เติ้ง เสี่ยวผิง

อดีตผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน

เติ้ง เสี่ยวผิง (จีน: 邓小平; พินอิน: Dèng Xiǎopíng; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1904 – 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997) เป็นนักปฏิวัติและรัฐบุรุษชาวจีน เขาดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1978 ถึง 1989 ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตงใน ค.ศ. 1976 เติ้งได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจและนำพาประเทศจีนผ่านยุคสมัยของการปฏิรูปและเปิดประเทศ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนให้เป็นเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็น “สถาปนิกแห่งจีนสมัยใหม่” จากการพัฒนาสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

เราถือว่าทุกประเทศไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก รวยหรือจน ควรจะเท่าเทียมกัน และกิจการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศควรได้รับการจัดการร่วมกันโดยทุกประเทศทั่วโลก แทนที่จะถูกผูกขาดโดยมหาอำนาจหนึ่งหรือสองมหาอำนาจ
ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี

คำคม

แก้ไข
  • ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี
    • ดังที่กล่าวไว้ใน Hung Li China's Political Situation and the Power Struggle in Peking (ค.ศ. 1977) หน้า 107; ตาม Chambers Dictionary of Quotations (ค.ศ. 1993) หน้า 315 คำพูดดังกล่าวมาจากคำปราศรัยในการประชุมสันนิบาตยุวชนคอมมิวนิสต์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1962
  • สหรัฐอเมริกาอวดอ้างระบบการเมืองของตน แต่ประธานาธิบดี [อเมริกัน] กลับพูดอย่างหนึ่งในระหว่างการเลือกตั้ง พูดอีกอย่างหนึ่งเมื่อเขาเข้ารับตำแหน่ง พูดอีกอย่างหนึ่งในช่วงกลางเทอม และพูดอีกอย่างหนึ่งเมื่อเขาออกจากตำแหน่ง
    • เมื่อถูกถามถึงเสถียรภาพทางการเมืองของจีนโดยกลุ่มศาสตราจารย์ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1983 ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Pacific Rim and the Western World: Strategic, Economic, and Cultural Perspectives (ค.ศ. 1987) หน้า 105
  • ไม่มีความขัดแย้งพื้นฐานระหว่างสังคมนิยมกับเศรษฐกิจแบบตลาด
    • ดังที่กล่าวไว้ใน Daily report: People's Republic of China, Editions 240-249 (ค.ศ. 1993), หน้า 30
    • อีกรูปแบบ: ไม่มีข้อขัดแย้งพื้นฐานระหว่างระบบสังคมนิยมกับเศรษฐกิจตลาด
      • สัมภาษณ์ Time 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985
  • เมื่อนักเรียนชาวจีนจำนวนหลายพันคนในต่างประเทศกลับบ้าน คุณจะเห็นว่าประเทศจีนจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร
    • ดังที่กล่าวไว้ใน Forbes, Vol. 176, Editions 7-13 (ค.ศ. 2005), หน้า 79
  • เราไม่ควรกลัวที่จะนำเอาแนวทางการบริหารจัดการขั้นสูงที่ใช้ในประเทศทุนนิยมมาใช้ (...) แก่นแท้ของสังคมนิยมก็คือการปลดปล่อยและการพัฒนาของระบบการผลิต (...) สังคมนิยมและเศรษฐกิจตลาดไม่ใช่สิ่งที่เข้ากันไม่ได้ (...) เราควรคำนึงถึงความเบี่ยงเบนของฝ่ายขวา แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องคำนึงถึงความเบี่ยงเบนของฝ่ายซ้ายด้วย
    • กล่าวโดย António Caeiro ใน Pela China Dentro (แปล), Dom Quixote, Lisboa, ค.ศ. 2004 ISBN 972-20-2696-8
  • หากคุณเปิดหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ก็ต้องคาดหวังว่าแมลงวันจะพัดเข้ามา