ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศธรรมเรื่องปลุกเสกตน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุขพินทุ (คุย | ส่วนร่วม)
รายการ การเข้าใช้โครงการ สร้างหน้า เทศนาธรรม หลวงปู่จันทา
 
สุขพินทุ (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับแถว จัดหน้า
บรรทัดที่ 1:
<font color="blue">'''หลวงปู่จันทา ถาวโร''' (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 — 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) เป็นพระสงฆ์ในธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของศิษยานุศิษย์</font>
 
== ประวัติ ==
<font color="green">หลวงปู่จันทา ถาวโร เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 ที่บ้านแดง ต.เหนือเมือง อ.ในเมือง จ.ร้อยเอ็ด ชื่อตอนเกิดไม่ปรากฏ พ่อแม่พี่น้องทั้งหมด 6 คน ซึ่งหลวงปู่จันทาเป็นคนที่ 4 มิได้รับการศึกษาในระบบการเรียนตามปกติ อุปสมบทมหานิกายที่วัดปลาฝา จ.ร้อยเอ็ด เคยพำนักอยู่ที่ วัดบ้านขมิ้น จ.ร้อยเอ็ด, วัดศรีจันทร์ จ.ร้อยเอ็ด, วัดป่าแพงศรี จ.กาฬสินธุ์, วัดบ้านตะเบาะ จ.เพชรบูรณ์, วัดป่าวิเวการาม จ.ชลบุรี, วัดโชติการาม จ.สกลนคร, วัดธาตุฝุ่น จ.สกลนคร, วัดเกาะแก้วอัมพวัน จ.นครพนม, วัดป่าช้าบ้านหัวดง จ.นครพนม, วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี, วัดโคกก่อง จ.อุดรธานี, วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู มาโดยลำดับ ซึ่งล้วนแต่เป็นเส้นทางแห่งการประกอบทำความดีของพระนักบวชส่วนใหญ่ทางฝ่ายอรัญวาสี วาทะธรรมที่ศิษยานุศิษย์ จดจำได้ดีเป็นที่แพร่หลาย เรื่องการบริกรรมภาวนาและการกระทำความดีของหลวงปู่จันทา ถาวโร มีจำนวนมาก หนึ่งในเทศนาธรรมที่มีชื่อเสียง คือ เทศนาธรรมเรื่อง
'''คาถาปลุกเสกตน<ref><small>โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร เทศน์อบรมพระภิกษุสามเณร และ อุบาสก อุบาสิกา ณ วัดป่าเขาน้อย อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร ๒๓ มกราคม ๒๕๓๘</small></ref>'''</font>
----
 
{{คำพูด|หลวงพ่อ==='''<small><small>คาถาปลุกเสกตน</small></small>'''===
'''<big>ห</big>'''ลวงพ่อปลุกเสกคนเดียวนะ โอ๊... เอาแต่คาถาดี ๆ มาปลุกเสก ศึกษาหลวงปู่ขาวแล้ว เอาคาถาอะไรมาปลุกเสกมันจึงจะขลัง
นะโม เม สัพพะพุทธานัง ฯ นี่บทหนึ่ง ออกชื่อพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
สัมพุทเธฯ ๓ บท อันนี้รวบรวมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๓,๕๘,๔๒๙๒ พระพุทธเจ้า รวบรวมมาจปลุกเสก จากนั้นก็อีกหลายบท
:• บทที่ ๑ ตับปาฏิโมกข์
อายะตัญ วิตถะตัญ อัปปิตัญ สุวิตัญ สุปะวายิตัญ สุวิเลกขิตัญ สุวิตัจฉิตัญ อัปเปวะนามะมะ ถึง มะมะ นี้ ยิงไม่ออก หลวงปู่ขาว ว่านะ ถึงออกก็ไม่ถูก ฟันก็ไม่เข้า
:• บทที่ ๒
พุทธังอึดอัด ธัมมังอึดอัด สังฆังอึดอัด มัดกึดอึดอัด มัดกั้นตันปิด
:• บทที่ ๓
อิติปิโส ภะคะวา พระเจ้าสั่งมา ภะคะวายันติ โมคคัลลายันติ
:• บทที่ ๔
อิติปิโสวิเสเส อิอิเสเสพุทธนาเม อิอิเมนาพุทธะตังโส อิอิโสตังพุทธปิติอิ ตะโจพระพุทธเจ้า ขอจงมาเป็นหนัง มังสังพระธรรมเจ้า ขอจงมาเป็นเนื้อ อัฏฐิพระสังฆเจ้า ขอจงมาเป็นกระดูก ตะริเพ็ชรคงคง อิสวาหะ สวาสุ สวาอิ
พุทธปิติอิ นะมะอะอุมิ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ พุทโธกั้ง ธรรมโมบัง สังโฆปิด
 
นี่แหละ ๔ บทนี้ ใช้ปลุกเสกพระปีกลายนี้ ถามหลวงปู่ขาวแล้ว ท่านว่า ธรรมเหล่านี้เป็นของขลัง ก็เลยมาปลุกเสก
ปลุกเสกแล้วเป้นอย่างไรเป็นอย่างไร เหรียญ ผ้ายันต์ก็ดี เป็นแต่รับหน้าที่ปลุกเสกให้เท่านั้นนะ พอปลุกเสกเสร็จแล้ว เอ้า...เอาไปแจกจ่ายกันไปเลย มีบัญชี หรือไม่มีเราไม่ทราบ ขอให้สำเร็จความมุ่งหวังเถอะ ก็แล้วกัน
ทีนี้ เป็นอย่างไรเล่า ผ้ายันต์ก็ว่าดีนะ สจ.คนหนึ่ง นั่งรถไปเอาผ้ายันต์ใส่รถหรือใส่กระเป๋าไป นั่นแหละ เขาปาดหน้ายิงด้วยปืนเอ็ม ๑๖
" {{คำพูด|หมอบ !... หมอบลง... "}}
ไม่รู้เสียงใครบอก
"{{คำพูด| แพร่ด... ๆ... ๆ "}}
หมดแม็กเลยทีเดียว
นั่นแหละ รถยับเยินหมด พลิกคว่ำลงลำคลอง แต่คนไม่เป็นไร ลุกออกมาดูสภาพรถไม่มีที่ดี ผ้ายันต์ขอดลูกกระสุนไว้ ๔ ลูก นี่ !... ทำไมไปอยู่อย่างนั้น
เส้น 71 ⟶ 72:
พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วไม่ผิด จิตนั้นก็เชื่อมั่น ไม่หวั่นไหว เอาชีวิตเป็นแดน เพราะของจริงเกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ นั่นแหละ ปัจจัตตัง ผู้ปฏิบัติ รู้ด้วยตนเอง
สมัยนั้น แข่งกันนะ ไตรมาส ๓ เดือนแข่งกันเลย ตอนเย็นไปศึกษาธรรมะกับหลวงปู่ขาว เณรน้อยบางองค์ก็ร้องไห้นะ
"{{คำพูด| ร้องไห้ทำไมเล่า? "}}
"{{คำพูด| อยากได้ธรรมะอย่างที่ครูบาได้ "}}
หลวงปู่ขาว ว่า
"{{ คำพูด|ใคร !... พระพุทธเจ้าองค์ไหนสอนว่า ให้ร้องไห้เอานะ ทำความเพียรอย่างท่านว่าได้ไหมเล่า ? "}}
"{{ คำพูด|ไม่ได้ "}}
"{{คำพูด| ไม่ได้ ก็เป็นบ้าซะตี๊ ครั้นร้องไห้เอาได้ " }}
หลวงพ่อทำมานี้ก็ โอ๋...แสนยากลำบาก นั่นแหละแต่ก็เป็นของดีมาก ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ แต่ว่ามันมีความวิตกวิจารใจ หวั่นไหวก็ดีมาก ต่อไปมันก็จะมีมานะอดทน ทำได้
จากนั้น ธรรมะเกิดขึ้นอีก ปีติ ๕ เกิดขึ้น ขุททกาปีติ เกิดขึ้น ขนพองสยองเกล้า นี่ผลรายได้ ขณิกาปีติ เกิดขึ้นอีก น้ำตาไหล เหมือนแสงฟ้าแลบในฤดูฝนตก โอกกันติกาปีติ เกิดขึ้น กระทบกายและจิตเหมือน คลื่นน้ำกระทบฝั่ง อุพเพงคาปีติ เกิดขึ้น แหม...เหมือนมันจะหอบกายเหาะฟ้า มันร่าเริงบันเทิงดีนะ ผรณาปีติ เกิดขึ้น ซึมซาบด้วยกาย และจิตร่าเริงบันเทิง หิวข้าว หิวนอน ไม่มี หายหมด
เส้น 83 ⟶ 84:
ต่อแต่นั้น แสงสว่างเกิดขึ้นอีกนะ ออกหน้าออกตา ฮุ่งโร่สว่างจ้า โอ้...เหมือนเปิดสวิตซ์ไฟฟ้า ความมีือดับไป ความสว่างเกิดขึ้นแทนที่ อะไรมีอยู่ที่นั้นเห็นหมด นี่แหละเป็นที่อัศจรรย์ใจ ได้เจริญธรรมมาอย่างนี้ นี่เป็นผลรายได้เกิดขึ้น จากการเจริญสมถกรรมฐาน เดิน ยืน นั่ง อดนอนผ่อนอาหาร วิปัสสนากรรมฐาน ค้นคว้าในสกลกายน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ เห็นแจ้งประจักษ์ทุกเมื่อ เป็นเครื่องฝึกจิตให้มีสติ มีปัญญาฉลาดรู้ต่อธาตุขันธ์ เป็นมรรคเป็นเครื่องส่งทั้งนั้น
จากนั้น พระธรรม คือ จิต เราอบรมให้สว่างผ่องใสจนเข้าสู่ความสงบได้ เพราะจิตสงบนั่นแหละ จิตนี้เป็นผู้ไม่ตาย ท่องเที่ยวเกิดดับ ภพน้อยภพใหญ่ เป็นอะไรเขาจะยกบุพเพชาติปางก่อน มาสอนอีก ให้เราเบื่อหน่าย โอ๋...สัตว์นานาชนิดมีหมดทั้งบกและน้ำ ยักษ์โขโมฬีเปรตผี ยกมาเป็นกลุ่ม ๆ นี่อะไร กำหนดถาม เขาก็พูดว่า
"{{คำพูด| นี่แหละ บุพเพชาติปางก่อนของท่าน สมบัติของท่านเสวยมาแล้ว "}}
"{{คำพูด| เป็นอย่างนี้ ก็เป็นหรือ ? "}}
"{{คำพูด| เป็น...ไม่ต้องสงสัยดอก โลกคือหมู่สัตว์ เมื่อมีกิเลสกับกรรม ครองหัวใจอยู่ ต้องได้เสวยเป็นอย่างนี้ จงศึกษาให้มันถึงใจ ( ใจคือเรา เราคือใจ จิตก็ว่า ) จะได้สิ้นสงสัย ในการท่องเที่ยวภพน้อยภพใหญ่ จะได้ไม่ประมาทในการเจริญธรรมเพื่อได้เอาตนข้ามโอฆสงสาร ไปพระนิพพานเป็นที่แล้ว "}}
จากนั้นไป พอเห็นแจ้งชัดแล้วก็ดับพึบ เหลือแต่ผู้รู้ ไม่นาน ยก มรณกรรมฐาน มาอีก
มรณกรรมฐาน โอ๊ย...หลายประเภท ตายใหม่ๆ เก่า ๆ เต็มบริเวณนั้น มีอีแร้ง อีกา นกตะกรุม และสุนัขบ้าน สุนัขป่า ยื้อแย่งกินเป็นอาหารสนั่นหวั่นไหวอยู่กำหนดถาม...
"{{คำพูด| นี่คืออะไร ? "}}
"{{คำพูด| นี่แหละ บุพเพสมบัติของท่านแต่ปางก่อน มรณกรรมฐานคือ ตาย อีแร้ง อีกา นกตะกรุม ก็เป็นสมบัติของท่าน กินของตายเป็นอาหาร สุนัขบ้าน สุนัขป่าก็สมบัติของท่าน ตัวของท่านนั่นแหละ กินของตายเป็นอาหาร นั่นแหละ ท่านจะกินต่อไปอีกหรือไม่ ? ถ้าจะกินต่อไปอีก ก็นั่งนอนสนุกสบาย เอาแต่กิเลสกับกรรมชั่วนั้นครองใจ นั่นแหละ จะได้กินอีกต่อไป "}}
"{{คำพูด| ถ้าไม่อยากกิน ก็หยุดเสีย จงเจริญสมณธรรมตามคำสอนพระพุทธเจ้า สมถกรรมฐาน เดิน ยืน นั่ง อดนอนผ่อนอาหาร วิปัสสนากรรมฐาน ค้นคว้าในสกลกาย ทั้งตนและคนอื่น เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เสมอกันหมด ไม่มีใครได้ล่วงพ้นไปได้ นี่แลมันจึงจะเป็นไปได้ "}}
จากนั้น พระพธรรมพูดขึ้นอีกว่า แสงสว่างนี้เป็นแสงบารมีธรรมนะ ที่สะสมมาภพน้อยภพใหญ่ ทาน ศีล ภาวนานั้น นั่นแหละมาแสดงฤทธิ์เดช ส่องแสงสว่างให้รู้ แต่แล้วอย่าส่งไปตามแสงสว่างนะ มันออกนอก ให้น้อมแสงสว่างเข้ามาเพ่งลงในกายนี้ มันจะได้เห็นของจริงเกิดขึ้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จึงจะเห็นแจ้งอยู่ในกายกับจิต ทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็รู้ในกายกับจิตทั้งนั้น ไม่ใช้รู้ที่อื่น นี่พูดมาอย่างนั้นนะ
ถ้าส่งจิตไปตามแสงสว่างโน้น มันออกนอกไป ไม่เห็นธรรม เดี๋ยวจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส หลอกลวงจิตให้เป็นบ้า พะเว่อพะว่า ให้น้อมแสงสว่างเพ่งลงกายนี่ นี่ขั้นแรกเพ่งลงตรงหน้าอกนะ แจ้งชัด ไม่นานหนังก็แตกจ้านะ เลือดพุ่งออกมาทั่วกาย
"{{ คำพูด|อย่ากลัวนะ "}}
พูดมาอย่างนั้น ไม่ตายดอก เห็นแต่ยก อสุภะ มรณะ มาสอนเฉย ๆ ให้ท่านศึกษาดูให้รู้ธรรมะของจริงอยู่กับตัวเรานี่ทั้งนั้น
พระพุทธเจ้า ท่านก็สอนให้รู้เห็นเป็นอย่างนี้ นี่แหละ ตัว อนิจจตา ไม่เที่ยง คือ หนังนั่นมันแตกขาดออกมันจะตาย ทุกขตา เป็นทุกข์ ไม่ได้ตามใจหมาย ตรงนี้ อนัตตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา
เส้น 118 ⟶ 119:
นี่แหละ ธรรมบรรยายมาวันนี้ ย่อ ๆ พอเป็นเครื่องเตือนใจ ฉะนั้น ทุกท่านจงยึดธรรมะไว้ ธัมโมหะเว รักขะติ ธัมมะจาริง ผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมรักษาไม่ให้ตกไปในโลกทีชั่ว ยมโลก ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไม่ให้ไปแน่นอนนะ สำหรับผู้ประพฤติธรรม
ธัมโม สุจิณโณ สุจะมาวะหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้เด๊อ...นั่นแหละผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมดีแล้ว ไม่ผิดหวัง ดังพรรณามานี้ ก็สมควรแก่กาลเวลา
เอวัง ก็มีด้้วยประการฉะนี้}}
<br />
 
== ==
<references/>