สมัคร สุนทรเวช

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

คำกล่าว แก้ไข

พ.ศ. 2520 แก้ไข

  • การเผาคนตายกันกลางถนนนั้น ไม่ใช่ลักษณะของคนไทย
  • เหตุที่วิกฤตการณ์เกิดขึ้นแปลกมาก มีการทุบตีคนให้ตายแล้วเอามาแขวนคอ ชักชวนให้เอาไม้ไปตี เอาเก้าอี้ไปตี แล้วเอาคนที่ถูกแขวนคอจนตายนั้นเอามาวาง มีการเอายางรถยนต์วางแล้วเอาศพวางแล้วเอายางรถยนต์วางทับ เอาน้ำมันราดแล้วจุดไฟเผาทั้ง 4 ศพ
  • ทุกอย่างนั้นเป็นเรื่องจริงเกิดขึ้นกลางถนน กลางสนามหลวง กลางถนนราชดำเนิน ไม่มีใครปฏิเสธเรื่องนี้ได้ แต่ผลการสอบสวนในภายหลังนั้นก็สามารถจะปะติดปะต่อได้
  • การที่มีการเผาคนตายไป 4 คนนั้นเป็นการเผาคนซึ่งต้องการทำลายหลักฐาน ไม่ให้รู้ว่าเป็นคนชาติใด เพราะเหตุว่าหลักฐานในกองที่ไหม้นั้น มีรูปโฮจิมินห์เล็ก ๆ ซึ่งเผาไปไม่หมด
  • เราสอบไปในภายหลังในธรรมศาสตร์ซึ่งไม่ได้...หนักหนานั้น มีหมาซึ่งถูกฆ่าตายแล้วย่าง หมาตุ๋น หมาสตูว์ เอาอ่างมีตะแกรง หมากรอบทั้งตัวมีมีดเสียบอยู่หลายตัว
  • ผมเองซึ่งในขณะนั้นไม่ได้มีตำแหน่งอะไรอยู่ แต่ได้เข้าไปดูเองและไปดูหลักฐานที่โรงพักชนะสงคราม
  • เราวิเคราะห์ได้ในเวลาต่อมาว่า มีชาติอื่นคือชาติเวียดนามนั้นจำนวนไม่ทราบได้แน่นอน เข้าไปเกี่ยวข้องในกรณีธรรมศาสตร์ แล้วเข้าใจว่าเป็นคนเวียดนามเองที่ถูกฆ่าตาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการชันสูตรและกลายเป็นคนชาติอื่น ซึ่งจะกระทบกระเทือนถึงทางการนั้น คนที่เกี่ยวข้องได้จัดการเผาคนทั้ง 4 เสีย
  • เขาเรียกวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่มิใช่วิสัยคนไทย ทำการเผาคนกลางถนนนั้นไม่ใช่วิสัยของคนไทย...[1][2]

พ.ศ. 2535 แก้ไข

  • ผมถาม.. ไปอยู่ในที่เกิดเหตุทำไม ถ้านอนอยู่ที่บ้านจะตายไหม
  • เห็นมีแต่พูด ๆ กัน ถ้ามีคนตายมากมายจริง ไหนเอาศพมากองให้ดูซิ..

พ.ศ. 2549 แก้ไข

  • 6 ตุลา มีคนตายคนเดียว ไอ้คนนั้นเป็นญวน ผูกคอตายใต้ต้นมะขาม
  • คน ๆ นี้ไม่ใช่พระครับ เชื่อผม

พ.ศ. 2550 แก้ไข

  • จะฆ่ากันเพราะคำว่า นอมินี ที่ผ่านมาผมไปออกทีวี เขาถามว่าคุณสมัคร จะเป็นนอมินีให้ทักษิณ ผมบอกว่านอมินีมันเป็นอย่างไร ทั้งที่คำว่านอมินีมีความหมายที่เป็นคุณต่อบ้านเมืองนี้ เพราะนอมินีนี่แหละที่ทำให้เศรษฐกิจบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามาทุกวันนี้ บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่มาลงทุนเมื่อ 40 ปีก่อน ถือหุ้น 25% นอกนั้นคนไทยถือ ตระกูลใหญ่โตมโหฬาร ใครเป็นประธานมูลนิธิที่ชื่อโตโยต้า นิสสัน ฮอนด้า ธุรกิจการค้าถ้าไม่มีนอมินีแล้วใครจะมาลงทุน ฉะนั้น ผมตอบคำถามตรงนี้ว่า ผมจะเป็นนอมินีให้นายกฯ ทักษิณ... ผมจะทำพรรคการเมืองนี้ให้แข็งแรงเพื่อจะเอาประชาธิปไตยกลับมาให้บ้านเมืองนี้[3]
  • ผมขอถามหน่อยว่าพรรคพลังประชาชนมันเลวกันยังไง เลวเพราะว่ามาจากพรรคไทยรักไทยหรือ แล้วนายสมศักดิ์ (เทพสุทิน) นายสุรเกียรติ์ (เสถียรไทย) นายสุวัจน์ (ลิปตพัลลภ) ที่ออกไปตั้งกลุ่มก็มาจากพรรคไทยรักไทยทั้งนั้น ทำไมไม่เห็นไปด่าบ้าง หรือว่าผมมันไม่หล่อ ไม่เอ๊าะ ๆ ต้องอายุ 40 กว่าเท่านั้นหรือถึงจะชอบ ทำไมถึงรังเกียจพรรคพลังประชาชน
  • ผมมองว่าทำไมข้าราชการระดับสูงถึงทำเรื่องเลวทรามเช่นนี้ เมื่อปฏิวัติแล้วเอาผิดเขาไม่ได้ ก็ใช้วิธีตามล้างตามเช็ด ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ทำเลวทรามกับบ้านเมืองด้วยการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เห็นได้ชัดว่าเป็นการคิดสกปรก เล่นการเมืองทางลัด ผมอ่านเอกสารดูแล้ว เห็นชัดว่าต้องเป็นคนใจคอสกปรกถึงทำเอกสารเช่นนี้ได้[4]
  • เมื่อคืนคุณร่วมเมถุนกับใครหรือเปล่า.
  • นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี แค่ประชาชนเลือกก็เป็นได้แล้ว[5][6]

พ.ศ. 2551 แก้ไข

  • ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับเรื่องนี้ สำหรับผม ไม่เห็นมีใครตาย เว้นแต่คนโชคร้ายคนหนึ่งที่ถูกเผาแล้วเผาอีกที่สนามหลวง ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเลย ผมไม่ได้ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้นแม้แต่น้อย[7]
  • เหตุการณ์ 6 ตุลา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่บันทึกไว้ ว่า จะเอาเรื่องนี้อีกแล้วหรอ โอ..โห ลองนับดูสิ กี่ปี 31 ปี แล้วคุณกี่ขวบ ผมไม่อยากนั่นหรอก พูดทีไรก็ทะเลาะเบาะแว้งมีเรื่องกัน วันก่อนสำนักข่าวอัลจาซีเราะห์เป็นผู้หญิงสวยมาคุย คุยกันดี ดันมาตั้งข้อหากับผม ก็เลยต้องพูดจากันไม่ค่อยดี ต้องเอาใหม่เปลี่ยนเทปใหม่ ต้องคุยใหม่ เพราะตอนนั้นเขายังไม่เกิด แล้วมานั่งกล่าวหาผม ผมก็พูดตามที่รู้ คุณเอาประวัติศาสตร์นั้นใครเขียน ผมไม่รู้ แต่ผมพูดที่ผมรู้ และผมยังมีชีวิตอยู่ คนที่เขาเกี่ยวข้องเขายังอยู่ ......ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้องไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก[8]
  • ผมไม่เคยเห็นใครเลวทรามต่ำช้าได้เท่าไอ้คนพวกนี้ ไม่เคยเห็นอะไรที่ทุเรศเช่นนี้เลย นายกรัฐมนตรีเข้าห้องน้ำ ก็มายืนไม่ให้ออก ไม่รู้สมาคมอบรมกันมายังไง บรรณาธิการเขาอบรมสั่งสอนกันมาแบบนี้หรือ มันทุเรศ น่าอายไหม ผมจะเป็นส่วนตัวไม่ได้เลยหรือ รึจะเปิดประตูเข้าไปถ่ายผมข้างในขณะถ่ายเลย ดูเอาเถอะสถานีโทรทัศน์เมืองไทยมันเป็นยังไง ต้องไปให้หมอดูว่าจะบ้าหรือเปล่า มันผิดปกติมนุษยชน ผมนั่งอยู่ข้างในมันก็สิทธิ์ของผม ผมนั่งเล่นอยู่ข้างในนั้นหละจะทำไม อะไรนายกรัฐมนตรีจะเดินตลาด จะเข้าห้องน้ำ ก็ตามถ่ายกันอยู่ได้ จะบ้าหรือเปล่า.......พูดกันบ้างซิ ว่ามันทุเรศไหม เอ้าไหนลองพูดกันมาซิ........มันทุเรศไหมสถานีโทรทัศน์เมืองไทย ผมนั่งกระดิกเท้าอยู่ข้างในนั้นแหละ ดูซิว่าจะตามเข้าไปถ่ายกันถึงข้างในไหม..........อ้าวเจ้าของสถานี บรรณาธิการลองดูซิว่ามันน่าอายไหม ทีผมพูดปาฐกถาเรื่องภาษาไทย 2 ชั่วโมง กลับไม่ออกอากาศ ทีนายกรัฐมนตรีเข้าห้องน้ำตามมาถ่ายกัน หน้าด้านไหมแบบนี้[9]
  • ...บอกว่ามือสมัครเล่น...นี่แหละครับสมัครจริง...
  • สื่อน่ะเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งบ้านทั้งเมือง และผู้คนก็กลัวเกรงสื่อกันไปหมด ผมยืนยันว่าแม้แต่คนกวาดตลาด ก็ไม่กล้ามีเรื่องกับสื่อ ผมเคยถามว่าแล้วเป็นอย่างไร คุณดังขนาดไหนอย่างไร กลัวไม่กล้า โอ๊ย อย่าเลยครับ เดี๋ยวผมเป็นข่าวหนังสือพิมพ์ คนกวาดตลาดยังกลัวเลยครับ เขาก็คาดการณ์กันว่านายกรัฐมนตรีต้องกลัวด้วย ผมไม่เหตุผลละครับ ผมจะเล่าให้ฟัง สมัยผมหนุ่ม ๆ ผมเป็นประธานปาฐกถาโต้วาที ที่ปรึกษาผมเป็นประธานจริง คืออาจารย์จินตนา  ยศสุนทร ผมเป็นโต้วาที  3 ปี ติดต่อกัน ปี 2504 2505 2506 ผมทำหน้าที่ของผมเรียบร้อยนะครับ แต่ว่าที่จะเล่าให้ฟังคือว่า โต้กันไปไอ้โน่นไม่ดี บ้านนอกดีกว่าในกรุง ดีกว่า ๆ จนเบื่อ ผมก็ตั้งญัตติใหม่ ญัตติมาทันสมัยครับ แล้วมีคนถิเถียงกัน เช่นว่า โต้วาทีเรื่องความสวยเป็นภัย จริงไหมจริง ความสวยเป็นภัย เถียงกันสนุกเลยครับ ความสวยเป็นภัย ต่อมาผมก็ตั้งความกลัวทำให้เสื่อม
  • นี่ละครับวันนี้ที่จะต้องพูดกันวันนี้ละครับ เรื่องของความกลัวนี่ละครับที่ทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหาย ความกลัวทำให้เสื่อม ความกลัวทำให้เสียหาย ผมจะถามสิครับว่าคนหยิบมือหนึ่ง ไปยึดสนามบินภูเก็ต อาวุธไม่มี ยึดสนามบินภูเก็ต ไปนอนขวางรันเวย์ ผมจะถามว่าแล้ว รปภ. จ้างไว้ทำไมครับ รปภ.ที่ป้องกันสนามบิน ไม่มีผู้ก่อการร้าย ไม่มีอาวุธ ไม่มีปืนเลย มีแต่คนพวกนี้เขาบอกเขาอหิงสา ไม่มีอาวุธอะไรต่าง ๆ แล้วปล่อยคนพวกนี้ไปปิดสนามบินภูเก็ต ปิดสนามบินหาดใหญ่ มันไหวไหมครับอย่างนี้ นี่ละครับคำตอบของความกลัวทำให้เสื่อม เสื่อมเสีย ๆ ครับ เครื่องบินลงไม่ได้ 16 เที่ยว นักท่องเที่ยว กระจายไปทั่วโลกหมดเลยครับ

คำกลอน แก้ไข

ถึงเหวินจะเป็นแมวแถวถนน แต่ทุกคนรักเจ้าเฝ้าถามหา
ให้กินข้าวเช้าเย็นเป็นเวลา อยู่กันมาผูกพันนานหลายปี
เมื่อยามเจ้ายังสบายได้เชยชม เจ้าป่วยไข้ทรุดโทรมไม่สุขี
รักษาเจ้ารอดตายได้ทุกที มาครั้งนี้โรครุมหนักจำจากไป
ถึงเป็นแมวก็แมวดีกว่าที่เห็น เคยล้อเล่นอุ้มชูรู้นิสัย
แม้จากกันเจ้ายังอยู่คู่หัวใจ รักแมวไหนไม่เกินเจ้าเหวินเอย
  • ก่อนสมัคร สุนทรเวช เสียชีวิต
เสมือนสวมพระเครื่องอันเรื่องเวทย์ ประนมเดชมอบดวงใจให้ทุกสิ่ง
แต่องค์พระกลับล้วงเข้าช่วงชิง  จนได้รู้ความจริงอันเจ็บใจ
สิ่งที่สูงกลับต่ำนั้นตำเนตร ใจสมัคร สุนทรเวชจึงหมองไหม้
เฝ้าจงรักภักดีมิรู้คลาย ขอกัดฟันลาตายไม่ถวายพระพร

คำกล่าวไว้อาลัยนายสมัคร แก้ไข

  • ผมและครอบครัวขอแสดง ความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ ฯพณฯ สมัคร สุนทรเวชมา ณ ที่นี้ด้วยครับและไม่สามารถไปร่วมงานด้วยตัวเอง
    • พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
  • ยกย่องนายสมัคร เป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และเสียใจต่อการสูญเสียครั้งนี้
    • นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
  • เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้ทำงานร่วมกับนายสมัคร แม้ไม่นาน
    • นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
  • ขอแสดงความเสียใจต่อสุภาพบุรุษทางการเมืองผู้มีสัจจะต่อเพื่อน มีมิตรแท้และศัตรูถาวรทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ
    • หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

อ้างอิง แก้ไข

  1. จาก หนังสือ "โหงว นั้ง ปัง" (Gang of Five) เขียนโดย วีระ มุสิกพงศ์ และศิระ ถิรพัฒน์ หน้า 155-156, ถอดจากเทปบันทึกเสียงปาฐกถาของนายสมัคร สุนทรเวช เรื่อง "คนที่ถูกเผาที่ธรรมศาสตร์เป็นคนญวน" ให้กับนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2520
  2. บทวิเคราะห์ย้อนรอย: เหตุการณ์ฆ่านักศึกษาประชาชน ๖ ตุลา ๑๙, การเมืองไทยจาก ๑๔ - ๖ ตุลาฯ: สองชาตินิยมชนกัน, รองศาสตราจารย์ ดร. เกษียร เตชะพีระ : เขียน
  3. ไทยโพสต์ 26 ส.ค. 2550
  4. ไทยโพสต์ 9 พ.ย. 2550
  5. แนวหน้า 1 ธ.ค. 2550
  6. มติชน 29 พ.ย. 2550
  7. มติชน 9 ก.พ. 2551
  8. ผู้จัดการ 12 ก.พ. 2551
  9. ผู้จัดการ 3 สิงหาคม 2551