พระราชสาส์น ถวายพระภิกษุเว่ยหล่าง


คำแปลพระราชสาส์น


 สมเด็จพระจักรพรรดินีบูเช็กเทียง พระองค์ผู้เสวยซึ่งเอกอัครสุวรรณจักร โดยเทวโองการแห่งสวรรค์ มีพระราชเสาวนีย์ให้สถาปนา ประกาศเกียรติคุณ แห่ง องค์สังฆปรินายก อันดับที่ ๖ ของ นิกายเซ็น ว่า

 อันพระอาจารย์ผู้นี้ อุดมด้วยคุณสมบัติสัมปยุตกับอสังขตธรรม เป็นที่ เฉิดฉายส่องรังสียังเกียรติคุณแห่งพระบูรพาจารย์ให้ปรากฏ พระอาจารย์ได้เข้าถึงอนุสาสน์ อันฉับพลันตามคติในพุทธศาสนามหายาน ท่านได้แสดงออกซึ่งสัญญลักขณ์แห่งสัจธรรม โดยไม่ต้องอาศัยแอบอิงด้วยลักษณะ กล่าวคือ พระนิพพาน กิตติศัพท์แห่งท่านนี้แพร่หลาย ไปทั่วทุกทิศทุกสถานที่ทุกโอกาส นามของท่านย่อมสุรภีทั่วทุกด้าวแดน สรรพกิเลสนานัปการ ไม่อาจยังท่านให้อาดูรวิปลาสไปได้ ท่านเป็นผู้ควบคุมอายตนะภายใน ของท่านให้อยู่ในภาวะ สงบ พระอาจารย์ผู้นี้ได้บรรลุถึงวิมุติภาพ จิตของท่านเล่า ก็ได้เข้าถึงภูมิโพธิญาณ สำหรับตัวของข้าพเจ้านี้ แม้นจะได้เสวยเอกอัครราชสมบัติ มีราชกิจอันเป็นโลกียวิสัย ต้องประกอบอยู่เต็มมือ มีแต่ความเคารพเลื่อมใสในองค์พระองค์ พระอาจารย์อย่างสูงสุด ไว้เหนือเศียรเกล้า กิจประวัติถึงอมฤตธรรม มีความปรารถนาเป็นนิรันดร์ ในการที่จะ ได้เป็นศิษย์ใกล้ชิดของพระอาจารย์ เพื่อเป็นการแสวงหาวิมุติมรรค อันจักยังผลให้ บรรลุสู่โลกุตรภูมิ อนึ่ง ปฏิปทาของพระอาจารย์ ย่อมสมบูรณ์ด้วยกรุณาเป็นปุเร จาริก เป็นหิตานุหิตประโยชน์ โปรดสรรพสัตว์ ชื่อว่าท่านเป็นผู้ทอดธรรมนาวาใน ท่ามกลางวัฏสงสารโอฆกันดาร ช่วยชักจูง โปรดสัตว์ผู้จมอยู่ในห้วงตัณหา ให้เข้า ถึงฝั่งแห่งภพ เพราะฉะนั้น ในปรัตยุบันนี้ ข้าพเจ้าจึงสั่งราชเลขาโง้วฉุ่งเท่ง นำบาตรไพฑูรย์อันมีค่า ๑ ชุด สังฆาฏิ ๑ ผืน นิสีทสันถัต ๒ ผืน ใบชาหอม ๕ ห่อ เงินเหรียญ ๓๐๐ กวง มาถวาย อันของถวายเหล่านี้แม้จักเป็นของเล็กน้อย แต่ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความสัทธาปสาทะของข้าพเจ้าที่มีต่อพระอาจารย์ นอก จากนี้ข้าพเจ้ายังมีโองการให้เจ้าเมืองเสี่ยวจิวมาเยี่ยมเยือน เอาใจใส่พระอาจารย์ พร้อมด้วยภิกษุสามเณรในอาราม ป้องกันมิให้มีผู้มารบกวนความสงบในสำนักใดๆ


  แปลโดย ส.โพธินันทะ[1]




ประวัติพระภิกษุเว่ยหล่าง
๏ โศลกธรรม
บรรยายจากหน้าปกสารบัญ[2]
เราจะอธิบายหลักธรรมระบอบนี้โด้โดยวิธี ต่าง ๆ ตั้ง ๑๐,๐๐๐. (หนึ่งหมื่น) วิธี แต่ว่าคำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจจะลากให้หวนกลับ มาสู่หลักดุจเดียวกันได้. ฯ

ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๖[3] พระเว่ยหล่าง มหาครูบา (หุยเล้งไต้ซือ), เดิมเป็นชายหนุ่ม ผู้มีความกตัญญู ตัดฟืนขายเลี้ยงมารดา. ได้ฟังเขาสวด “วัชระ ปรัชญาปารมิตาสูตร” ถึงตอนที่ว่า “จิตเกิดอย่างไม่ติด” แล้ว ใจลุกโพลง ! สว่างไสวในพระพุทธธรรม, อายุ ๒๔ ปี ได้รับการ ถ่ายทอด บาตร-จีวร-สังฆาฏิ-ธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป้นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ (ถ้านับตามสายจากอินเดียลงมา ต้องนับเป็นอันดับที่ ๓๓) ได้ฟังโศลกของครูชินเชา (ซิ่งซิ่ว) ก็รู้ว่ามีปัญญาเพียงแค่รู้แจ้งอนัตตา คือโลกียธรรมเท่านั้น. โศลก ของเว่ยหล่าง เข้าถึงสุญตาคือโลกุตรธรรมไปแล้ว. มีโศลกของ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 (ฮ้งยิ้มมหาครูบา). ท่านอุบาสก เว่ยหล่างได้รับบาตร-จีวร-สังฆาฏิ-ธรรมแล้ว โอ...อมิตาพุทธ ! ต้องรีบหนีภัย ไปอยู่กับพวกพรานในป่าทึบนานถึง ๑๕ ปี. ท่าน ถือมังสวิรัติ ไม่เสพเนื้อสัตว์ ยามจนมุมเข้าก็เดินสายกลาง คือ เอาผักลงไปอาศัยต้มในหม้อเนื้อของพวกพรานป่า แล้วก็กิน แต่ผักนั้นล้วน ๆ เป็นตัวอย่างของผู้ถือมังสวิรัติด้วย “ฉันผักใน จานเนื้อ” พระเจ้าจักรพรรดินีบูเช็กเทียง มอบให้ราชเลขาธิการ ชื่อ “โง้วฉุ่นเท่ง” นำพระราชสาสน์และบาตรไพฑูรย์และสิ่ง ของอื่น ๆ ไปถวาย


อ้างอิง แก้ไข

  1. หนังสือจัดพิมพ์เฉพาะกิจชมรมธรรมทาน โดย ธีรทาส (ตำนานโรงเจ)
  2. เล่มที่ ๒ หนังสือชุด ศิษโง่ไปเรียนเซ็น
  3. หนังสือธรรมทานเรื่องศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่ม 1 (ณ. 10 - ญ. 11)