อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน-อเมริกัน

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (14 มีนาคม ค.ศ. 1879 - 18 เมษายน ค.ศ. 1955) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพอันเลื่องลือ

ผมเตือนตัวเองเป็นร้อย ๆ ครั้งทุกวันว่าชีวิตภายในและภายนอกของผมขึ้นอยู่กับแรงงานของคนอื่น ทั้งคนเป็นและคนตาย และผมต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะให้ได้ในระดับเดียวกันกับที่ผมได้รับและยังคงได้รับอยู่

คำพูด แก้ไข

  จินตนาการสำคัญกว่าความรู้  
  การเมืองนั้นแสนสั้น แต่สมการคงอยู่ชั่วนิรันดร์  
  หากข้อเท็จจริงไม่เหมาะกับทฤษฎี จงเปลี่ยนข้อเท็จจริงนั้นเสีย  
  อย่าเป็นคนที่มุ่งหวังเพียงความสำเร็จ แต่จงมุ่งหวังความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า  
  ความกลัวความตายเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผลที่สุดของมนุษย์  
  มีเพียงชีวิตเพื่อผู้อื่นเท่านั้น ที่มีคุณค่าแก่การมีชีวิต  
  ไม่สามารถรักษาสันติได้ด้วยกำลัง หากแต่ด้วยความเข้าใจ  
  ความประสบความสำเร็จในชีวิตเท่ากับ A ดังนั้น A = x + y + z เมื่อ x เท่ากับงาน y เท่ากับเที่ยวเล่น และ z เท่ากับหุบปากสนิท  
  ข้าพเจ้าไม่อาจทราบได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 ใช้อะไรสู้กัน แต่สงครามโลกครั้งที่ 4 จะต่อสู้กันด้วยท่อนไม้และก้อนหิน  
  สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือ อย่าได้หยุดตั้งคำถาม ความกระหายใฝ่เรียนรู้นั้นมีเหตุผลในตัวมันเองที่จะต้องดำรงอยู่ ช่วยไม่ได้เลยที่เราจะรู้สึกครั่นคร้ามเมื่อได้ครุ่นคิดถึงความลึกลับแห่งนิจนิรันดร์ชีวิต และลักษณะอันน่าพิศวงของสัจจะ แค่เพียงได้คิดคำนึงถึงความลึกลับเหล่านี้วันละนิดก็เพียงพอแล้ว จงอย่าได้สูญเสียความกระหายใฝ่รู้อันศักดิ์สิทธิ์นี้  
  สมการมีความสำคัญต่อข้าพเจ้ามากกว่า เพราะการเมืองเป็นเรื่องสำหรับปัจจุบันกาล แต่สมการเป็นบางสิ่งบางอย่างสำหรับนิรันดร์กาล  
  มีไม่กี่คนหรอกที่เห็นด้วยตา และรู้สึกด้วยหัวใจของตนเอง  
  พระเจ้ามิได้ทรงเล่นลูกเต๋ากับเอกภพเป็นแน่  
  E = mc²  
  กลศาสตร์ควอนตัมนั้นน่าอัศจรรย์ แต่เสียงในหัวใจของฉันบอกว่ามันยังไม่ใช่ความจริง ทฤษฎีบอกอะไรได้มากมาย แต่มันยังไม่พาเราเข้าใกล้ความลับของพระเจ้า ฉันคิดว่า พระเจ้าไม่ได้ทอยลูกเต๋าหรอก  
จดหมายถึง Max Born เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1926
  1 ชั่วโมงที่ชายหนุ่มนั่งเคียงหญิงสาวผ่านไปไวราวกับ 1 นาที แต่ 1 นาทีที่เขานั่งบนเตาที่ร้อน ผ่านไปราวกับ 1 ชั่วโมง นี่คือสัมพัทธภาพ[1]  
  เชาว์ปัญญาทำให้เรามีความกระจ่างชัดในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของวิธีการกับเป้าหมาย แต่ลำพังการคิดหาเหตุผลนั้นมิอาจทำให้เรามีความรู้สึกเกี่ยวกับเป้าหมายพื้นฐานและเป้าหมายสุดท้ายได้ การทำความกระจ่างชัดเกี่ยวกับเป้าหมายพื้นฐานเหล่านี้ และการประเมินค่าก็ดี, ทั้งการทำให้เป้าหมายพื้นฐานเหล่านี้แน่นเหนียวในชีวิตทางอารมย์ความรู้สึกของปัจเจกบุคคลก็ดี สำหรับข้าพเจ้าแล้วดูเหมือนเป็นที่แน่นอนว่าหน้าที่สำคัญที่สุด ซึ่งศาสนาต้องแสดงบทบาทในชีวิตทางสังคมของมนุษย์[2]  

อ้างอิง แก้ไข

  1. Steve Mirsky Scientific American (September 2002). Vol. 287, Iss. 3; pg. 102.
  2. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, วิทยาศาสตร์, ปรัชญา และศาสนา : ประชุมเอกสารัตถ์ (1941) บทที่ 13, พิมพ์เผยแพร่โดยการประชุมว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศาสนาในความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย, อิงค์., นิวยอร์ค, 1941.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข