ร้านภูฟ้า

w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ


จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ความว่า

"…..เมื่อกาลผ่านมา 10 ปี ความเปลี่ยนแปลงของประเทศมีมากขึ้นอย่างที่เราเห็นได้ชัด ๆ ที่เห็นเป็นตัวเลข อาจจะดูง่าย ๆ เช่น เรื่องเศรษฐกิจ การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การเจริญขึ้นของธุรกิจ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแหล่งปฏิบัติงานของเราจะอยู่ไกล แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งไม่ใช่เป็นผลกระทบที่ไม่ดีเสมอไป เป็นผลกระทบทั้งดีและไม่ดี จึงเป็นเหตุให้คิดว่า จะมีอะไรทำเพิ่มเติมในส่วนของเราได้ กับบุคคลในความอารักขาดูแลของเรา คือด้านของความรู้ความสามารถ การศึกษา เมื่อบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็เป็นโอกาสให้บุคคลต่าง ๆ ได้สามารถพัฒนาตัวเอง และสร้างฐานะให้ดียิ่งขึ้น บ้านเมือง เหตุการณ์เปิดโอกาสให้มีความก้าวหน้า แต่เราต้องกลับมาย้อนคิดดูว่าบุคคลในความอารักขาของเรานั้น สามารถที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปตามโอกาสที่เปิดให้หรือเปล่า ยกตัวอย่าง เช่น ตอนนี้มีการขยายทางด้านการงานขึ้นหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ อาชีพ คนของเราพร้อมหรือยังที่จะสร้างฐานะที่มั่งคง มั่งคั่งขึ้นจากโอกาสหรือตำแหน่งงานที่เปิดขึ้น หรือว่าจะกลายเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบในทางเสีย คือเสียโอกาสต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เคยอยู่อย่างสงบในหมู่บ้านของตัวเอง ทำงานไป ก๊อก ๆ แกร็ก ๆ ที่ดินต่าง ๆ อาจหลุดมือไป หรือว่าอาจจะมีคนที่เขาอยู่ในระบบที่ใหม่กว่าเข้ามาให้อิทธิพลบางประการ คนของเราพร้อมหรือยัง …..ส่วนนักเรียนอีกส่วนหนึ่งนั้น เราที่ทำงานอยู่ก็คงจะรู้จักเด็กและเห็นได้ชัด ๆ ว่าบุคคล หรือเด็กเหล่านี้ จะเป็นด้วยสติปัญญาและการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เล็กมาก็ตาม ฐานะทางเศรษฐกิจหรือว่าฐานะทางการเมืองและสังคมไม่เปิดโอกาสแน่ ๆ ให้เขาได้ไปศึกษาต่อในระดับมัธยม หรืออย่างน้อยในช่วงนี้ไม่ทันกาล ก็อยากให้อะไรกับเขา เป็นส่วนเพิ่มเติมเข้ามา แม้อาจจะเล็กน้อย แต่ก็ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเรื่องของการฝึกฝนให้กระทำอาชีพได้….."

อย่างไรก็ตาม ทรงตระหนักว่าลำพังการพัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มเดียว ไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เกิดความมั่นคง ในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนในถิ่น ทุรกันดารได้ จำเป็นต้องช่วยเหลือ ครอบครัวของเด็ก และเยาวชนในชุมชนด้วย ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษา และให้มีความพร้อม ที่จะก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของประเทศ โดยการให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพในงานอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเหล่านั้นมีงานทำ มีรายได้ที่จะจุนเจือครอบครัว สามารถหาอาหาร ที่มีคุณค่าได้เพียงพอ ต่อการบริโภคของสมาชิกในครอบครัวโดย เฉพาะลูกหลาน เพื่อให้มีสุขภาพอนามัย พร้อมที่จะศึกษา เล่าเรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของ ครอบครัวและชุมชนต่อไป ดังพระราชดำรัสความว่า

"…..ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น มีอยู่หลายด้านด้วยกัน ทั้งในด้านการทำมาหากิน ในด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษา….."2 "…..เมื่อเจ็บไข้แล้ว ที่ทางที่มีอยู่ก็ต้องขายไปเป็นค่ารักษาตัว จากคนที่เป็นชนชั้นปานกลางก็กลายเป็นคนที่ยากจนข้นแค้น เป็นคนเดือดร้อนไป คนเหล่านี้ก็ไม่มีแรงที่จะทำงาน เมื่อไม่มีแรงทำงานก็จน จนก็เหมือนกับเป็นคนขี้เกียจ มันก็เป็นลูกโซ่ไปอย่างนี้….."

"…..จะเห็นได้ว่าพยายามคิดส่งเสริมงานในด้านการงานอาชีพนั้นก็จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่สำหรับนักเรียนจริง ๆ คือเด็กที่อาจจะถือว่ายังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่ ก็ให้ความรู้ทางทฤษฎี แล้วก็ให้ได้ฝึกปฏิบัติให้รู้จักใช้ทักษะการใช้มือ ทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน แต่สำหรับเด็กที่โตขึ้น หรือว่าศิษย์เก่าหรือชาวบ้านนั้นก็มีความมุ่งหมายว่าจะให้สามารถทำงานอะไร บางอย่างที่จะเป็นเครื่องดำรงชีวิตหรือหารายได้ เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้เล่าเรียนขึ้นไปในทางสายสามัญ หรือแม้แต่สายอาชีวศึกษา ได้ขึ้นไปถึงขั้นสูง ในเรื่องของการทำมาหากินนั้น ก็อาจจะมีรายละเอียดหรือเกร็ดหลาย ๆ อย่าง แม้แต่ในเรื่องของการค้า การตลาด การสหกรณ์ เรื่องเหล่านี้ก็พยายามที่จะให้มีความรู้ แล้วก็ได้ขยายผลไปจากเด็กที่ได้รับความรู้ความชินนิสัยที่จะร่วมมือกัน หรือว่าในการประกอบอาชีพ มาเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอย่างจริงจัง….."

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริ ในการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ได้พระราชทาน ความช่วยเหลือทั้งในด้านการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาฝีมือ พระราชทานเงินทุนสำหรับการดำเนินงาน การจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิตที่จำเป็น รวมทั้งทรงช่วยหาตลาด ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นด้วย และที่สำคัญมีพระราชดำริให้ประชาชนเหล่านี้ รวมกันเป็นกลุ่มอาชีพ เพื่อให้ประชาชนร่วมมือกัน รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดทักษะในการใช้กระบวนการกลุ่ม แก้ไขปัญหาการดำเนินงาน เป็นการสร้างความเข้มแข็ง และให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

"โครงการต่าง ๆ ที่เริ่มไว้ตอนนี้ก็ไม่ใช่เฉพาะแต่นักเรียน คนในชุมชน เช่น เรื่องของการฝึกหรือพัฒนาอาชีพชุมชน ซึ่งนักเรียนที่ได้เรียนได้ฝึกแล้ว ก็น่าจะได้รวมกลุ่มหรือคณะศิษย์เก่า ก็อาจจะเป็นการประกอบอาชีพต่อไป เพราะในขณะนี้คนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปก็มีหลายคน แม้แต่ที่จบการศึกษาระดับสูง ระดับอาชีวะหรือระดับปริญญาเสียด้วยซ้ำไป ในช่วงนี้ที่จะเข้างานสำนักงานก็อาจจะทำได้โดยยาก ก็มีทางหนึ่งที่จะต้องทำงานอิสระประกอบอาชีพ ครั้นประกอบอาชีพอิสระแต่เพียงลำพังตัวคนเดียว ก็อาจจะไม่มีทุนรอนที่จะทำได้ ต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้นในหมู่บ้าน ในชุมชนก็อาจจะเข้าร่วมได้ในเรื่องนี้"

นอกจากนี้ยังทรงเน้นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการประกอบอาชีพนอกเหนือจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น คือ ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในตนเอง และความมั่นคงในชีวิตต่อไป

ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ เพิ่มขึ้นมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชประสงค์ ที่จะขยายการช่วยเหลือ ครอบครัวของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ให้มีโอกาสในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ หรือเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอาชีพที่จัดตั้งอยู่แล้ว ให้มากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว อันจะช่วยแก้ไขและบรรเทา ความรุนแรงของปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ ที่ครอบครัวของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ประสบอยู่ ซึ่งจะส่งความสามารถในการเรียนรู้ ได้อย่างเต็มศักยภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ และเป็นคนที่มีคุณภาพ ของชุมชนและประเทศชาติต่อไป ดังพระราชดำรัสความว่า

"…..เราต้องการให้ทุกคนมีความมั่นคง มีความสุข อยู่ดีกินดี มีโอกาสในชีวิตที่จะได้รับความรู้ แล้วก็ฝึกฝนความสามารถ สามารถที่จะสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองได้เท่าเทียมกันทุกคน….."

พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโครงการร้านภูฟ้า เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆของโครงการ โดยใช้ตราสัญลักษณ์ "ภูฟ้า" เป็นเครื่องหมายการค้า และพระราชทานคำแนะนำในด้านการผลิต โดยเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ว่าต้องสวยงามและประณีต