ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา

ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (เกิด 17 ตุลาคม 2468) เป็นชาวไทยซึ่งเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นนักเขียนและนักแปล เป็นที่รู้จักด้วยนามปากกว่า "อุชเชนี"

คำกล่าว

แก้ไข

ความเหงา

แก้ไข
    เพียงไม่กี่คำจากมุมหงอย ๆ มุมหนึ่งในโลกนี้ เพียงไม่กี่คำที่แปล้ด้วยน้ำใจและไยดี ไม่กี่คำนั้น ในอาณาจักรใจ ย่อมทรงความหมายสุดพรรณนา[1]  
 
ดรุณีนางหนึ่งรำพึงเอ่ย สายฝนเอ๋ยหนาวเหน็บเจ็บไฉน
ใครรักเจ้าแล้วกลับแปรรังแกใจ หรือจึงไห้ร่ำอยู่ไม่รู้แล้ว[2]
 

เป้าหมาย

แก้ไข
 
ฉันอยู่เพื่อความฝันอันเพริศแพร้ว เมื่อโลกแผ้วหลุดพ้นคนหลอกหลอน
เมื่ออามิสฤทธิ์แรงแท่งทองปอนด์ มิอาจคลอนใจฅนให้หม่นมัว
ฉันอยู่เพื่อยุคทองของคนยาก ที่เขาถากทรกรรมซ้ำปั่นหัว
เพื่อความถูกที่เขาถมจมทั้งตัว เพื่อความกลัวกลับกล้าบั่นอาธรรม[3]
 
    ความเพ้อฝันแห่งข้าคือหิ่งห้อย จุดสว่างทรงชีวิต ระยิบในอนธการ[4]  

สวยแต่รูป

แก้ไข
 
คนบ้านนี้มีแต่ชั่วใจมัวหมก สกปรกคุดคู้อยู่ในข้อ
มดยังหลีกปลีกไกลไม่รั้งรอ มิคิดผ่านย่านธรณีนี้
บ้านสวยหรูตรูแต่งแรงประดับ มากสินทรัพย์อวดพลังมั่งคั่งคลี่
แม้ไม้ดอกออกล้วนชวนคลุกคลี กลับไม่มีภมรเคล้าน่าเฉาใจ[5]
 
 
เธออาจล้มจมปลักทุลักทุลี เขาขยี้เหยียบรวดปวดหนักหนา
พิสูจน์ไปว่าเธอใช่สกุณา หากเป็นสิงห์หยิ่งกล้าท้าคำรณ[6]
 
 
แต่เมื่อเห็นเธอหาญทะยานหยัด กลางแดดจัดที่ผู้ดีผลีผลาม
หลบเข้าร่มบ่มพรรณประหวั่นคร้าม เธอกลับงามเกินคำจะรำพัน[7]
 

เวลา

แก้ไข
    กระดาษเริ่มจะมีสีน้ำตาลคร่ำ ความกรอบเริ่มจะกรายเข้ามา สัญญาณของกาลเวลาที่ล่วงเลยไป[8]  
    เวลาดังพญามัจจุราชฉกาจหยาม[9]  

อ้างอิง

แก้ไข
เชิงอรรถ
  1. อุชเชนี, 2544: 13.
  2. อุชเชนี, 2544: 22.
  3. อุชเชนี, 2544: 33.
  4. รพินทรนาถ ฐากูร, 2554: 13.
  5. คณะวัฒนธรรมประชาชนยูนนาน, 2554: 35.
  6. อุชเชนี, 2544: 51.
  7. อุชเชนี, 2544: 55.
  8. อุชเชนี, 2544: 9.
  9. อุชเชนี, 2544: 18.
รายการอ้างอิง
  • คณะวัฒนธรรมประชาชนยูนนาน. (2554). อัษมา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา, แปล. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ. ISBN 9789741404018.
  • รพินทรนาถ ฐากูร. (2554). หิ่งห้อย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา, ระวี ภาวิไล, แปล. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ. ISBN 9789741404049.
  • อุชเชนี. (2544). ขอบฟ้าขลิบทอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ. ISBN 9741401167.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้ไข