ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระสังฆราช เจริญ สุวฑฺฒโน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัดที่ 91:
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๐''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า ครูอาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย คนรับใช้หรือผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ถ้าทิศทั้งหลายดังกล่าวไม่ดีเสียโดยมาก ก็ยากที่จะให้ใครๆที่อยู่ระหว่างกลางดีอยู่ฝ่ายเดียว}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="11"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๑''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|เมื่อมองไปเบื้องหน้า ไม่มีบิดา-มารดาเป็นที่ยึดเหนี่ยว มองไปเบื้องขวาก็ไม่พบครู-อาจารย์ที่จะอบรมแนะนำ มองไปเบื้องหลังก็ไม่พบญาติพี่น้องผู้หวังดี มองไปเบื้องซ้ายก็ไม่มีสหายที่เป็นกัลยาณมิตร มองไปเบื้องล่างก็ไม่พบผู้ที่รับใช้ให้ความช่วยเหลือ มองไปเบื้องบนก็ไม่พบสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ซึ่งจะเป็นผู้ชี้ทางที่ถูกให้ ตรงกันข้าม มองไปทางทิศไหนก็พบแต่โรงหนัง โรงละคร สถานอบายมุขต่างๆ และบุคคลต่างๆ ที่ชักนำไปทางเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นเหตุชักจูงกันไปในทางเสื่อมเสียต่างๆ แต่ถ้าทิศทั้งหลายดีอยู่โดยมากก็ยากจะเสื่อมเสียได้}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="12"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๒''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|การเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตควรทำความเข้าใจว่ามี ๒ อย่าง คือเลี้ยงร่างกาย เลี้ยงดูจิตใจ เพราะความเติบโตของเด็กทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ จะมุ่งเลี้ยงร่างกายทอดทิ้งทางจิตใจ ย่อมเป็นความบกพร่องอย่างสำคัญ ไม่ควรถือตามคำปัดว่าเลี้ยงกันได้แต่กาย ใจเลี้ยงไม่ได้ ใจที่อาจเลี้ยงไม่ได้ คือใจที่แข็งหรือเติบโตเป็นตัวของตัวเองในทางที่ถูกหรือผิดเสียแล้ว แต่จิตใจที่ยังอ่อนยังจะเติบโตต่อไป ถ้าผู้ปกครองบำรุงเลี้ยงให้อาหารใจที่ดีอยู่เสมอแล้ว ภาวะทางจิตใจของเด็กก็จะเติบโตขึ้นในทางที่ดี ทั้งนี้เกี่ยวแก่การอบรมดี ให้เด็กได้เสวนา คือซ่องเสพคบหา คุ้นเคยกับบุคคล และสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่ชอบ ถูกต้อง เมื่อเด็กได้รับการเลี้ยงดูให้มีร่างกายจิตใจเติบโตขึ้นสมดุลกันก็จะเติบโต ดีขึ้นเรื่อยๆ}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="13"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๓''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|ในการแก้ปัญหาเยาวชน บุคคลที่เป็นทิศสำคัญๆ ทุกฝ่ายของเยาชน แต่ละคนจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันตั้งตนของตนเองไว้โดยชอบ ให้เป็นทิศที่ดีตามฐานะที่เกี่ยวข้อง และอันที่จริง ไม่ใช่แต่เยาวชนเท่านั้น ทุกๆ คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อทิศต่างๆ โดยรอบตนดีอยู่ก็ย่อมจะชักนำกันไปในทางที่ดีได้ แต่มีข้อแตกต่างต่างกันอยู่ว่า สำหรับเด็กหรือเยาวชนนั้น ยังเป็นผู้เยาว์สติปัญญาจำต้องอาศัยทิศรอบตนที่ดี ซึ่งผู้ใหญ่จำต้องทำตนให้เป็นทิศของเด็ก และช่วยสร้างทิศที่ดีให้แก่เด็ก}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="14"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๔''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|คนวัยรุ่นกำลังเจริญด้วยพลัง กำลังทะยานกายทะยานใจ เหมือนน้ำตกแรง เมื่อไม่สมหวัง มักจะทำอะไรแรง จึงมักพลาดได้ง่าย และเมื่อพลาดลงไปในห้วงอะไรที่แรงๆแล้ว ก็อันตรายมาก เหมือนอย่างไปเล่นสนุกกันที่น้ำตก อาจเผลอพลาดตกลงไปกับน้ำตกที่โจนลงไปจากหน้าผาสูงชัน}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="15"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๕''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|ไม่ควรเชื่อใจตนเองเกินไป เพราะอาจไม่มีเหตุผล ถ้าใจนั้นถูกบังคับหรือท่วมทับเสียแล้ว ควรหารือกับท่านผู้สามารถให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ ทั้งเมื่อสนใจในพระธรรมอยู่ พระธรรมอาจให้เหตุผลแก่ตนได้กระจ่างพร้อมทั้งชี้ทางปฏิบัติได้ถูกต้อง}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="16"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๖''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|ผู้ที่มีความคิดน้อย ย่อมนิยมชมชื่นในปัญญาแห่งมนุษย์ในปัจจุบัน และเหยียดดูถูกบรรพชนของตนเอง แต่ผู้ที่มีวิจารณญาณย่อมพินิจนับถือบูรพชนหรือโบราณชนเป็นอย่างดี โดยฐานะที่เป็นผู้ร่วมก่อกำเนิดศิลปวิทยาและประดิษฐ์วัตถุหรือในศิลปวิทยา นั้นๆ ได้ มนุษย์อีกคนหนึ่งไม่สามารถคิดเช่นนั้นได้ เมื่อเห็นว่าเหมาะดีแล้วก็นำเอาไปใช้ศึกษาและปฏิบัติตาม กล่าวโดยเฉพาะศิลปวิทยา หมู่หรือคณะ หรือว่าบุคคลที่บรรลุความเจริญจำต้องนับถือความรู้ของกันและกัน จำต้องศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ของกันและกัน เพราะเหตุนี้ ผู้มุ่งความเจริญจึงพากันพยายามศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศตามกำลังความสามารถ เหล่านี้เป็นข้อแสดงถึงความเอาอย่างหรือความตามกันในความรู้ แม้ในทางความประพฤติก็เช่นเดียวกัน}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="17"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๗''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|คนเราทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้อง ทำต้องพูดอยู่ทุกๆ วัน เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสติ เมื่อทำอะไรพูดอะไรไปแล้วก็ระลึกได้ว่าได้ทำอะไรหรือพูดอะไรผิดหรือถูกเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อย เป็นต้น จะทำจะพูดอะไรก็มีความระลึกนึกคิดก่อนว่าดีหรือไม่ดี อย่างโบราณสอนให้นับสิบก่อน คือ ให้นึกให้รอบคอบก่อนนั่นเอง ในขณะที่กำลังทำกำลังพูดก็รู้ตัวอยู่เสมอ ไม่หลงลืมตัวไม่เผลอตัว บางคนมีปัญญาความรู้ดีแต่ขาดสติ ทำพูดอะไรผิดพลาดได้ อย่างที่พูดกันฉลาดแต่ไม่เฉลียว จึงสมควรหัดให้มี สติรอบคอบ}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="18"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๘''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|คนที่เมา ประมาทขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ อาจผิดศีลได้ทุกข้อ อาจทำชั่วทำผิดได้ทุกอย่าง และเมื่อประมาทเสียแล้วก็เป็นคนหลงอย่างเต็มที่ ไม่รู้จักเหตุผลความควรไม่ควร ไม่รู้จักดีชั่ว ผิดถูก จะพูดชี้แจงอะไรกับคนเมาหาได้ไม่ คนเมาประมาทจึงเป็นผู้ที่ควรเมตตากรุณาหรือสงสาร เหมือนคนตกน้ำที่ทิ้งตัวเองลงไปช่วยตัวเองก็ไม่ได้ หรือเหมือนดื่มยาพิษฆ่าตัวเอง}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="19"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๑๙''</sup>
|{{Gap|2em}}{{Sq|คนที่ถือกำเนิดเป็นคนนั้น ยังไม่จัดเป็นคนโดยสมบูรณ์ เพราะเหตุเพียงเกิดมามีรูปร่างเป็นคน ต่อเมื่อมีการปฏิบัติ ประกอบด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีสมกับความเป็นคน จึงเรียกว่าเป็น คนโดยธรรม เมื่อมีธรรมของคนสมบูรณ์ จึงจะเชื่อว่าเป็นคนโดยสมบูรณ์ แม้คำในหิโตประเทศก็กล่าวว่าการกิน การนอน ความกลัวและการสืบพันธ์ของคนและดิรัจฉานเสมอกัน แต่ธรรมของคนและดิรัจฉานเหล่านั้นแปลกกว่ากัน เว้นจากธรรมเสียคนก็เสมอกับดิรัจฉาน}}<div><br></div>
|-
|colspan="2" scope="col" style="background: white; border: 6px solid transparent;" align="center" | <div id="20"/>{{fs|100%|<div><br></div>[[#๐|''๑๐๐ คำสอน สมเด็จพระสังฆราช'']]}}
|-
|{{Gap|2em}}[[File:A old white plate-Cetiyas Nirvana.png|24px|link=|alt=]] <code></code><sup>''คำสอนที่ ๒๐''</sup>