ขงจื๊อ

เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน

ขงจื๊อ นักปราชญ์ชาวจีน เกิดในช่วง 500 ปี ก่อนคริสตกาล

ขงจื๊อ

คำกล่าวจากบทคำสอนของขงจื๊อ แก้ไข

บทที่ 4 ผู้เมตตา แก้ไข

  • ย่อหน้า 17 - ยามที่ได้พานพบผู้กล้า ทรงคุณธรรม ใจข้ามันคิดอยากจะเป็นเสมอด้วยเขา ยามที่ได้พบผู้ไม่กล้าไร้คุณธรรม ข้ามาได้คิดข้ามีอะไรเหมือนกับเขาหรือไม่
  • ย่อหน้า 19 - เมื่อบิดามารดายังอยู่ ไม่สมควรท่องแดนไกล แม้นจำเป็นต้องไป สมควรบอกกล่าวอย่างยิ่ง จะช่วยลดความห่วงใยของท่านลงได้บ้าง

บทที่ 5 แก้ไข

  • ย่อหน้า 24 - พูดจาไพเราะรื่นหู กิริยาอ่อนน้อมประจบประแจง ถ่อมตนเกินไป เป็นเรื่องน่าละอาย น่าอดสู ชิงชังรังเกียจเขาทั้งที่คบกันผิวเผิน ก็เป็นเรื่องน่าละอาย น่าอดสูเช่นกัน

บทที่ 7 การส่งผ่านความรู้ แก้ไข

  • ย่อหน้า 19 - ข้าไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความรู้ในทุกเรื่อง เป็นแค่ข้ารักเรียน ศึกษาจากตำราโบราณ ทุ่มเทกับตำราโบราณ ขบคิดทำความเข้าใจมัน

บทที่ 11 ผู้ริเริ่ม แก้ไข

  • ย่อหน้า 15 - การยิงเลยเป้า หรือการยิงไม่ถึงเป้า ไม่มีใครเหนือกว่ากัน เพราะไม่เข้าเป้าทั้งคู่
  • ย่อหน้า 21 - ยามออกไปกับเพื่อน ข้าเรียนรู้อะไรบางอย่างจากพวกเขาเสมอ ข้อดีข้ารับมา ข้อด้อยข้าเอามาปรับปรุงตน

บทที่ 16 แก้ไข

  • ย่อหน้า 10 - สุภาพชนพึงใคร่ครวญ ในเก้าสิ่งนี้
  1. ยามที่มอง ให้ที่ถึงการเห็นได้ชัด
  2. ยามที่ฟัง ให้นึกถึงสิ่งที่ได้ยินให้ชัด
  3. ยามแสดงอารมณ์ ต้องให้ดูฉันท์มิตร
  4. ยามแสดงตัว ให้นึกถึงการมีมารยาทอันงาม
  5. ยามที่พูด ให้นึกถึงความสัตย์
  6. ยามทำงาน ให้นึกถึงการทำดีที่สุด
  7. ยามสงสัย ให้นึกถึงการถาม
  8. ยามโกรธ ให้นึกถึงผลที่จะตามมา
  9. ยามได้ผลประโยชน์ ให้นึกถึงความสมควร

บทที่ 17 แก้ไข

  • รักจะมีเมตตา แต่ไม่รักเรียน โง่ได้
  • รักฉลาด แต่ไม่รักเรียน ประพฤติผิดได้
  • รักซื่อสัตย์ แต่ไม่รักเรียน อาจมีภัย
  • รักจะเป็นคนตรง แต่ไม่รักเรียน อาจหุนหันพลันแล่น
  • รักจะเป็นคนกล้า แต่ไม่รักเรียน โชคอาจไม่เข้าข้าง
  • รักจะมีอำนาจ แต่ไม่รักเรียน อาจดูวางโต000[1]

คำจากแหล่งอื่น แก้ไข

  • สัญญาที่ทำไปเพราะโดนข่มขู่ สวรรค์หารับรองไม่
    • กล่าวเมื่อโดนข่มขู่ห้ามเดินทางไปช่วยเมืองเว่ย หลังจากโดนจับที่ด่านเมืองปู้

หากสบวิญญูชนจงเปิดเผย หากสบทรราชจงอำพราง

[2]

  • อย่าหวังว่าใคร ๆ ไม่รู้ว่าท่านเก่งหรือมีความสามารถ จงห่วงแต่ว่าสักวันหนึ่งเมื่อคนเขายกย่องหรือเลื่อนตำแหน่งท่าน ท่านมีความเก่งและความสามารถสมกับที่เขายกย่องหรือเลื่อนตำแหน่งหรือเปล่า

อ้างอิง แก้ไข

  1. หนังสือ คำสอนของขงจื๊อ แปลโดย โกมุที ปวัตนา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สมิต
  2. ทศ คณนาพร. ร้อยคน ร้อยคม. กรุงเทพฯ : เพชรสีน้ำเงิน, 2553.