หาน เฟยจื่อ (อังกฤษ: Han Fei Tzu; จีน: 韩非子; พินอิน: Hán Fēi Zǐ; เวด-ไจลส์: Han Fei) (ca. 280-233 BC) เป็นเชื้อพระวงศ์ของรัฐหาน เป็นคนติดอ่างพูดไม่เก่ง แต่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนหนังสือ หานเฟยเป็นนักปรัชญาชาวจีนสายนิตินิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุครณรัฐยุคจ้านกว๋อ (战国)(475-221BC) หานเฟยเป็นนักปรัชญาในสำนักหลักปรัชญานิตินิยม(法家) เป็นศิษย์ของสวินจื่อ(荀子)หรือเรียกอีกชื่อว่านักปรัชญาหยู(儒家) ต่อมาได้เสนอหลักการปกครองโดยใช้หลักนิติธรรม ให้ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมาย และตั้งโรงเรียนนิติธรรมขึ้น หานเฟยได้เรียบเรียงแนวคิดการปกครองของตนเป็นข้อเขียนขึ้นมาทั้งสิ้น 55 บท มีชื่อว่า "หานเฟยจื่อ"เพื่อให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาสังคมการเมืองในยุคนั้น ทว่างานเขียนเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจในรัฐหานเท่าใดนัก แต่กลับเป็นที่นิยมในรัฐฉินหรือจิ๋น (秦) ซึ่งเป็นรัฐที่เข้มแข็งเกรียงไกรในสมัยนั้น และเมื่อตอนเจ้านครรัฐฉิน (ก่อนจะเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้) ได้ยกทัพไปบุกรัฐหาน เจ้านครรัฐหานจึงจัดส่งหานเฟยจื่อไปเป็นทูตพิเศษไปรัฐฉินเพื่อแสวงหาสันติภาพ เจ้านครรัฐฉินก็ถูกใจในความคิดของหานเฟยจื่อเป็นอย่างมาก จึงเทียบเชิญหานเฟยจื่อ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่รัฐฉิน แต่หลีซือ (李斯) เป็นศิษย์ของสวินจื่อและเป็นศิษย์รุ่นน้องของหานเฟยจื่อ ณ เวลานั้นก็ดำรงตำแหน่งเสนาบดีอยู่ที่รัฐฉิน ทราบถึงความปรีชาสามารถของหานเฟยจื่อซึ่งสูงส่งกว่าตน ด้วยความอิจฉาริษยา จึงได้ทูลข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีหานเฟยจื่อต่อเจ้านครฉิน ทำให้หานเฟยจื่อต้องติดคุกและถูกฆ่าตายด้วยการวางยาพิษในอาหาร (234BC)

คำสอน

แก้ไข
  ปรัชญาการปกครองของฮั่นเฟยจื่อ


1. ความสำคัญของกฎหมาย : ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ มีบทลงโทษอย่างจริงจังและเคร่งครัด

? เมื่อมีการออกกฎหมายแล้วต้องกระจายข่าวให้ประชาชนได้รับทราบโดยถ้วนหน้า

? ตรวจสอบเสนาบดีว่า ทำตามสัญญาที่ให้ไว้หรือไม่ ถ้าไม่ ก็ต้องมีการลงโทษ และถ้าใครทำเกินกว่าที่พูดไว้ ก็ให้นำตัวไปลงโทษเช่นกัน เพราะแสดงว่าเป็นผู้ที่ประเมินสถานการณ์ไม่ชัด ขาดความน่าเชื่อถือ

2. ศาสตร์ในการปกครอง ? ฮ่องเต้ควรวางตัวให้เป็นกลาง และเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมาย

? ไม่ควรหูเบา : อย่าเชื่อเหล่าเสนาบดี เพราะอาจทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง

? ไม่ควรไปเข้าพันธมิตรกับรัฐที่ใหญ่กว่าหรือเล็กกว่า เพราะ : ถ้าเข้าร่วมกับรัฐเล็กกว่า

? รัฐเราจะมีความเสี่ยงมาก เพราะถ้ารัฐเล็กนั้นอ่อนแอมาก แล้วถูกโจมตีรัฐ เราจะช่วยได้รึเปล่า และมองมุมกลับ ถ้ารัฐเราถูกโจมตี รัฐเล็กจะช่วยเราได้มากน้อยแค่ไหน หรืออาจเข้าร่วมกับศัตรูโจมตีเราก็เป็นได้: ถ้าเข้าร่วมกับรัฐใหญ่กว่า

? เราต้องเสียตราประทับให้แก่รัฐใหญ่ ทำให้เราเสียชื่อเสียงเสียเกียรติ

? เราต้องเสียทรัพย์สินเพราะต้องนำไปถวายต่อรัฐใหญ่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐใหญ่จะคุ้มกันเราได้มากน้อยแค่ไหน

3. อำนาจของกฎหมาย : ไม่เลือกปฏิบัติ , ใช้กฎหมายตัดสินทุกปัญหา

? นักปกครองต้องมองความจริงตรงตามความจริง

? สูงสุดของอำนาจ คือ การมองสิ่งต่าง ๆ นอกกรอบด้วยจิตที่แนบนิ่ง มองทุกอย่างด้วยสายตาอันยุติธรรม