ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1:
'''กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย''' เป็นนามปากาของ กรุณา กุศลาสัย เกิดเมื่อ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 เสียชีวิตเมื่อ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2009 กรุณาเป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และวัฒนธรรมอินเดีย ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลศรีบูรพา ประจำปี ค.ศ. 1995 รางวัลนราธิป ประจำปี ค.ศ. 2001 และ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
==บาลีคืออะไร มีกำเนิดมาอย่างไร<ref>กรุณา กุศลาสัย</ref> ==
 
{{คำพูด|* ปัจจุบันเมื่อเราถึงพูดภาษาบาลี เราก็เข้าใจกันว่าเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งรวมอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งสามหมวดและเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงใช้ประกาศคำสอนในระหว่างที่ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ อันที่จริงแล้ว คำว่า ปาลิ หรือ บาลี ในภาษาไทยนี้ เพิ่งจะปรากฏว่าบูรพาอาจารย์ท่านนำมาใช้ในฐานะเป็นชื่อของภาษาเมื่อประมาณ ๕๐๐ - ๖๐๐ ปีที่แล้วมานี่เอง คำว่า ปาลิ มีปรากฏการณ์ให้เห็นเป็นครั้งแรกในอรรถกถา และในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของท่านพุทธโฆษาจารย์ ผู้มีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ หรือ ๑๑ แต่นั่นก็ในความหมายว่าเป้นพุทธวจนะหรือเป็นเนื้อความเดิมในพระไตรปิฎก หาใช่ความหมายเป็นชื่อของภาษาไม่ เช่น " อิมานิ ตาว ปาลิยํ, อฏถกถายํ ปน... " แปลว่า " ที่ว่ามานี้มีในพระบาลี (พุทธวจนะ) แต่ในอรรถกถานั้น... " (จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค) และในสามัญผลสุตฺตวณฺณนา แห่งคัมภีร์สุมงฺคลวิลาสินี อันเป็นอรรถกถาของคัมภีร์ทีฆนิกาย ตอนที่วิเคราะห์ คำว่า " มหจฺจราชานุภาเวน " นั้น ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้ชี้ให้เห็นว่า คำว่า มหจฺจ นี้บางแห่งในพระไตรปิฎก เขียนว่า " มหจฺจา " ก็มี โดยท่านเขียนไว้ว่า " มหจฺจา อิติ ปิ ปาลิ " ซึ่งแปลว่า " คำนี้เขียนว่า มหจฺจา ก็มีในพระบาลี " (ปาลีในที่นี้หมายถึงเนื้อความเดิมในพระไตรปิฎก) และนับตั้งแต่ยุคของท่านพุทธโฆษาจารย์เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ ก็มีผู้ใช้คำว่า ปาลิ ในความหมายสองประการดังกล่าวมานี้ในงานวรรณกรรมต่าง ๆ ซึ่งรจนาขึ้นเป็นภาษาบาลี ในประเทศลังกา เช่น คัมภีร์ปรมฺตถทีปนี คัมภีร์จุลวงศ์ มหาวงศ์ และคัมภีร์สัทธัมมสังคห เป็นต้น ครั้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ คำว่า ปาลิ นี้ จึงนำมาใช้ในฐานะเป็นชื่อของภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งคือ พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยาน หรือเถรวาท จนแพร่หลายเป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า ย้อนหลังตั้งแต่ยุคของท่านพุทธโฆษาจารย์ขึ้นไปนั้น คำว่า ปาลิ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร จึงได้กลายมาเป็นชื่อภาษาดั่งที่เราทราบ และใช้กันอยู่เกี่ยวกับเรื่องนี้ บรรดาผู้รู้เรื่องภาษาโบราณของอินเดียต่างมีความเห็นยืดยาว และผิดแผกแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะสรุปเอาเฉพาะแต่ที่เป็นความเห็นที่ล่าที่สุด และที่มีผู้เห็นพ้องด้วยมากที่สุดในอินเดีย มาเสนอไว้ คำว่า ปาลิ นี้ไม่ปรากฏว่ามีใช้ที่ไหนเลย นอกจากในพระไตรปิฎก ได้กล่าวมาแล้วว่า คำว่า ปาลิ เริ่มมีใช้ในยุคของท่าน พุทธโฆษาจารย์ ความหมายในขั้นแรกนั้นว่า เป็นพุทธวัจนะ หรือเป็นเนื้อความเดิมในพระไตรปิฎก ก็แหละท่านพุทธโฆษาจารย์ได้คำนี้มาจากไหน โดยอาศัยหลักฐานอะไรเล่า คัมภีร์ในพระไตรปิฎก มีคำว่า ปริยาย ใช้อยู่ในที่หลายแห่ง บางแห่งก็ใช้สมาสกับคำว่า ธมฺม บางแห่งก็ใช้โดดเดี่ยว เช่น ใน พรหมชาลสุตฺต แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย มีข้อความว่า โก นาโม อยํ ภนฺเต ธมฺมปริยาโยติ (แปลว่า พระคุณเจ้า คำสอนอันว่าด้วยธรรมะนี้มีชื่อว่ากระไร) และในสามัญญผลสุตฺตแห่งคัมภีร์ทีฆนิกายเดียวกันนี้ ก็มีข้อความอีกว่า ภควตา อเนก ปริยาเยน ธมฺโม ปกาสิโต (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศพระธรรมด้วยคำสอนหลายประการ) เป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า ในสถานที่เช่นนี้ ความหมายของคำว่าปริยาย ก็คือ คำสอนของพระพุทธองค์นั่นเอง กาลเวลาล่วงมา คำว่า ปริยาย ได้กลายเป็น ปลิยาย โดย ร เปลี่ยนไปเป็น ล ซึ่งเป็นธรรมดาของการเปลี่ยนแปลงทางเสียงของภาษา ดั่งจะเห็นได้จากศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก<ref>พระเจ้าอโศกมีพระชนม์ชีพอยู่หลังจากพุทธปรินิพพาน ประมาณ ๒๗๐ ปี </ref> ที่ตำบลภาพรู (Bhabru) ซึ่งมีการใช้คำว่า ธมฺม - ปลิยาย ในความหมายว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ เช่นเดียวกัน กล่าวคือ " อิมานิ ภนฺเต ธมฺม ปลิยายานิ... เอเตน ภนฺเต ธมฺม ปลิยายานิ อิจฉานิ กิํงติ พหุเก ภิกฺขุปาเย ภิกฺขุนิเย จา อภิขินํ สุนยุ จ เหวํ เหวา อุปาสกา จ อุปาสิกา จา " แปลความว่า " พระคุณเจ้าทั้งหลาย เหล่านี้คือพระธรรมคำสอนคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ โยม (พระเจ้าอโศก -ผู้แปล) ปรารถนาจะให้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายได้ฟัง และปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้อยู่เสมอ " กาลเวลาล่วงมาอีก คำว่า ปลิยาย ได้กลายเป็น ปาลิยาย แล้วย่อลงเหลือเพียงแต่ ปาลิ ส่วน ยาย นั้นหายไป (ทั้งนี้ ตามทรรศนะของผู้รู้ในอินเดีย ซึ่งปรากฏในหนังสือ ประวัติวรรณคดีบาลี<ref>นายภรตสิงห์ อุปาธยาย กล่าวว่า มาคธีเป็นวิวัฒนาการขั้นแรกจากภาษาพระเวทมาเป็นภาษาปรากฤต</ref> ของนายภรตสิงห์ อุปาธยาย M.A. ดังกล่าวแล้ว -ผู้เขียนเรื่องนี้) ที่กล่าวมานี้คือประวัติความเป็นมาตลอดจนความหมายเดิมของคำว่า บาลี ซึ่งเมื่อตกมาถึงสมัยท่านพุทธโฆษาจารย์ ผู้มีชีวิตอยู่หลังจากพระเจ้าอโศกประมาณ ๖๐๐ หรือ ๗๐๐ กว่าปี ได้นำมาใช้ในความหมายว่าเป็น พุทธวจนะ หรือเป็นเนื้อความเดิมในพระไตรปิฎก แล้วในที่สุดก็ได้กลายเป็นวิสามานยานามของภาษาหนึ่ง ดั่งที่เราได้พิจารณากันมาแล้ว|กรุณา กุศลาสัย หนังสือภารตวิทยา}}
 
== รายการอ้างอิง ==
{{วิกิพีเดีย|กรุณา กุศลาสัย}}
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:ชาวไทย]]