ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กามนิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุขพินทุ (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''กามนิต''' เป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยายอิงพระพุทธศ...'
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:42, 3 กันยายน 2556

กามนิต เป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยายอิงพระพุทธศาสนา นวนิยายฉบับภาษาอังกฤษได้รับการแปลภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ. 2473 จากเรื่อง The Pilgrim Kamanita มาเป็นเรื่อง กามนิต โดย เสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป

คำคมจากนวนิยาย

  • บทที่ 1
  ดูก่อนราชคฤหอันเป็นนครแห่งเบญจคีรี มีปริมณฑลงดงามตระการ อุดมด้วยนาศาลี และมหาศิงขร อันน่าเบิกบานหฤทัย เราได้แลดูครั้งนี้เป็นปัจฉิมทรรศนาการ  
พระพุทธเจ้า
  • บทที่ 2
  ถ้าจะดูโศกาดูรในหมู่สงฆ์ ก็ในการร้องขับทำเพลง ถ้าจะดูความบ้าในหมู่สงฆ์ ก็ในการเต้นรำ ถ้าจะดูความเป็นเด็กในหมู่สงฆ์ ก็ในอาการยิงฟันหัวเราะ  
พระพุทธเจ้า
  • บทที่ 3
  ที่พ่อไม่อยากนำสินค้าไปขาย เพราะหนทางไกล ไปตามทางก็มีโจรผู้รายชุกชุม เป็นที่รังเกียจอันตรายมากอยู่ แต่ทว่าถ้าได้ไปในพวกราชทูตแล้ว เป็นอันปลอดภัย  
บิดาของกามนิตมาณพ
  • บทที่ 4
  ต่อนั้นไปเหล่านางผู้มีเนตรดั่งตาทราย ก็ยักย้ายท่าทางต่าง ๆ ในเวลาโยนแย่งคลีกัน ให้เห็นเป็นขวัญตาข้าพเจ้า เป็นเวลาอยู่ช้านาน  
กามนิต
  • บทที่ 5
  ข้าพเจ้าออกจะเห็นเป็นความจริงแล้วว่า ในบ้านเราเวลานี้ ออกจะมีเกียรติยศอยู่ ที่ได้เป็นที่เกิดของอริยบุคคล เพราะสูท่านมิใช่จะบำเพ็ญตบะในการอดอาหารอย่างทรหดที่สุดแล้ว ยังเว้นจากการนอนบนที่นอนอันอ่อนนุ่มเพิ่มขึ้นด้วย จงดูหมอนและที่นอนซี ไม่มีรอยชอกช้ำแม้เล็กน้อย  
โสมทัตต์
  • บทที่ 6
  จะรับรองอย่างนี้และอย่างอื่นสักเท่าไร ดูเหมือนรับรองกับลม เพราะไม่ทำให้นางหายโศกสร้อยได้ แท้จริงความรันทดของข้าพเจ้าก็ไม่น้อยไปกว่า พอนางสะอึกสะอื้นน้อยลง ก็ถามทั้งน้ำตาว่า มีความจำเป็นที่สุดหรือจึงต้องไป  
กามนิต



ต้นฉบับภาษาไทย

กามนิต