พรรณิการ์ วานิช

พิธีกรและนักการเมืองชาวไทย

พรรณิการ์ วานิช นักการเมืองสตรีชาวไทย โฆษกพรรคพรรคอนาคตใหม่ อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์ เกิดวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1988

คำคม แก้ไข

  • มันเชยไปแล้วที่จะมองข่าวในประเทศ แยกกับต่างประเทศ เพราะเราไม่ใช่แค่พลเมืองไทย แต่คือพลเมืองอาเซียน พลเมืองโลก
  • ที่ผ่านมาการเขียนการ์ตูนล้อเลียนหลายครั้งเราไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราเชื่อในเสรีภาพการนำเสนอข้อมูลของสื่อมวลชน แต่ในกรณีนี้ล้ำเส้นจรรยาบรรณของสื่อไปมาก[1]
  • การ์ตูนนี้ พยายามสร้างความเข้าใจว่า มีพรรคการเมืองสนับสนุนผู้ก่อเหตุความรุนแรงในยะลา ไม่เกี่ยวว่าผู้เขียนจะพาดพิงพรรคการเมืองไหน นี่เป็นเรื่องร้ายแรง เพราะคุณพยายามบอกว่ามีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งกำลังสนับสนุนเหตุอุฉกรรจ์ ที่ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตถึง 15 คน ถามตัวท่านเองว่านี่คือข่าวเท็จที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือไม่ ขอร้องอย่าทำแบบนี้ หยุดการกระทำที่ไม่สร้างสรรค์ และไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายใดแบบนี้อีก[1]
  • เรื่องเฟกนิวส์เป็นประเด็นร้อนขึ้นเมื่อพล.อ.อภิรัชต์ ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ พูดถึงสงครามพันทาง และพรรคการเมืองหนึ่งล้างสมองคนรุ่นใหม่ ซึ่งพุ่งเป้ามาที่อนาคตใหม่อย่างชัดเจนแม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อพรรค พรรคอนาคตใหม่ถูกโจมตีบ่อยครั้ง ทั้งการตัดต่อคลิปเสียงจนนำมาสู่แฮชแท็ก เนชั่นโป๊ะแตก จนถึงทุกวันนี้ก็ไม่มีการดำเนินการใดๆ หรือกรณีฝ่ายค้านถูกกล่าวหาอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ซึ่ง ส.ส.พรรคพลังประชารัฐได้แชร์ข่าวปลอมนี้ด้วย เราจึงอยากจะถามว่านายพุทธิพงษ์ มีแนวคิดจัดการเรื่องนี้อย่างไร[2]
  • อนาคตใหม่ไม่เคยมีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อกองทัพ เพราะประเทศยังจำเป็นต้องมีกองทัพและทหาร ปกป้องอธิปไตยของประเทศและประชาชน แต่สิ่งที่เราอยากเห็นคือการให้ทหารทำหน้าที่ของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง แต่สิ่งที่พล.อ.อภิรัชต์ กำลังทำอยู่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากำลังเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยสภาวะปกติที่รัฐบาลพลเรือนอยู่เหนือกองทัพเป็นเรื่องควรจะเป็น และผบ.ทบ.ไม่มีสิทธิออกความเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นที่ชี้เฉพาะไปที่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ถ้าดูย้อนไปในอดีตจะพบว่าแนวคิดของพล.อ.อภิรัชต์ คล้ายกับแนวคิดผบ.ทบ.ช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งเพลงปลุกใจ โฆษณาชวนเชื่อว่านักศึกษาและคนรุ่นใหม่ยุคนั้นมีแนวคิดอันตราย และเป็นอันตรายกับสถาบันหลักของประเทศ[2]
  • กรณีนี้เป็นประเด็นสำคัญที่อยากให้ กกต.วินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเป็นไปตามคำร้องหรือไม่ ถ้าไม่ได้เป็นไปตามคำร้อง บุคคลที่เป็นสามี ภรรยา หรือเครือญาตินามสกุลเดียวก็กันสามารถแยกบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองได้คนละไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปีใช่หรือไม่[3]

อ้างอิง แก้ไข