ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์

ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต

คำคม แก้ไข

๑. ๏ ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิศฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ ๚ะ

๒.๏ อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ๚ะ

(กรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว แต่กลับลอยลงมาจากสวรรค์อีกหรืออย่างไร มีปราสาทพระราชวังอันงดงามตระการตา ด้วยบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ช่วยทนุบำรุงพระศาสนาให้รุ่งเรือง ปัดเป่าทุกข์ให้แก่ไพร่ฟ้าชาวประชา)

นักวรรณคดีมักเปรียบเทียบโคลงบทนี้ กับโคลงดั้นจากโคลงกำสรวล ซึ่งขึ้นบาทแรกด้วยสำนวนคล้ายกัน ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบทชมพระนครเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้แต่งอาจชื่นชมโคลงจากโคลงกำสรวล ซึ่งชื่นชมพระนครเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง

๑. ๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม ๚ะ
๗. ๏ อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน
ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า
แสนโกฎบยลยิน หยากเยื่อ
ไตรรัตนเรืองรุ่งหล้า หลากสรรค ๚ะ
(โคลงกำสรวล)

นอกจากนี้ในโคลงหมายเลข ๒๒. ยังถือเป็นแม่แบบของโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งด้วย

๒๒. ๏ จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ๚ะ

ด้วยโคลงบทนี้ใช้คำเอก 7 โท 4 และที่เหลือเป็นคำสุภาพทั้งหมด จึงใช้เป็นแม่แบบสำหรับการแต่งโคลงสี่สุภาพได้เป็นอย่างดี

ในตอนท้ายๆ ผู้แต่งยังได้เอ่ยถึงวรรณคดีรุ่นเก่าอีกสองเรื่อง คือ กำสรวลศรีปราชญ์ และทวาทศมาส ซึ่งเป็นนิราศคำโคลงเช่นเดียวกัน

๑๒๔. ๏ กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม ๚ะ

โคลงบทสุดท้าย (๑๔๔) ผู้แต่งได้ระบุชื่อตนเอาไว้ด้วย ดังนี้

๑๔๔. ๏ โคลงเรื่องนิราศนี้ นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิล ว่าไว้
บทใดปราชญ์ปวงฉิน เชิญเปลี่ยน แปลงพ่อ
ปรุงเปรียบเสาวคนธ์ไล้ เลือกลิ้มดมดู ๚ะ
๑๔๕. ๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม ๚ะ
๑๔๖. ๏ อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ๚ะ
๑๔๗. ๏ อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน
ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า
แสนโกฎบยลยิน หยากเยื่อ
ไตรรัตนเรืองรุ่งหล้า หลากสรรค ๚ะ

ด้วยโคลงบทนี้ใช้คำเอก 7 โท 4 และที่เหลือเป็นคำสุภาพทั้งหมด จึงใช้เป็นแม่แบบสำหรับการแต่งโคลงสี่สุภาพได้เป็นอย่างดี

๑๔๘. ๏ ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิศฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ ๚ะ

นักวรรณคดีมักเปรียบเทียบโคลงบทนี้ กับโคลงดั้นจากโคลงกำสรวล ซึ่งขึ้นบาทแรกด้วยสำนวนคล้ายกัน ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบทชมพระนครเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้แต่งอาจชื่นชมโคลงจากโคลงกำสรวล ซึ่งชื่นชมพระนครเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข

วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ