นิราศถลาง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกของเขาที่ได้แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1806 มีใจความกล่าวถึงการเดินทางโดยเรือเพื่อไปยังเมืองถลาง โดยมีศิษย์ 2 คนร่วมโดยสารไปด้วยกัน คือ น้อยกับพุ่ม และมีผู้นำทางชื่อนายแสง เป้าหมายการเดินทางของสุนทรภู่ไม่ปรากฏแน่ชัด บ้างว่าเขาต้องการไปบวชกับบิดา บ้างว่าเขาเดินทางไปขอเงินเพื่อกลับมาแต่งงาน นักวิชาการยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าสุนทรภู่กลับไปทำไม แต่ทางจังหวัดยะลาได้นำเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นไปสร้างเป็นอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เมืองถลาง

คำคม แก้ไข

ปี ค.ศ. 1806 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า

จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา
ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
เป็นอันว่าสุนทรภู่ถูกใช้ไปราชการด่วนจนถึงกับไม่มีเวลาไปบอกลาแม่จันได้เลย เหตุที่ว่าสุนทรภู่ต้องไปด้วยราชการก็เนื่องจากความท่อนหนึ่งว่า
จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย
แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา
บทกลอนชวนให้คิด
ถึงบางจากน้องไม่มีที่จะจาก โอ้วิบากกรรมสร้างแต่ปางไหน
เผอิญหญิงชิงชังน่าคลั่งใจ จะรักใคร่เขาไม่มีปรานีเลย
ถึงบางพลูพลูใบใส่ตะบะ ถวายพระเพราะกำพร้านิจจาเอ๋ย
แม้นมีใครใจบุญที่คุ้นเคย จะได้เชยพลูจีบหมากดิบเจียน
นี่จนใจได้แต่ลมมาชมเล่น เปรียบเหมือนเช่นฉากฉายพอหายเหียน
แม้นเห็นรักจักได้ตามด้วยความเพียร ฉีกทุเรียนหนามหนักดูสักคราวฯ
การมีสัมมาคารวะ

พงศ์กษัตริย์ตรัสชวนสินสมุทร สอนให้บุตรขอสมาอัชฌาสัย

พระทรงบ่าเงือกน้ำงามวิไล พระหน่อไทขอสมาขึ้นบ่านาง

และตอนที่ว่า

จึงบัญชาว่าเจ้าสินสมุทร ไปช่วยฉุดศิลาใหญ่ขึ้นให้เขา

ขอสมาตาปู่อย่าดูเบา ช่วยอุ้มเอาแกออกไปให้สบาย