ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศธรรมเรื่องปลุกเสกตน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุขพินทุ (คุย | ส่วนร่วม)
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางไปที่ จันทา ถาวโร
บรรทัดที่ 1:
#REDIRECT[[จันทา ถาวโร]]
<font color="blue">'''หลวงปู่จันทา ถาวโร''' (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 — 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) เป็นพระสงฆ์ในธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของศิษยานุศิษย์</font>
 
== ประวัติ ==
<font color="green">หลวงปู่จันทา ถาวโร เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 ที่บ้านแดง ต.เหนือเมือง อ.ในเมือง จ.ร้อยเอ็ด ชื่อตอนเกิดไม่ปรากฏ พ่อแม่พี่น้องทั้งหมด 6 คน ซึ่งหลวงปู่จันทาเป็นคนที่ 4 มิได้รับการศึกษาในระบบการเรียนตามปกติ อุปสมบทมหานิกายที่วัดปลาฝา จ.ร้อยเอ็ด เคยพำนักอยู่ที่ วัดบ้านขมิ้น จ.ร้อยเอ็ด, วัดศรีจันทร์ จ.ร้อยเอ็ด, วัดป่าแพงศรี จ.กาฬสินธุ์, วัดบ้านตะเบาะ จ.เพชรบูรณ์, วัดป่าวิเวการาม จ.ชลบุรี, วัดโชติการาม จ.สกลนคร, วัดธาตุฝุ่น จ.สกลนคร, วัดเกาะแก้วอัมพวัน จ.นครพนม, วัดป่าช้าบ้านหัวดง จ.นครพนม, วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี, วัดโคกก่อง จ.อุดรธานี, วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู มาโดยลำดับ ซึ่งล้วนแต่เป็นเส้นทางแห่งการประกอบทำความดีของพระนักบวชส่วนใหญ่ทางฝ่ายอรัญวาสี วาทะธรรมที่ศิษยานุศิษย์ จดจำได้ดีเป็นที่แพร่หลาย เรื่องการบริกรรมภาวนาและการกระทำความดีของหลวงปู่จันทา ถาวโร มีจำนวนมาก หนึ่งในเทศนาธรรมที่มีชื่อเสียง คือ เทศนาธรรมเรื่อง
'''คาถาปลุกเสกตน<ref><small>โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร เทศน์อบรมพระภิกษุสามเณร และ อุบาสก อุบาสิกา ณ วัดป่าเขาน้อย อ. วังทรายพูน จ. พิจิตร ๒๓ มกราคม ๒๕๓๘</small></ref>'''</font>
----
==='''<small><small>คาถาปลุกเสกตน</small></small>'''===
'''<big>ห</big>'''ลวงพ่อปลุกเสกคนเดียวนะ โอ๊... เอาแต่คาถาดี ๆ มาปลุกเสก ศึกษาหลวงปู่ขาวแล้ว เอาคาถาอะไรมาปลุกเสกมันจึงจะขลัง
นะโม เม สัพพะพุทธานัง ฯ นี่บทหนึ่ง ออกชื่อพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
สัมพุทเธฯ ๓ บท อันนี้รวบรวมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๓,๕๘๔,๒๙๒ พระพุทธเจ้า รวบรวมมาปลุกเสก จากนั้นก็อีกหลายบท
:<font color="blue">'''•'''</font> บทที่ ๑ ตับปาฏิโมกข์
{{คำพูด|อายะตัญ วิตถะตัญ อัปปิตัญ สุวิตัญ สุปะวายิตัญ สุวิเลกขิตัญ สุวิตัจฉิตัญ อัปเปวะนามะมะ ถึง มะมะ นี้ ยิงไม่ออก หลวงปู่ขาว ว่านะ ถึงออกก็ไม่ถูก ฟันก็ไม่เข้า}}
:<font color="orange">'''•'''</font> บทที่ ๒
{{คำพูด|พุทธังอึดอัด ธัมมังอึดอัด สังฆังอึดอัด มัดกึดอึดอัด มัดกั้นตันปิด}}
:<font color="green">'''•'''</font> บทที่ ๓
{{คำพูด|อิติปิโส ภะคะวา พระเจ้าสั่งมา ภะคะวายันติ โมคคัลลายันติ}}
:<font color="red">'''•'''</font> บทที่ ๔
{{คำพูด|อิติปิโสวิเสเส อิอิเสเสพุทธนาเม อิอิเมนาพุทธะตังโส อิอิโสตังพุทธปิติอิ ตะโจพระพุทธเจ้า ขอจงมาเป็นหนัง มังสังพระธรรมเจ้า ขอจงมาเป็นเนื้อ อัฏฐิพระสังฆเจ้า ขอจงมาเป็นกระดูก ตะริเพ็ชรคงคง อิสวาหะ สวาสุ สวาอิ
พุทธปิติอิ นะมะอะอุมิ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ พุทโธกั้ง ธรรมโมบัง สังโฆปิด}}
 
นี่แหละ ๔ บทนี้ ใช้ปลุกเสกพระปีกลายนี้ ถามหลวงปู่ขาวแล้ว ท่านว่า ธรรมเหล่านี้เป็นของขลัง ก็เลยมาปลุกเสก
ปลุกเสกแล้วเป็นอย่างไร เหรียญ ผ้ายันต์ก็ดี เป็นแต่รับหน้าที่ปลุกเสกให้เท่านั้นนะ พอปลุกเสกเสร็จแล้ว เอ้า...เอาไปแจกจ่ายกันไปเลย มีบัญชี หรือไม่มีเราไม่ทราบ ขอให้สำเร็จความมุ่งหวังเถอะ ก็แล้วกัน
ทีนี้ เป็นอย่างไรเล่า ผ้ายันต์ก็ว่าดีนะ สจ.คนหนึ่ง นั่งรถไปเอาผ้ายันต์ใส่รถหรือใส่กระเป๋าไป นั่นแหละ เขาปาดหน้ายิงด้วยปืนเอ็ม ๑๖
{{คำพูด|หมอบ !... หมอบลง... }}
ไม่รู้เสียงใครบอก
{{คำพูด| แพร่ด... ๆ... ๆ}}
หมดแม็กเลยทีเดียว
นั่นแหละ รถยับเยินหมด พลิกคว่ำลงลำคลอง แต่คนไม่เป็นไร ลุกออกมาดูสภาพรถไม่มีที่ดี ผ้ายันต์ขอดลูกกระสุนไว้ ๔ ลูก นี่ !... ทำไมไปอยู่อย่างนั้น
อันนี้ แปลว่า แสดงฤทธิ์ ด้วยอำนาจมนต์ของพระพุทธเจ้าดีเลิศประเสริฐอย่างนั้น นั่นแหละ
นอกนั้น เขาก็เล่าลือให้ฟังหลายอย่าง เหรียญก็หมากัดไม่เข้า มีดหวดตัดคอตัดแขนก็ไม่เข้า ปืนยิงเข้าป่าถูกคนอื่น แน่ะ...จากนั้นเขาก็เล่าให้ฟังหลายอย่างหลายประเด็น
ทีนี้ เขาเล่าให้ฟัง ๓-๔ หนุ่มสาว นั่งรถไปด้วยกัน คนหนึ่งถือพุทธ มีผ้ายันต์กับเหรียญ นี่แหละติดตัวไป รถพลิกคว่ำ ๓ ตลบ พังยับเยิน ๓ คนตายเรียบ เหลือแต่พุทธคนเดียวไม่เป็นไร ก็คืออาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จอมปราชญ์เลิศประเสริฐสุด ช่วยเหลือ ก็เลยไม่ตาย
นั่นแหละ เขาเล่าให้ฟังนะ จะจริงหรือเท็จ หลวงพ่อก็ไม่ส่งเสริมหรอกโน้ พูดตามความจริง ตามผู้ที่เขาเอาไปใช้ เขาก็ว่าดีทั้งนั้น ผ้ายันต์ ก็ดีนะ
คนหนึ่ง ถือผ้ายันต์เข้าไปบ้านแม่ทรงที่กรุงเทพฯ นะ เขากำลังยกเครื่องจะเข้าทรง ก็ไม่เข้าเลยนะ ผีไปใหญ่เลย คนทรงก็ไม่รู้ว่าใครเอาอะไรมาที่นี่ มันทรงไม่ได้เสียแล้วพอคนที่เอาผ้ายันต์ไปด้วย ลงจากบ้านแล้ว ผีจึงเข้ามาบ้านมาเข้าทรงได้นะ
นั่นแหละ เป็นอย่างนั่น นี่แหละความดี ของการปลุกเสก จะเป็นเพราะมนต์ของพระพุทธเจ้า หรือเป็นเพราะผู้ปลุกเสก มันก็ต้องประกอบกันเข้าทั้ง ๒ นั่นแหละ ทั้งผู้ปลุกเสกก็เป็นพระกรรมฐาน เจริญศีล สมาธิ ปัญญา มาตั้งแต่วันบวช ไม่เลิกละ อดนอนผ่อนอาหารเจริญธรรมอยู่เป็นนิจ ทำจิตของตนให้ผ่องใส กล้าแข็งในการเจริญธรรม ปฏิบัติธรรมมาอย่างนั้น
ทีนี้ ก็มาปลุกเสกของ ก็รู้สึกว่ามีอิทธิฤทธิ์ อย่างพวกท่านทั้งหลายเอาไปใช้ หรือจะเป็นบางคน ก็แล้วแต่เน๊าะ...ปลุกเสกให้แล้วนะ นี่แหละการเจริญปลุกเสกตน ของภายนอกโลหะต่าง ๆ ก็ศักดิ์สิทธิ์อย่างนั้น นี่ข้อสำคัญ
ทีนี้ เราซึ่งเป็นชาวพุทธ หวังความบริสุทธิก็จงน้อมเอา ธรรมะธัมโม สังฆะสังโฆ คำสอนของพระพุทธเจ้ามาปลุกเสกตน
เดินปลุกเสก ก้าวขวา พุทโธ ก้าวซ้าย ธัมโม ก้าวขวา สังโฆ จะเดินนานเท่าไหร่ เอาจนเหนื่อยล้านั่นแหละ เป็นการเจริญมรรค
เดินเหนื่อยแล้วก็ยืน ยืนจนเหนื่อยล้าเป็นประมาณ จะกำหนดเท่านั้นเท่านั้นไม่ว่า นั่นแหละเอาจนเหนื่อยล้า แล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ ยืนก็หายใจเข้า พุท ออก โธ เท่านั้น
เสร็จวิธีการยืนแล้วก็นั่ง พูดย่อ ๆ นะ ไม่พูดยาวเหมือนอย่างที่ทำมา โอ๊ย !...ไม่ใช่อย่างนี้ ไม่ใช่น้อยอย่างนี้ มักง่าย ไม่พองาย ไม่พออยู่ ไม่พอกิน ไม่เอามักง่าย ขี้ใกล้ทางมันเหม็น พระเหม็น เณรเหม็น ขี้เกียจขี้คร้านปลุกเสกตน มันก็ไม่เจริญ
จากนั้นก็เข้าที่นั่ง นั่งกำหนดชำระจิตใจให้ผ่องใส อตีตารมณ์ อารมณ์อดีตล่วงมาแล้วปล่อยวาง อนาคตารมณ์ อนาคตยังมาไม่ถึงก็ปล่อยวาง ทำใจให้เหมือนผ้าเช็ดเท้า หรือดินและน้ำ
ธัมมัญญุตา ประกอบเหตุดีแล้ว อัตถัญญุตา ผลดีนั้นจะเกิดขึ้นสนองข้างหน้า หลวงปู่ขาว ว่าอย่างนั้น
นั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายทำกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นเฉพาะหน้า ไม่ให้ก้ม ไม่ให้เงย ไม่กดกายบังคับกาย วางกายให้อ่อน วางใจให้อ่อน เพราะธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของอ่อน มรรคผลธรรมวิเศษเป็นของอ่อน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ เป็นของอ่อน ร่าเริงบันเทิงดี
นั่นแหละ ปล่อยวางความอยากเสมอ ทำใจให้เหมือนผ้าเช็ดเท้า หรือดินและน้ำ จะเข้าสมาธิมันจึงจะเป็นไป หลวงปู่ขาว ว่านะ หายใจเข้า พุท ออก โธ ผ่อนลมหายใจให้ละเอียดเข้าเสมอ ให้เป็นที่สบายของผู้ภาวนา สั่นแหละ ละเอียดดี
ต่อแต่นั้นไปก็ วิระเยนะ ทุกขมัจเจติ ผู้มีความเพียรจะเป็นผู้บรรลุธรรมได้ธรรมเห็นธรรม ล่วงพ้นทุกข์เสียได้
ขันตี ตะโป ตะปัสสิโน ความอดทนนั้น เป็นตะปะเครื่องแผดเผา เสียซึ่งกิเลส และนำนำอภิชฌาโทมนัส คือกิเลส ออกจากดวงจิตได้
นี่แหละ ธรรม ๒ ประเด็นนี้ เป็นตะปะ แผดเผาเสียซึ่งกิเลส หลวงปู่ขาว ท่านสอนแล้วสอนเล่า
อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย จงชนะตนเสมอนะ ให้มันชนะตน อย่าเพิ่งชนะคนอื่น
คนอื่นคือใครเล่า ? คนอื่นภายในก็คือร่างกายนี่แหละ อื่นเพราะมันแก่ เจ็บ ตาย ให้มัน ชนะตน คือใจ มันจึงจะเป็นไป
ต่อแต่นั้น มึนชาปวดร้อนแสบเย็นเกิดขึ้นที่ขาทับขา ก็อย่าเพิ่งกระดุกกระดิก อย่าเพิ่งลูบคลำ อย่าเพิ่งพลิกให้นะ มีแมลงมาไต่หน้าไต่ตาแขนขา หรือกัดก็อย่าลูบคลำ ท่านว่า มันไม่ดี ให้นั่งทับทุกข์ อย่างนั้น
ทุกขัง อะริยะ สัจจัง ทุกข์ทั้งหลายควรกำหนดดูให้รู้ นี่แหละพระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น เราก็ต้องกำหนดดูให้รู้ ถ้าไม่เห็นก็ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนทั้งวันคืน อดนอนผ่อนอาหารนี่แหละ จิตมันจึงจะเห็นทุกข์ จึงจะยอมจำนน
ถ้าไปลูบคลำ หรือ พลิกให้ กายไหว ความไหวของกาย กระทบจิต จิตก็เลยไม่สงบ นี่ หลวงปู่ขาว สอน
นั่นแหละ ทำความเพียรต้องมีครูนะ ถ้าไม่มีครูสอนแล้วก็ยากที่จะเป็นไป
นั่งจนเหนื่อยล้า จนสู้ไม่ไหว นั่นแหละ ๒ ชัวโมง ๓ ชั่วโมง จาก ๖ โมงเย็นยันถึง ๖ ทุ่ม จาก ๖ ทุ่ม ยันถึงแจ้งนี่การนั่ง นั่นแหละ ทำความเพียรปราบข้าศึกใหญ่ คือ กิเลส
การเจริญนี้เรียกว่าการเจริญสมถกรรมฐานเป็นการเจริญมรรค อบรมจิต ฝึกจิต ทรมานจิต สอนจิตให้จิตอ่อนโยน ยอมจำนนปลงมานะทิฏฐิ กล้าแข็ง ว่ากายเป็นตน ตนเป็นกาย ไม่ใช่ดอก นั่นแหละ ฝึกได้ด้วยสมถกรรมฐาน เดิน ยืน นั่ง
ทีนี้ ก็กำหนดวางพุทโธ ยกจิต ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ทั้ง ๓ พิจารณา
อนิจจตา ร่างกายไม่เที่ยง จิตสอนจิต มันไม่เที่ยงมันเป็นอย่างไร เคยเห็นไหม ปู่ทวดตาทวด ปู่ย่าตายาย มันไปหมดแล้วใช่ไหม นั่นแหละ อนิจจตา ไม่เที่ยง ตัวเราก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถามจิต จิตชอบไหมเล่า จิตก็บอกว่าไม่ชอบนั่นแหละ
ทุกขตา ก็เป็นทุกข์ลำบากกายจิต วิปริตแปรผันธาตุขันธ์นี้นั้น ไม่ได้ตามใจหมายของใครนั้งนั้น จะเป็นผู้ดีมีหน้าหรือ ทุกข์จนค่นแค้น แสนกันดารก็ตามที
อนัตตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา เพราะมันแก่ เจ็บตาย นี่แหละซ้ำๆ ซากๆ เราจะถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูปูเสื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ทุกทิวาราตรีกาล วันคืนขวนขวายหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน นั่นแหละ ค่ำไม่ยืน คืนไม่อยู่ แต่แล้วเขาก็เป็นบุคคลที่อกตัญญู ไม่รู้จักคุณใครเลย ควรที่จะเวทิตาธรรมตอบแทน ไม่ดอก
นั่นแหละ จงให้รู้หน้ารู้ตาของไอ้เจ้า อนัตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา นี่แหละถึงเราจะสงเคราะห์อย่างไร ก็ไม่ยอนดีกับใครทั้งนั้น เขาว่า ข้าพเจ้าเกิดมาจากของ อนัตตา ของที่เป็นทุกข์ ของที่ไม่ได้ตามใจหมาย เกิดมาจากของไม่เที่ยง เราก็ต้องแปรสภาพเปลี่ยนแปลงไปตามของไม่เที่ยง เป็นแต่ท่านผู้มาอยู่กับข้าพเจ้า จะต้องศึกษาให้มันรู้เห็น ตามสภาพปัจจัยปรุงแต่งขึ้นแล้วก็เป็นไปตามเหตุ ปัจจัยเท่านั้น นั่นแหละ ท่านจงเป็นผู้ฉลาด อย่าได้โง่นะ เขาว่า
อย่าได้นั่งซบเซาเหงาอยู่ อย่านั่งกอดนอนกอดนั่งเฝ้านอนเฝ้า ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่าได้สงสัย และอย่าให้มัน แก่เจ็บตายทิ้งไปเสียเปล่า เขาว่าอย่างนั้น ฉันเป็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย เพราะได้มาจากของเหล่านั้น ก็แล้วแต่ท่านจะมีสติปัญญาพิจารณาเอา เมื่อมาอยู่กับข้าพเจ้าแล้ว
นั่นแหละ จะต้งพลิกแพลงหาของจริง ให้มันเห็นของจริงแล้ว จะได้เพื่อหน่ายคลายความกำหนัดปล่อยวาง ไม่ยึดไม่ถือ เขาว่าอย่างนั้น เขาสอนเราอยู่ทุกวันคืน แต่แล้วเราก็มาหลงซบเซาเหงาอยู่ ไม่ศึกษาพุทธวจนะ ไม่สนใจ ไม่ปฏิบัติ มันก็ไม่เห็นของจริง
อนิจจตา แปลว่า ไม่เที่ยง ทุกขตา ก็เป็นทุกข์ อนัตตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สอนอย่างเดียวกันหมดทั้งนั้น เป็นธรรมะเตือนใจของโลกคือหมู่สัตว์ ไม่ให้ประมาท ให้พิจารณาเห็นแจ้งในภพชาติสังขาร แล้วจะเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด
อตีตารมณ์ ล่วงมาแล้ว ก็ได้สมบัติเป็นอย่างนี้
อนาคตารมณ์ อนาคต ยังไม่มาถึง ก็จะได้อย่างเก่านี้แหละ
ปัจจุบัน นี้ ก็ได้อย่างนี้ จะไปไหนเล่า โลกทั้งสามเป็นอย่างนี้ เขาสอนอย่างนั้น
ทีนี้ จิตเห็นเป็นสภาพอย่างนั้น จิตก็สังเวชจนน้ำตาไหล บางครั้งนะ เพราะสังขารไม่ได้อยู่ใต้อำนาจใจหมายของใครทั้งนั้น ผิดหวังเสมอนะ เหมือนกำมือเข้าแล้วเหยียดออก
เพราะการฝึกฝนปลุกเสกมานาน ไตรมาส ๓ เดือน ๕ ปีนะ ปีที่ ๕ ทำอยู่ ๗ เดือน ปลุกเสกมาอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ ไม่ใช้ทำน้อยนะ
พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นศาสดาเอก เป็น นายะโกเอกผู้นำโลกคือ หมู่สัตว์ เป็นธรรมะอันเลิศประเสริฐแท้น้อมมาปลุกเสกจิต ให้รู้ เห็นเป็นไป ตามสภาพปัจจัย จิตนั้นจะกลายเป็น พุทโธ กลายเป็น ธัมโม กลายเป็น สังโฆ
จากนั้น จิตก็รวม พับ ขณิกสมาธิ เกิดขึ้นก่อนจิตสงบเฉียดๆ นะ เย็นกาย เย็นจิต จิตลหุตา จิตเบา กายลหุตา กายเบา นี่แหละ จิตก็พูดขึ้นมาอีกว่า นัตถิสันติปะรัง สุขัง ความสุขอื่นเสมอด้วยจิตสงบไม่มี แน่นนอน
ในขณะนั้น จิตได้รับความสงบสุข แล้วจิตนั้นก็ผ่องแผ้ว เบิกบานเลื่อมใส นั่นแหละกำลัง ๕ ปีติ ๕ เกิดขึ้นอีก เป็นกำลังใจของใจ
อันนี้หนอ ผลของ วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ, ขันตีตะโป ตะปัสสิโน, อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย จิตมันเห็นนะ ผู้มีความเพียร ผู้อดทน ผู้ชนะตน นี่ ให้ผลเป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วไม่ผิด จิตนั้นก็เชื่อมั่น ไม่หวั่นไหว เอาชีวิตเป็นแดน เพราะของจริงเกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ นั่นแหละ ปัจจัตตัง ผู้ปฏิบัติ รู้ด้วยตนเอง
สมัยนั้น แข่งกันนะ ไตรมาส ๓ เดือนแข่งกันเลย ตอนเย็นไปศึกษาธรรมะกับหลวงปู่ขาว เณรน้อยบางองค์ก็ร้องไห้นะ
{{คำพูด| ร้องไห้ทำไมเล่า?}}
{{คำพูด| อยากได้ธรรมะอย่างที่ครูบาได้}}
หลวงปู่ขาว ว่า
{{ คำพูด|ใคร !... พระพุทธเจ้าองค์ไหนสอนว่า ให้ร้องไห้เอานะ ทำความเพียรอย่างท่านว่าได้ไหมเล่า ? }}
{{ คำพูด|ไม่ได้ }}
{{คำพูด| ไม่ได้ ก็เป็นบ้าซะตี๊ ครั้นร้องไห้เอาได้}}
หลวงพ่อทำมานี้ก็ โอ๋...แสนยากลำบาก นั่นแหละแต่ก็เป็นของดีมาก ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ แต่ว่ามันมีความวิตกวิจารใจ หวั่นไหวก็ดีมาก ต่อไปมันก็จะมีมานะอดทน ทำได้
จากนั้น ธรรมะเกิดขึ้นอีก ปีติ ๕ เกิดขึ้น ขุททกาปีติ เกิดขึ้น ขนพองสยองเกล้า นี่ผลรายได้ ขณิกาปีติ เกิดขึ้นอีก น้ำตาไหล เหมือนแสงฟ้าแลบในฤดูฝนตก โอกกันติกาปีติ เกิดขึ้น กระทบกายและจิตเหมือน คลื่นน้ำกระทบฝั่ง อุพเพงคาปีติ เกิดขึ้น แหม...เหมือนมันจะหอบกายเหาะฟ้า มันร่าเริงบันเทิงดีนะ ผรณาปีติ เกิดขึ้น ซึมซาบด้วยกาย และจิตร่าเริงบันเทิง หิวข้าว หิวนอน ไม่มี หายหมด
พอจิตสงบลงสู่ ขณิกะ เท่านั้นแหละ หายหมด หิวนอน หิวข้าว มันหายหมด มีรสชาติอันอร่อย ควรที่จะประพฤติปฏิบัติเอาให้ได้นะทุกท่าน
นั่นแหละ จิตก็ร่าเริงบันเทิง กำลัง ๕ เกิดขึ้นพร้อม ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา กำลัง ๕ นี่เกิดขึ้นอีกเป็นกำลังใหญ่ของใจ ความสงบสุขนั่นแหละ เป็นกำลังใหญ่ นี่ทำความเพียรให้จิตสงบได้ แปลว่ามีโชคมากได้อาวุธทันสมัย สำหรับที่หนุนจิตให้คมกล้า สมาธิเป็นหินเพชรลับสติปัญญาให้คมกล้า เหมือนหินลับพร้า (มีด)
ต่อแต่นั้น แสงสว่างเกิดขึ้นอีกนะ ออกหน้าออกตา ฮุ่งโร่สว่างจ้า โอ้...เหมือนเปิดสวิตซ์ไฟฟ้า ความมีือดับไป ความสว่างเกิดขึ้นแทนที่ อะไรมีอยู่ที่นั้นเห็นหมด นี่แหละเป็นที่อัศจรรย์ใจ ได้เจริญธรรมมาอย่างนี้ นี่เป็นผลรายได้เกิดขึ้น จากการเจริญสมถกรรมฐาน เดิน ยืน นั่ง อดนอนผ่อนอาหาร วิปัสสนากรรมฐาน ค้นคว้าในสกลกายน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ เห็นแจ้งประจักษ์ทุกเมื่อ เป็นเครื่องฝึกจิตให้มีสติ มีปัญญาฉลาดรู้ต่อธาตุขันธ์ เป็นมรรคเป็นเครื่องส่งทั้งนั้น
จากนั้น พระธรรม คือ จิต เราอบรมให้สว่างผ่องใสจนเข้าสู่ความสงบได้ เพราะจิตสงบนั่นแหละ จิตนี้เป็นผู้ไม่ตาย ท่องเที่ยวเกิดดับ ภพน้อยภพใหญ่ เป็นอะไรเขาจะยกบุพเพชาติปางก่อน มาสอนอีก ให้เราเบื่อหน่าย โอ๋...สัตว์นานาชนิดมีหมดทั้งบกและน้ำ ยักษ์โขโมฬีเปรตผี ยกมาเป็นกลุ่ม ๆ นี่อะไร กำหนดถาม เขาก็พูดว่า
{{คำพูด| นี่แหละ บุพเพชาติปางก่อนของท่าน สมบัติของท่านเสวยมาแล้ว }}
{{คำพูด| เป็นอย่างนี้ ก็เป็นหรือ ? }}
{{คำพูด| เป็น...ไม่ต้องสงสัยดอก โลกคือหมู่สัตว์ เมื่อมีกิเลสกับกรรม ครองหัวใจอยู่ ต้องได้เสวยเป็นอย่างนี้ จงศึกษาให้มันถึงใจ ( ใจคือเรา เราคือใจ จิตก็ว่า ) จะได้สิ้นสงสัย ในการท่องเที่ยวภพน้อยภพใหญ่ จะได้ไม่ประมาทในการเจริญธรรมเพื่อได้เอาตนข้ามโอฆสงสาร ไปพระนิพพานเป็นที่แล้ว }}
จากนั้นไป พอเห็นแจ้งชัดแล้วก็ดับพึบ เหลือแต่ผู้รู้ ไม่นาน ยก มรณกรรมฐาน มาอีก
มรณกรรมฐาน โอ๊ย...หลายประเภท ตายใหม่ๆ เก่า ๆ เต็มบริเวณนั้น มีอีแร้ง อีกา นกตะกรุม และสุนัขบ้าน สุนัขป่า ยื้อแย่งกินเป็นอาหารสนั่นหวั่นไหวอยู่กำหนดถาม...
{{คำพูด| นี่คืออะไร ? }}
{{คำพูด| นี่แหละ บุพเพสมบัติของท่านแต่ปางก่อน มรณกรรมฐานคือ ตาย อีแร้ง อีกา นกตะกรุม ก็เป็นสมบัติของท่าน กินของตายเป็นอาหาร สุนัขบ้าน สุนัขป่าก็สมบัติของท่าน ตัวของท่านนั่นแหละ กินของตายเป็นอาหาร นั่นแหละ ท่านจะกินต่อไปอีกหรือไม่ ? ถ้าจะกินต่อไปอีก ก็นั่งนอนสนุกสบาย เอาแต่กิเลสกับกรรมชั่วนั้นครองใจ นั่นแหละ จะได้กินอีกต่อไป }}
{{คำพูด| ถ้าไม่อยากกิน ก็หยุดเสีย จงเจริญสมณธรรมตามคำสอนพระพุทธเจ้า สมถกรรมฐาน เดิน ยืน นั่ง อดนอนผ่อนอาหาร วิปัสสนากรรมฐาน ค้นคว้าในสกลกาย ทั้งตนและคนอื่น เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เสมอกันหมด ไม่มีใครได้ล่วงพ้นไปได้ นี่แลมันจึงจะเป็นไปได้ }}
จากนั้น พระพธรรมพูดขึ้นอีกว่า แสงสว่างนี้เป็นแสงบารมีธรรมนะ ที่สะสมมาภพน้อยภพใหญ่ ทาน ศีล ภาวนานั้น นั่นแหละมาแสดงฤทธิ์เดช ส่องแสงสว่างให้รู้ แต่แล้วอย่าส่งไปตามแสงสว่างนะ มันออกนอก ให้น้อมแสงสว่างเข้ามาเพ่งลงในกายนี้ มันจะได้เห็นของจริงเกิดขึ้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จึงจะเห็นแจ้งอยู่ในกายกับจิต ทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็รู้ในกายกับจิตทั้งนั้น ไม่ใช้รู้ที่อื่น นี่พูดมาอย่างนั้นนะ
ถ้าส่งจิตไปตามแสงสว่างโน้น มันออกนอกไป ไม่เห็นธรรม เดี๋ยวจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส หลอกลวงจิตให้เป็นบ้า พะเว่อพะว่า ให้น้อมแสงสว่างเพ่งลงกายนี่ นี่ขั้นแรกเพ่งลงตรงหน้าอกนะ แจ้งชัด ไม่นานหนังก็แตกจ้านะ เลือดพุ่งออกมาทั่วกาย
{{ คำพูด|อย่ากลัวนะ }}
พูดมาอย่างนั้น ไม่ตายดอก เห็นแต่ยก อสุภะ มรณะ มาสอนเฉย ๆ ให้ท่านศึกษาดูให้รู้ธรรมะของจริงอยู่กับตัวเรานี่ทั้งนั้น
พระพุทธเจ้า ท่านก็สอนให้รู้เห็นเป็นอย่างนี้ นี่แหละ ตัว อนิจจตา ไม่เที่ยง คือ หนังนั่นมันแตกขาดออกมันจะตาย ทุกขตา เป็นทุกข์ ไม่ได้ตามใจหมาย ตรงนี้ อนัตตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา
นี่ของจริ
เป็นอย่างนี้ สำหรับผู้ปฏิบัติเมื่อเห็นธรรมะเกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ก็สิ้นสงสัย ใจนั้นก็หวั่นไหว โอ๋...ท่องเที่ยวเกิดดับในภพน้อยใหญ่ ได้สมบัติปัจจัยเป็นอย่างนี้หนอ ไม่ได้ตามใจหมายทั้งนั้น ทั้งตนและคนอื่น
นั่นแหละ ก็เพ่ง เนื้อหนังก็เปื่อยเน่า กองลงสู่พื้นแผ่นดิน อีแร้ง อีกายื้อแย่งกินกันสนั่นหวั่นไหว เหลือแต่ร่างกระดูก เพ่ง !...มันก็สาบสูญ ว่งพึบ ไม่มีอะไร นี่แหละ อนิจจตา ตัวไม่เที่ยง คือตัวนี้ ทุกขตา เป็นทุกข์ เพราะไม่ได้ตามใจหมาย คือ ตายสาบสูญอย่างนี้ อนัตตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา เป็นของสูญ นี่อยู่ตรงนี้
นี่แหละ จงศึกษาให้มันเห็น ให้มันแจ้งชัด พอเห็นเป็นอย่างนั้น เหลือแต่ผู้รู้กับสติเท่านั้น ในขณะนั้น โอ๊...จิตก็ร่าเริงบันเทิงใจ อะไรหนอเป็นเขาเป็นเรา ไม่มีหมดสมมุติบัญญัติ ไม่มีอะไรทั้งนั้น ทำอย่างไรเล่า เมื่อถึงขึ้นนี้ พิจารณากันคืนยังรุ่งจนแจ้งเป็นวันใหม่ แล้วก็ไปศึกษากับ หลวงปู่ขาว อีก
หลวงปู่ขาว ก็ว่า อันนี้แหละ ภพอันละเอียดสังขารอันละเอียด กบิลดาบส ได้ขั้นนี้เกิดเป็นรูปฌาน อรูปฌาน ตายแล้วไป พรหมโลก อุททกดาบส อาฬารดาบส ฤาษี ๒ ตนนี้ จิตเขาตกเข้าขั้นนี้แหละเกิด รูปฌาน อรูปฌาน ตายแล้วไปค้างอยู่พรหมโลก ไม่ไปไหนดอก นี่สังขารละเอียด
หลวงปู่ขาว ท่านก็ว่า เมื่อถึงขั้นนี้ สมาธิธรรม มันมั่นแล้ว ต่อแต่นั้น ก็น้อมจิตเข้าหาผู้รู้ ผู้รู้ คือ ใจ นี่แหละ ( เขาจะบอก )
นี่แหละท่าน ภพชาติสังขารท่องเที่ยวเกิดดับภพน้อยภพใหญ่ มาได้เป็นอย่างนี้ อย่าเพิ่งสงสัย อย่างเพิ่งหวั่นไหว อย่างเพิ่งแก่ เจ็บ ตายไปอีกเถอะ ยากลำบากเหลือทนไม่ไหว นั่นแหละ จิตสอนจิต จิตทั้งรู้ทั้งเห็น จิตก็สิ้นสงสัย จิตก็ยึดดาบเพชร สติปัญญาลับดีแล้วด้วย สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน นั้น ถอนสังโยชน์เลย สังโยชน์ ๓ ขั้นแรก ได้ก่อน มันจะขาดหรือไม่ ถ้ามันขาดก็เป็น สมุจเฉทปหาน จิตนั้นจะเปลี่ยนสภาพเดิม มาเป็น นิยะโตจิต นิยะโตบุคคล บุคคลเที่ยงแท้ต่อสุคติล้วน ๆ มีเป้าหมายปลายทางพระนิพพานเป็นที่ไปเบื้องหน้าโดยไม่ผิดหวัง นั่นแหละ
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ดวงเด่นก็โผล่หน้าขึ้นมาที่จิต นี่เป็นการเจริญปลุกเสก มาเป็นสมบัติของตนผู้เจริญธรรม เห็นแจ้งชัด สิ้นสงสัย นี่หนอสมบัติอันเลิศประเสริฐแท้ นอกนั้นไม่มี จิตเยือกจิตเย็นสบาย ทีี้จิตก็พูดขึ้นมาอีกว่า
จิตตัง ทันตัง สุขะมาวะหาติ จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้แน่นอน โอ๊...แสนสุขแสนสบายนะเจ้า ขั้นนี้นะ สุขสบายดี สบายด้วยสติ ด้วยปัญญา ฉลาดรู้ต่อธาตุขันธ์
จิตก็เห็นแจ้งว่า เราตกเข้ากระแสปากทาง ของพระนิพพาน ไม่หวั่นไหว เข้าถึงแก่นของศาสนาแล้วไม่หวั่นไหว นั่นเห็นจริง แจ้งชัด จิตพูดขึ้นมาอีก
ปะฎิปันนา ปะโมกขันติ ฌายิโน มาระพันธะนา จิตที่ฝึกดีแล้วถึงขั้นี้ มาร คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร เทวบุตรมาร มาร ๔ นี้ ตามไม่ทันนะ
แหม... คำพูดเหล่านี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้เรียน ( ปริยัติ ) นะ จิตพูดขึ้นมาเอง เพราะธรรมะเหล่านี้ จิตฝึกฝนมาแต่ภพปางก่อน แล้วฝังใว้ที่ใจ นั่นแหละ เมื่อเจริญธรรม จิตรวมลงถึงขั้น ก็เกิดขึ้นเอง นานาชนิด ทุกประเภทเป็นที่อัศจรรย์ใจ เห็นแจ้งชัดว่า ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นนิยยานิกธรรม นำผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ให้ออกจากวัฏฏทุกข์ ไปถึงปรมัตถสุข คือ พระนิพพาน เป็นที่แล้ว นั่นแหละ โดยไม่ต้องสงสัย
ธรรมทุกบทบาทเป็นเครื่องกลั่นกรองกิเลส เป็นเครื่องล้างบาป รื้อถอนกิเลสทั้งหมด นี่แหละปราชญ์ทั้งหลาย จึงพากันยึดเจริญมาอยู่เป็นนิจ เห็นแจ้งชัดในขณะนั้นว่า โลก คือ หมู่สัตว์ มีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็ผู้ให้ผล ดีชัว เกิดขึ้นจากกรรมทั้งนั้น ล่วงพ้นจากกรรมไปไม่ได้หรอก ฉะนั้น จงเจริญตั้งแต่กรรมดีล้วน ๆ อันนี้แหละเป็นของดีเลิศประเสริฐแท้
นั่นแหละ ได้เจริญมาอย่างนี้ นี่เป็นผลรายได้ เกิดขึ้น ทีนี้มันหลายขั้น หลายตอนนะ ถ้าจิตตัดสังโยชน์ ๓ ขาดจากใจ ก็ได้ สมุจเฉทปหาน มีเป้าหมายปลายทางเบื้องหน้าปรมัตถสุข คือ พระนิพพานแน่ หมดทุกข์โทษภัยในวัฏฏสงสาร แต่ถ้ายัง สมุจเฉทปหาน ไม่ได้ ก็เป็นแต่ ตทังคปหาน หรือ วิกขัมภนปหาน เด๊อ พูดขึ้นมาอย่างนั้นนะ โดยไม่ได้ศึกษาธรรมะธัมโมอะไร เขียนอ่านไม่เป็นศึกษาด้วยการปฏิบัติล้วน ๆ หลวงปู่ขาว สอน ธรรมะจะเกิดขึ้นเองดอก ท่านว่า อย่างนั้น อย่าเพิ่งสงสัยลูบคลำ ผู้ศึกษาเล่าเรียนสู้ปฏิบัติไม่ได้ ผู้ปฏิบัติเดินทางตรงเข้าสู่พระนิพพานเลย ท่านว่าอย่างนั้น
นี่แหละ พูดขึ้นมาหลายอย่างหลายประการ ทุวิชาโน ปะราภะโว พูดขึ้นมาอีกนะ ไอ้คนปัญญาทรามบริโภคตั้งแต่กิเลสกาม วัตถุกาม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขน้อยใหญ่ ทุกวันคืน เข้าไปฉาบทาใจ ทำใจเป็นพาลสันดานหยาบ จะได้ประสบพบปะตั้งแต่เหตุเภทร้ายต่อไปข้างหน้า โดยไม่ต้องสงสัย
สุวิชาโน ภะวัง โหติ ผู้เจริญธรรม ปฏิบัติธรรมกินธรรมเป็นอาหาร ผู้นั้นแหละหญิงชาย จะได้ประสบพบปะตั้งแต่สิ่งที่น่าปรารถนา มนษุย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ และคุณสารสมบัติใดนั้น ที่มนุษย์ นาค ครุฑ อินทร์ พรหมในโลกทั้งสาม เกิดขึ้นจากการเจริญธรรมทั้งนั้น นี่แหละ จงเจริญธรรมอยู่เป็นนิจ อย่าได้ละว่างเว้น เอาชีวิตเป็นแดน หายใจเข้า พุท ออก โธ อยู่อย่างนั้น มีสติปัญญาสัมพันธมิตรกันอยู่เสมอ
พูดขึ้นมาอีกว่า ภารา หะเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระหนักเด๊อ...นี่แหละ เป็นภาระหนักจงให้มันรู้ ให้มันเห็น ภาระหนัก มันหนักอย่างไร ได้ยินแต่คำพูดของพระพุทธเจ้า และนักปราชญ์ท่านผู้รู้ทั้งหลายสอนให้ฟังเท่านั้น แต่เมื่อมาภาวนา จิตรวมลงถึงขั้นนั้น ก็เห็นของจริงเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ นี่เป็นที่อัศจรรย์ใจ
พูดขึ้นมาอีกว่า ผู้ทำความเพียร ผู้ปฏิบัติธรรมปลุกเสกตนอยู่เป็นนิจ ทุกวันคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ลดละ จะเป็นผู้ข้ามเสียซึ่งมหรรณพภพสงสาร มีพระนิพพานเป็นที่ไปเบื้องหน้า
คลื่นทั้ง ๔ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ และอวิชชาโอฆะ คลื่นใหญ่ทั้ง ๔ นี้ เป็นของมหาสมุทรโอฆสงสาร ภพทั้งสามนั่นแหละ ผู้จะข้ามคลื่นนี้ได้ทำลายไปได้ก็ต้องเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ว่าอย่างนั้น โดยไม่ผิดหวังแล
นี่แหละ ธรรมบรรยายมาวันนี้ ย่อ ๆ พอเป็นเครื่องเตือนใจ ฉะนั้น ทุกท่านจงยึดธรรมะไว้ ธัมโมหะเว รักขะติ ธัมมะจาริง ผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมรักษาไม่ให้ตกไปในโลกทีชั่ว ยมโลก ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไม่ให้ไปแน่นอนนะ สำหรับผู้ประพฤติธรรม
ธัมโม สุจิณโณ สุจะมาวะหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้เด๊อ...นั่นแหละผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมดีแล้ว ไม่ผิดหวัง ดังพรรณามานี้ ก็สมควรแก่กาลเวลา
เอวัง ก็มีด้้วยประการฉะนี้
<br />
 
== ==
<references/>
[[หมวดหมู่:เทศนาธรรม]]