ประสาร มฤคพิทักษ์

คำคม

แก้ไข
  • เราอาจมี สส. น้ำดีเข้าสู่สภา เราอาจเขียนบทความแทบล้มประดาตาย เราอาจมีกลุ่มพลังทางการเมือง เราอาจมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ แต่แล้วเราก็ต้องพบกับความปลิ้นปล้อน สามานย์ตะกละและฉ้อฉล ที่ไม่แก้ปัญหาอะไร หรือว่านี่เป็นวัฏจักรดิ่งลงต่ำอีกครั้ง เพื่อรอวันประชาชนพิพากษา
  • เป็นเรื่องเข้าใจได้ที่บรรดาคนสำคัญของพรรคไทยรักษาชาติแถลงว่าจะเปิดปราศรัยใหญ่ 4 เวที 4ภูมิภาค ทำภารกิจ”ก้าวต่อไปเพื่อประชาธิปไตย”หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติเพราะเหตุ”มีการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นัยว่าการปราศรัยนี้เพื่อชี้ให้สังคมเห็นถึงเภทภัยของการสืบทอดอำนาจของ คสช.ขณะเดียวกันต้องการตีฆ้องว่าตนเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ที่กำลังทำศึกกับฝ่ายเผด็จการในการเลือกตั้งครั้งนี้ ขอเสนอแง่คิดว่าใช่หรือไม่ที่เป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายเผด็จการ ปรากฏการณ์ดึงฟ้าต่ำเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่กลายเป็นคืนนั้นสวรรค์ล่ม เพราะเป็น “การกระทำมิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง”ตามพระราชโองการนั้น ใครๆก็เข้าใจดีว่าเป็นฝีมือของคนแดนไกลที่หวังจะอาศัยเป็นเส้นทางกลับสู่ประเทศอย่างไร้มลทิน โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสถาบันที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ และเมื่อนึกถึงว่าคนสำคัญของพรรคเพื่อไทยบางคนฝันหาวันคืนที่จะพาทักษิณกลับบ้าน ประกอบกับล่าสุดที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ประกาศว่าต้องการความเป็นธรรมให้คุณทักษิณได้กลับมาสู่การพิจารณาคดีใหม่โดยผู้พิพากษาชุดใหม่ซึ่งคุณธนาธรไม่ยอมชี้ว่าเนื้อหาแห่งการวินิจฉัยคดีใดที่พิพากษาไปแล้วไม่ถูกต้องตามหลักนิติรัฐนิติธรรมอย่างไรและ คุณทักษิณนั้นเองเป็นผู้ตัดสินใจที่จะหนีคดี และไม่มีใครคนใดเลยที่ห้ามไม่ให้คุณทักษิณกลับประเทศ เครือข่ายโยงใยพรรคตระกูลเพื่อนั้นเองที่วนเวียนอยู่ในอ่างและก้าวข้ามไม่พ้นคุณทักษิณเสียที[1]
  • ดังนั้นศึกเลือกตั้งครั้งนี้จึงไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายเผด็จการตามที่พยายามจะวาดภาพกัน รัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม ก็จะอยู่ในกรอบเกณฑ์แห่งรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติของคนไทย 16.8 ล้านคน ถึงตอนนั้น คสช.จะไม่มีอยู่ และมาตรา 44 ก็จะหายไป ทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และองค์กรอิสระต่างก็ทำหน้าที่บริหารและถ่วงดุลย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แท้จริงแล้วยุทธการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่าง “ฝ่ายทักษิณาธิปไตย” กับ “ฝ่ายไม่เอาทักษิณ” ต่างหาก[1]
  • ต่อการรัฐประหารครั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่า 1. มิใช่ความปรารถนาทางอัตวิสัย (ตนเอง) แต่เป็นความจำเป็นทางภววิสัย (สภาพภายนอก) ของการยึดอำนาจ… การรัฐประหารครั้งนี้ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน ไม่ต้องการครองอำนาจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่ปรารถนาจะเป็นนายกรัฐมนตรี ประชามติและสังคมจึงเปล่งเสียงต้อนรับมากกว่าต่อต้าน 2. ถ้าไม่มีรัฐประหารจะเกิดอะไรขึ้น... เดินขบวนก็แล้ว เปิดโปงก็แล้ว วิพากษ์วิจารณ์อย่างแรงก็แล้ว ขับไล่ต่อสาธารณะก็แล้ว สารพัดวิธีอารยะขัดขืนถูกนำมาใช้จนหมด การรัฐประหาร 19 ก.ย. จึงเป็นทางออกทั้งๆที่คนรักประชาธิปไตยไม่อยากเกิดขึ้นเลย ใช่หรือไม่ว่า การรักษาประชาธิปไตยไว้ คือ การเปิดทางให้ทักษิณกลับมาแล้วสั่งการให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ตามด้วยเลือด น้ำตา และความตายของผู้คนจำนวนมาก แล้วผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก ยึดอำนาจตนเองเพื่อสกัดการยึดอำนาจของฝ่ายตรงกันข้าม กลายมาเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ อย่างนี้จะดีหรือ ผู้เขียนอาจจะวาดภาพเลวร้ายเกินเหตุไปก็ได้ การรัฐประหารจะดีจะร้ายยังต้องเถียงกันต่อไป แต่การตัดวงจรความรุนแรงและขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณอันเลวร้าย เพียงแค่นี้ก็เกินคุมแล้ว… นี่คือการกลับคืนสู่ความเป็นจริงของสังคมไทย ที่ขัดใจใครบางคน แต่ก็เป็นหนทางอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาจึงอยู่ที่จะทำอย่างไรกับประเทศเรานับจากนี้ต่อไป

อ้างอิง

แก้ไข