีด ใช้เป็นผ้าขี้ริ้วต่อ ผ้าขาดรุ่งริ่งแล้ว นำไปหมกดินให้ย่อยสลาย ...คิดแบบนักเดินป่า...อุปกรณ์ที่เข้าป่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ไม่กลมกลืนกับธรรมชาติ บางอย่างเกินความจำเป็น หนักเป้ แถมไปเพิ่มสิ่งตกหล่นให้ธรรมชาติอีก (นำไป 10 อย่าง กลับ มาไม่ครบ 10 อย่าง) ...คิดแบบนักอนุรักษ์...ใช้ของให้ประหยัดที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุด พร้อมปลูกคืนให้มากกว่าที่ใช้ เช่น ไม้จากป่า ..คิดอย่างคนโบราณ..มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง หากแก่ลงมีมากจะยากนาน ..คิดแบบรัฐบาลทุกสมัย...ขอให้คนไทยประหยัด อดออมกันหน่อย ...คิดแทนคนตาย...ตายไปแล้ว ไม่เห็นของตามข้าไปด้วยเลย
๑๖ กีฬาไม่สามารถตอบปัญหาชีวิตได้ทุกเรื่อง แต่บางเรื่องช่วยชีวิตคุณได้ (บางส่วนของความรู้ด้านกีฬาหรือด้านใดก็ตาม ช่วยแก้ปัญหาได้เสมอ)
๑๗ หนี้ทางโลกเป็นภาวะจำยอม ส่วนหนี้ทางธรรมเป็นภาวะจำเป็น (สิ่งที่ต้องมี น่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม)
๑๘ ขอติดรสชาติธรรมะ มากกว่าติดรสชาติอาหาร (คนสามารถเลือกสิ่งดีดีให้ตนเอง)
การทำงาน แก้ไข
๑ ประโยคดีดี คำพูดดีดี การกระทำดีดี มีให้สะกิดความคิด เพื่อชีวิตการทำงานให้ดีที่สุด (สิ่งที่ดีจากตัวหนังสือและการทำของคน เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนและกำลังใจในการทำงานของทุกคน )
๒ คุณนอนหลับ ผมขยับไปหนึ่งก้าว พอคุณก้าว ผมวิ่งอ้าวไปหนึ่งกิโลเมตร แต่ถ้าคุณวิ่ง ผมนั่งนิ่งคิดไตร่ตรอง (สร้างความขยันในตัวตนที่มีสติ สมาธิ ปัญญา ประกอบ และวันหนึ่งการทำงานจะประสบผลสำเร็จ)
๓ ทำหน้าที่ ที่จำเจให้ท้าทาย ทำงานที่ซ้ำซาก ให้สร้างสรรค์ (คนมีความคิด มีมันสมองที่ทดลองและพัฒนาทำนั่น ทำนี่ให้ได้ดีตลอดเวลา)
๔ ประสบการณ์ชีวิตการทำงานมี ๒ แบบคือ แบบแน่นิ่ง กับ แบบแน่วแน่ (แน่นิ่งคือไม่ยอมปรับเปลี่ยน แต่แน่วแน่คือคิดแก้ไขปรับปรุง)
๕ การทำงานสร้างปัญหา และสร้างปัญญา (ทำการอะไรก็มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย)
๖ งานราชการเป็นการทำงานสนองพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานหรือลูกจ้าง ตราบใดหน่วยงานเป็นของราชการ คนของราชการ ควรพยายามทำงานเยี่ยงพระองค์ท่าน อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อแผ่นดินไทยและความภาคภูมิใจแห่งวงศ์ตระกูล (จงทำงานอย่างจิตใจที่จริงจังและจริงใจ)
๗ ประสบการณ์ของคนมี ๒ แบบคือแบบซ้ำซาก กับ แบบสร้างสรรค์ (คนหลายคนมีประสบการณ์มานานมาก แต่เป็นแบบซ้ำซาก รู้และแก้ปัญหาในรูปแบบเดิมๆ อีกหลายคนเป็นแบบสร้างสรรค์ หาวิธีการที่หลากหลายรูปแบบมาแก้ปัญหา)
๘ ความไม่รู้ของคนทำงานมากคือความรู้ของคนทำงานน้อย (ความรอบรู้ค้นหากันได้ ไม่มีใครรู้เรื่องทุกเรื่อง)
๙ ความไม่รู้ของลูกน้องคือความรู้ของเจ้านาย (คนมีตำแหน่งป็นหัวหน้าต้องขวนขวายอยู่เสมอ)
๑๐ หลักในการทำงานอะไรสักอย่างหรือหลายอย่าง ให้นึกถึงอักษรย่อคือ ก ข ค ง จ ย่อมาจาก ก คือ กฎเกณฑ์หรือกติกา ข คือ ขอบเขตหรือขอบข่าย ค คือ ความรู้คู่คุณธรรม ง คือ เงินหรืองบประมาณ และ จ คือ จิตใจ(งานทุกสิ่งต้องมีกฎระเบียบ ภายใต้กรอบขอบข่ายของงานว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งดึงมาจากความรอบรู้ที่มีคุณธรรมกำกับเสมอ พร้อมเตรียมค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมด้วย แต่ก็หนีไม่พ้นต้องมีใจให้กับงาน)
๑๑ คนทำงานต้องมีลาออกตามวาระหรือลาออกเพราะความจำเป็น ซึ่งคนทำงานมี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเสียดาย แต่ไม่เสียใจ (เสียดายฝีมือและมันสมอง ที่ไม่เสียใจเพราะช่วงทำงานเป็นคนขยัน อุทิศตน) กลุ่ม เสียใจ แต่ไม่เสียดาย (เสียใจเพราะช่วงที่ทำงานค่อนข้างขี้เกียจ เลยไม่เสียดายความสามารถ เพราะไม่ได้แสดงออกมากนัก)
๑๒ งานในหน้าที่ที่ต้องคำนึง ๒ เรื่องคือ จัดการงาน และ จัดเก็บงาน (ทำงานมีการวางแผนเป็นขั้นตอนและมีเอกสาร-สิ่งของให้เก็บเป็นหมวดหมู่)
๑๓ การพัฒนาอะไรก็ตาม จะเกิดจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก่อนเสมอ ดั่งหลักการทางพุทธศาสนาที่ว่า "ทุกสรรพสิ่งเกิดจากจุดเล็กๆ" ซึ่งจุดเล็กๆ หรือสิ่งใดๆก็ตามที่เป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย จะมีเกร็ดความรู้ ความคิดอยู่ในตัวของมัน เมื่อหยิบสิ่งนั้นมาใช้ มาปรับ มาประยุกต์ มาสร้างวิธีคิดของตนเอง ก็จะได้องค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นมา อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง และเมื่อหยิบสิ่งเล็กๆ มาหลายเรื่อง ย่อมก่อเกิดเนื้อเรื่องใหม่ตามมาได้อย่างมหาศาลและน่าอัศจรรย์ (จงให้ความสำคัญกับคุณค่าของสิ่งเล็กๆ เสมอ)
๑๔ การงานมีให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ให้ปฎิเสธ (พยายามทำงานทุกอย่างเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์)
คำอวยพร แก้ไข
๑ ความดี ความสุข อยู่ทุกแห่งหน อยู่ทนอยู่นาน ขอให้มีความดี ความสุขทุกครั้งไป (รอบๆตัวของทุกคนมีดีและสุข อยู่ที่จะมองเห็นแล้วนำมาใช้หรือไม่)
๒ ครองคู่เพื่ออยู่นาน ครองรักเพื่อจักเตือน ครองเรือนเพื่อปรับนิสัย ครองใจเพื่อใฝ่ธรรม หรือ สุขทุกข์เมื่อครองคู่ อยู่ยาวเพื่อครองรัก หนักเบาเมื่อครองเรือน เตือนสติเพื่อครองใจ (การแต่งงานเป็นการอยู่ร่วมกันให้ยาวนานที่สุด )
๓ อวยพรจากอักษรย่อ ส.ค.ส. สำหรับครูบาอาจารย์ ส = สมรรถภาพกาย-ใจแข็งแรง ค = ค้นคว้าหาความรู้ ส = สืบสานอาชีพครู / สำหรับนักเรียน ส = สุขนิสัยดี ค = เคารพกติกา ส = สมาธิดี / สำหรับผู้ปกครอง ส = สุขภาพแข็งแรง ค = ครอบครัวอบอุ่น ส = สร้างสรรค์สังคม / สำหรับเจ้าหน้าที่-คนงาน ส = สะสมเงินทอง ค = เคร่งครัดในครอบครัว ส = สร้างเนื้อสร้างตัว (นำสิ่งดีดีจากอักษรย่อมาให้ความสุข)
๔ สุขจากตะวันตก ใช้วัตถุ สุขจากตะวันออก ใช้ความอ่อนโยน สุขจากธรรมะไม่ต้องใช้อะไรเลย ขอให้สุขเพียงคิดถึงสุข ย่อมมีความสุข (ความสุขอยู่ที่จิตใจ ไม่ต้องการสิ่งใดๆ)
๕ Valentine’s Day มีความหมายจากตัวอักษรที่สามารถกำหนดขึ้น เพื่อสิ่งดีดีได้ ดังนี้ V = value = คุณค่า เสมือน ความรักเป็นคุณค่าที่เปรียบกับสิ่งอื่นไม่ได้ และทุกสิ่งมีคุณค่าของมันเองเช่นกัน A = adjust = ปรับแก้ไขให้เหมาะ เสมือน รักคนรักสัตว์รักสิ่งของ มองที่ตนเอง แล้วปรับตนเองไปหาสิ่งนั้น L = law = ข้อตกลง กฎ ระเบียบ เสมือน เป็นสื่อกลางที่ช่วยให้สองฝ่ายไม่เอาเปรียบกัน E = excuse = ให้อภัยกัน เสมือน คำพูดจากปาก ว่า “ขอโทษ” ยิ่งใหญ่มหาศาล ทุกกาลเวลา N = nice = งดงาม,ละเอียดอ่อน เสมือน นิสัยข้อหนึ่งที่หัวใจคนปรารถนา T = talk = พูดคุยหารือกัน เสมือน เข้าใจตรงกันคือพูดกันรู้เรื่อง I = intellect= คิดหาเหตุผล เสมือน คนมีสมองเพื่อคิดและแปลการคิด ให้รับรู้เรื่องราวอย่างชาญฉลาด N = noble = เปี่ยมด้วยคุณธรรม เสมือน ธรรมะยังเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดเสมอชั่วนิจนิรันดร์ E = endurance = อดทนอดกลั้น เสมือน ลักษณะพิเศษของคนที่จิตใจแกร่ง S = service = บริการ,ให้ เสมือน รู้จักการให้สุดยอดความเป็นคน D = duty = หน้าที่รับผิดชอบ เสมือน คุณสมบัติที่ล้ำลึกของยอดคน A = attention = เอาใจใส่ เสมือน สองคนที่แตกต่าง หลอมรวมที่ใส่...ใจ คือใจเขา...ใจเรา Y = you = คุณ เสมือน คุณ...นั่นแหละ..คนดีที่รักล้อม
๖ ลอยกระทง' คำนี้มีดีที่ตัวอักษรดังนี้ ล = ลด ละ เลิก บางอย่างบ้าง อ = ออกจากอบายมุข ย = แยกแยะเป็น ไม่ย่อยยับ ก = ก้าวข้ามบางเรื่องให้ได้ ร = รื้อรกรุงรัง ให้ราบเรียบ ' = สระ-อะ อะไรดีหนอ ท = ทิ้งทุกข์ ทุกที่ทุกทาง ง = งานงอกงาม เงินงอกเงย ทุกคนนะครับ
สุขภาพ แก้ไข
๑ ออกกำลังกายเพื่อร่างกายแข็งแรง จิตใจแข็งแกร่ง และ ร่างกายแข็งแรง จิตใจแข็งแกร่งเพื่อมีอายุยืนยาว และ มีอายุยืนยาวเพื่ออยู่ช่วยเหลือผู้คน ( เพียงการมีสุขภาพดี ก็บ่งบอกถึงการอยู่เกื้อกูลกันและกัน )
๒ นักเรียนเอ๋ยนักเรียนน้อย ความรู้เจ้ายังด้อยเร่งพลศึกษา เมื่อเติบใหญ่เจ้าจะได้เก่งกีฬา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน(อาชีพเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายเลี้ยงชีพได้)
๓ กายไหว ใจสงบ (คนมีส่วนประกอบ ๒ ส่วนคือ กาย กับ ใจ มาทำร่างกายให้เคลื่อนไหว เพื่อความแข็งแรง และมาทำใจให้แน่นิ่ง เพื่อจิตที่แข็งแกร่ง)
คุณลักษณะนิสัย แก้ไข
๑ สองพี่น้องปกป้องพฤติกรรมคนบนโลก คือ พุทธศาสนามุ่งหมายสู่นิพพาน เปรียบปานพลศึกษามุ่งหมายสู่น้ำใจนักกีฬา (ต่างเนื้อหาสาระที่มีเป้าหมายปลายทางในแนวเดียวกัน เน้นความประพฤติทางจิตใจเป็นหลัก)
๒ คนดี มีความรู้ สู้ชีวิต (คนดีก็คือคนมีธรรมะ มีความรู้ก็คือมีวิชาการ สู้ชีวิตก็คือนำธรรมะและวิชาการมาดำรงชีพ)
๓ คนชอบอ้างความแตกต่างของคน แต่ไม่ยอมอ้างการเปลี่ยนนิสัยของตน (คนชอบมองออกไปนอกตัวตน แทนการมองที่ตัวตน)
๔ ความจริงทุกคนไม่มีนิสัยไม่ดี เพียงแต่ละวันทุกคนไม่เปลี่ยนแปลงนิสัยเอง (ทุกคนมีเวลาในการเปลี่ยนแปลงตนเอง)
๕ ทำเรื่องเดิม พลาดครั้งแรก คือ ผิดชั่วครู่ ..พลาดครั้งที่ ๒ คือ ผิดชั่วคราว ..พลาดครั้งที่ ๓ คือ ผิดชั่วนิรันดร์ (คนจะแก้ไขสิ่งเดิมๆนั้น ไม่น่าจะเกิน ๓ ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว )
๖ ใส่ใจเรื่องจุกจิก แต่ไม่เป็นคนจุกจิก (เรื่องทุกเรื่องมีคุณค่า ไม่ควรมองข้าม)
๗ ระวังเป็นคน ๓ ขี้ คือ ขี้คุย ขี้เกียจ ขี้โกง (ทุกปีแต่ละคนจะมีนิสัยที่เปลี่ยนไปจากนิสัยเดิม อาจจะน้อยลงหรือมากขึ้นก็ได้ ยิ่งขี้คุยมาก โอกาสจะขี้เกียจก็มี พลอยทำให้ขี้โกงในเรื่องเล็กๆน้อยๆได้ง่าย)
๘ ฝึกเป็นคน ๓ ดู คือ ดูได้ ดูดี ดูเด่น (ทุกปีแต่ละคนจะมีนิสัยที่เปลี่ยนไปจากนิสัยเดิม อาจจะน้อยลงหรือมากขึ้นก็ได้ เพียงดูได้ คือขยันนิดหน่อยเป็นพื้นฐาน ต่อไปจะดูดี มีอะไรที่ช่วยทำมากขึ้น ในที่สุดดูเด่น คือขยันมากขึ้น ช่วยคนอื่นมากขึ้น)
การเกิด แก้ไข
๑ เกิดมาเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุด (สิ่งของบนโลกใบนี้มีการหมดไปทุกครั้งที่ใช้ เผื่อคนรุ่นต่อไปบ้าง)
๒ เกิดมาเพื่อลดความเห็นแก่ตัวให้มากที่สุด (คนจะรู้ว่าตัวตนเป็นคนเห็นแก่ได้น้อยลง ก็เมื่อเข้าใจธรรมะมากขึ้น)
๓ เกิดมาเพื่อ ลด ละ เลิก (มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกินความจำเป็น ไม่มีก็ได้)
๔ เกิดมาเพื่อทำตนให้สงบ ดีกว่าทำตนให้สุขและสนุก (ยังมีบางสิ่งที่ชีวิต ยังไม่รู้)
ความตาย แก้ไข
๑ นักการศึกษาเป็นอาชีพหนึ่งที่ยังมีความยึดมั่น ถือมั่นสูงในการทำงาน หากนำคำย่อของ “ตำแหน่งทางวิชาการ” เรียงตามลำดับจากตำแหน่งสูงไปตำแหน่งต่ำ คือ ศ. รศ. ผศ. และ อ. มาเป็นแปลงเป็นเรื่องความตายบ้าง จะช่วยลดตัวตนได้อย่างดี และทำตนไม่อยู่ในความประมาทด้วย กล่าวคือ ศาตราจารย์ คำย่อคือ “ศ” แทน ศพ จากนั้น รองศาสตราจารย์ คำย่อคือ “รศ.” แทน รดน้ำศพหรือรับศพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คำย่อคือ “ผศ” แทน เผาศพ สุดท้าย อาจารย์ คำย่อคือ “อ” แทน อัฐิ (เป็นการคิดเรื่องความตายไว้บ้าง จะเห็นว่า เรียงลำดับเหตุการณ์จาก ตายแล้วเป็น ศพ ไป รับศพ แล้ว เผาศพ จนเป็นเถ้าถ่านคือ อัฐิ นั่นเอง)
๒ มาเปลี่ยนการพูดว่า ตายแล้วไปไหน เป็น อยู่แล้วทำอะไร (การพูดคุยเรื่องที่ไม่สามารถตอบได้นั้น ค่อนข้างยาก ไม่รู้ว่า ไปสวรรค์ หรือ ไปนรก แต่ปัจจุบัน ทุกคนกำลังอยู่ เพียงแต่ทำดี หรือ ทำชั่ว มากกว่ากัน)
๓ พรุ่งนี้อาจลาโลกไป ใยวันนี้ไม่เตรียมการหรือไร (การคิดวางแผนเพื่อตนเองก่อนตาย จะช่วยให้คนที่ยังอยู่ไม่วุ่นวายกับการตายของเรา)
๔ การตายที่น่าภูมใจคือใช้ทรัพยากรของโลกอย่างรู้คุณค่า (ทุกคนเกิดมาแบบไม่มีอะไรติดตัว ระหว่างมีชีวิต ต้องตักตวงทรัพยากรมาใช้สอยใช้ประโยชน์ ทรัพยากรจึงเป็นคุณค่าสูงสุดของคนที่ต้องดูแลรักษาอย่างดีที่สุด)
๕ การไม่ใช้ความรู้ มีตายกับตาย ตายคำแรกคือตายใจ (คิดว่ารู้แล้ว ทำให้ประมาท ขาดสติ)ตายคำที่สองคือตายจริง (เมื่อตายใจ มีความประมาท อาจก่อเกิดการผิดพลาด มีโอกาสตายเร็วกว่าคนอื่น)
ท่องเที่ยว แก้ไข
๑ ต้นทางเริ่ม..ยาก..หากเริ่มได้..ง่าย..ปลายทางอาจไม่ใช่จุดหมายที่ปรารถนา ที่น่าคิดน่าสนใจ ระหว่างทางต่างหาก (สิ่งแวดล้อมรอบข้างคือความรู้ที่ควรแสวงหา)
๒ ท่องอยู่ข้างใน เที่ยวอยู่ข้างนอก (ขณะที่คนเที่ยวชมสิ่งรอบตัวอยู่นั้น ความจริงก็ท่องภายในจิตใจตนเองประกบกันไปด้วย)
๓ อยู่กับธรรมชาติ ให้ธรรมชาติคงเดิม แต่มาเพิ่มสิ่งดีให้ตัวตน (ไม่ควรเปลี่ยนธรรมชาติ แต่ควรเปลี่ยนที่ตัวคน)
๔ Valentine’s Day ในรูปแบบการท่องเที่ยว V= vacation =หยุดพักร้อน เพื่อมีเวลาเที่ยวได้มาก A= adventure=ผจญภัย เพื่อเที่ยวให้ออกรสชาติ L=local=ท้องถิ่น เพื่อเข้าถึงชาวบ้านอย่างถ่องแท้ E=enjoy=เพลิดเพลิน เพื่อใจที่มีความสุข N=nature=ธรรมชาติ เพื่อเข้าถึง เข้าใจ สู่ยั่งยืน T=temple=วัดวาอาราม เพื่อความสงบทางจิต ต่อชีวิตให้พุทธศาสนา I=idol=เป็นที่เทิดทูนรักใคร่ เพื่อตัวอย่างที่ดีของแวดวงท่องเที่ยว N=normal=ปกติ ธรรมดา เพื่อความเรียบง่าย อยู่สบาย ไม่เรื่องมาก E=enough=พอใช้ พอเพียง เพื่อเที่ยวได้ยาวนานแสนนาน ’S=season=ฤดูกาล เพื่อไปได้ทุกเดือน ไม่เกี่ยงวันเดือนปี D=difference=ความแตกต่าง เพื่อความหลากหลายแห่งวิถีชีวิตผู้คน จนเกิดวิธีคิด A=attitude=ทัศนคติ เพื่อสำนึกดีดี ต่อการท่องเที่ยว Y=you=ท่าน บุคคลที่มีคุณค่ามหาศาลในการจรรโลง เชิดชู การท่องเที่ยวไทย ไปไกล ตราบนานเท่านาน
บ แก้ไข
- คุณสามารถจองจำคนได้ แต่ไม่สามารถจองจำความคิดได้ คุณสามารถเนรเทศคนได้ แต่ไม่สามารถขับไล่ความคิดของเขาได้ คุณสามารถฆ่าคนได้ แต่ไม่สามารถฆ่าความคิดของเราได้
- เบนาซีร์ บุตโต
ภ แก้ไข
- สิ่งเดียวที่เร็วกว่าแสงก็คือ ความเร็วของความคิดคน
- ภูมิใจ ตั้งสง่า
ร แก้ไข
- การมีความคิดจิตใจที่ดี ยังไม่เพียงพอ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้จักใช้ความคิดนั้นให้ดีด้วย
ส แก้ไข
- "ความคิดผิดแผกแตกต่างกันในสมัยและเวลา ทำให้คนเรามีความคิดผิดแผกแตกต่างกันด้วย ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้… เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป"
- เสนีย์ เสาวพงศ์