ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายจากวิกิพีเดีย
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:35, 26 พฤศจิกายน 2550


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

w
w

คำกล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  • รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึง นายอภิสิทธิ์ ไว้ในหนังสือ คือความคิด คือชีวิต คือ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า

"ผมเองก็รู้จักอาจารย์อภิสิทธิ์ในฐานะเพื่อนร่วมงาน ยังจำได้จนถึงทุกวันนี้ ครั้งแรกที่เห็นอาจารย์อภิสิทธิ์ ก็เห็นในห้องประชุมวิชาการ ที่เรามีการ ถกเถียงปัญหาบ้านเมืองในแวดวงวิชาการ ปรากฏว่าผมเห็น เอ๊...เด็กหนุ่มคนนี้นะ คมคาย มีจุดยืนน่าสนใจ มีวิธีวิเคราะห์ มีความรู้ที่กว้าง

คน ๆ นี้ไม่ธรรมดา รู้สึกว่าไม่ธรรมดา ไม่ใช่ทั่ว ๆ ไป มานั่งในห้องประชุม พูดจาไม่ธรรมดา มันแหลมคม ลึก...แล้วก็กว้าง มีความรอบรู้ในตัวมาก แต่ที่ชอบที่สุดคือจุดยืน ฟังแล้วจุดยืนดี...ก็เริ่มไปกระซิบถามคนที่นั่งในห้องประชุม คน ๆ นี้เป็นใคร"

"ความโดดเด่น เป็นคนที่ปฏิภาณไว มีลำดับเหตุผลดีแล้วก็พูดเก่ง แล้วก็มีหลักการที่ไม่เอนไปเอนมาง่าย แต่ว่าไม่ปะทะซึ่งถ้าเป็นผม ผมชอบปะทะแต่เขาไม่ปะทะ ก็เป็นความเก่งความดี ผมคิดว่าถ้ามีนักการเมืองแบบนี้มาก ๆ ประเทศไทยคงดีขึ้น ก็แอบให้กำลังใจอยู่เท่านั้นเอง ถ้าหากมีนักการเมืองแบบนี้เต็มสภา ผมว่าประเทศไทยจะดีกว่านี้มาก ๆ"

  • รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยกล่าวถึง นายอภิสิทธิ์ ไว้ในหนังสือ "พิศการเมือง" [1] ความว่า

"ภาวะการนำของคุณอภิสิทธิ์เป็นแบบท้วงติง และตอบโต้(reactive) มากกว่าริเริ่มนำเสนออะไรใหม่ๆ (proactive) เพราะโดยพื้นฐานแล้ว คุณอภิสิทธิ์ ไม่ใช่คนชอบเสนออะไรที่ท้าทาย และแปลกใหม่ทางความคิด แต่ถ้ามีคนอื่นนำเสนอขึ้นมาก่อน คุณอภิสิทธิ์ จะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเป็นระบบ"

  • นายกรณ์ จาติกวณิช

นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เคยให้สัมภาษณ์ Positioning Magazine ฉบับพฤษภาคม 2550 [2]กล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ไว้ว่า

"คุณอภิสิทธิ์ เขาคิดทะลุกว่าผม ไกลกว่าผม เขามีจุดเด่นจากที่ผมรู้จัก คือมีความเป็นผู้นำที่ดีในแง่ของการเป็นนักคิดนักตัดสินใจที่เด็ดขาด เป็นนักฟังที่ดี รู้จักเลือกว่าฟังใครแล้วจะนำความคิดนั้นมาใช้หรือไม่ อย่างไร มองการณ์ไกลโดยไม่สนใจกระแสจนเกินไป ผมเองยังเอียงตามกระแสมากกว่าเขา"

"อย่างเช่นตอนที่พวกเราเสนอมาตรา 7 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ คุณอภิสิทธิ์เขามองว่าจำเป็นต้องทำขณะนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรัฐประหาร และมีอีกหลายครั้งที่เขามองเหตุการณ์ล่วงหน้า บอกกับผมและพวกเรา และมันก็เป็นตามนั้นจริงๆ"

"ส่วนจุดอ่อนที่มีภาพของ 'คนที่ไม่เคยทำงาน' เป็นภาพลบที่ไม่อาจแก้เป็นบวกได้ แต่แก้ให้ลบน้อยลงได้ เพราะความจริงก็คือคุณอภิสิทธิ์ได้พิสูจน์ ผลงานหลายๆ อย่างในพรรคมาแล้ว ผมเชื่อว่าถ้าเขาได้เป็นนายกฯ การทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้น ครม.จะสำคัญมากขึ้น ซึ่งผมว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะผมไม่เชื่อเลยว่านายกฯ ที่ดีจะต้องเก่งคนเดียว ทำคนเดียว"

  • นายแพทย์ประเวศ วะสี

นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอภิสิทธิ์[3] ว่าเป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่ และเป็นพันธุ์ที่สังคมไทยต้องการ นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจะต้องมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q.

  • I.Q. (Intelligence Quotient) = มีพลังทางปัญญา
  • E.Q. (Emotional Quotient) = มีพลัง หรือ วุฒิสภาวะทางอารมณ์
  • M.Q. (Moral Quotient) = มีพลังทางศีลธรรม

สังคมปัจจุบันมีความเชื่อมโยงและสลับซับซ้อนมาก คนที่จะทำงานการเมืองจะต้องมีปัญญาเข้าใจความซับซ้อนเหล่านี้ และต้องสามารถเรียนรู้ตลอดเวลา จึงจะทำงานได้ผล ผู้ใดจะมีปัญญาเท่าใดๆ แต่ถ้าขาดวุฒิสภาวะทางอารมณ์ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน คนที่ปราศจากศีลธรรม (M.Q.) ย่อมนำไปสู่ความล้มละลาย ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมที่ตนเกี่ยวข้อง นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการ จึงควรจะมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q.

  • นายคาริม รัสลัน นักกฎหมายอิสระ

นายคาริม รัสลัน (Karim Raslan) นักกฎหมายอิสระที่มีข้อเขียนปรากฏเป็นประจำในหนังสือพิมพ์หลายฉบับในหลายประเทศ แสดงความชื่นชมนายอภิสิทธิ์ในบทความ[4] เมื่อปี 2545 ว่านายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่ฉลาดและน่าประทับใจมากที่สุดคนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมั่นใจว่านายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำที่มีความสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่กับทั้งอาเซียน

  • ฮันนาห์ บีช ผู้สื่อข่าวนิตยสารไทม์ ประจำประเทศไทย

นิตยสารไทม์นิตยสารวิเคราะห์ข่าวรายสัปดาห์ นิตยสารที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกฉบับล่าสุด ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนของ ฮันนาห์ บีช (Hannah Beech) ผู้สื่อข่าวประจำกรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[5] ระบุถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า

"ขอเชิญท่านทำความรู้จักกับนักอุดมการณ์ผู้อาจได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในตัวเก็งที่อาจชนะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนธันวาคม"

"กล่าวได้ว่าอภิสิทธิ์มีส่วนคล้ายคลึงกับ บิล คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ มากทีเดียว ข้อแตกต่างเพียงประการเดียวเห็นจะได้แก่ การที่อภิสิทธิ์ไม่ได้เติบโตขึ้นมาในประเทศที่นิยมใช้รถเทรลเลอร์กันอย่างแพร่หลายดังเช่นคลินตัน และแม้พรรคประชาธิปัตย์ จะได้รับการสนับสนุน จากชนชั้นกลางในเมืองหลวงรวมถึงชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศ แต่อภิสิทธิ์คงต้องใช้ความพยายามอย่างสูง เพื่อชนะใจชาวชนบท แม้ว่าเขาจะเข้าใจถึงความยากลำบากของคนเหล่านั้นเป็นอย่างดีก็ตาม"

  1. อเนก เหล่าธรรมทัศน์, พิศการเมือง พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์ openbooks, พ.ศ. 2548.
  2. กรณ์ จาติกวณิช มุมใหม่ประชาธิปัตย์
  3. ๒ ปีกับรัฐมนตรี...อภิสิทธิ์
  4. Abhisit Vejjajiva - Karim Raslan, เรียกดูเมื่อ 7 พ.ย. 2550
  5. Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader? - นิตยสารไทม์