เยาวลักษ์ อนุพันธุ์

คำพูด

แก้ไข
  • จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและมุ่งขยายอำนาจรัฐ
  • เราก็ยื่นคำร้องว่าเป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบ ปรากฏว่าพอเรายื่นคำร้องปุ๊บ วันรุ่งขึ้นทางพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็เอา 8 แอดมินมาแถลงที่กองปราบ แล้วเราก็แถลงเลยว่าช่วงที่มีการควบคุมตัวไม่เข้าคำสั่งทั้งสอง เราได้ยื่นคำร้องคุมตัวไม่ชอบต่อศาล แต่ศาลไม่ตรวจสอบคำสั่งว่าชอบหรือไม่ชอบ ศาลบอกว่าถ้ามีคำสั่งที่ 3/2558 กับ 13/2559 ถือว่าควบคุมตัวชอบ โดยไม่ได้ดูคำสั่งว่าเนื้อหากฎหมายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นี่คือชั้นต้นเลย
  • แล้วทางตำรวจก็เอา 8 แอดมินมาแถลงว่า มีการกระทำความผิดตามมาตรา 116 เป็นคดีความผิดฐานความมั่นคง ซึ่งเข้าองค์ประกอบของคำสั่งที่ 3/58 พอศาลทำการไต่สวน ศาลก็ดูจากเนื้อข่าว แล้วศาลก็บอกว่าเมื่อเป็นคดีความผิดตามมาตรา 116 ก็ถือเป็นความผิดเข้า 3/58 ก็ยกคำร้องของเราเลย
  • ศาลบอกว่า พิเคราะห์แล้วคดีมีอัตราโทษสูง และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร มันกลายเป็นการปิดตาย ไม่ให้สิทธิในการประกันตัว ซึ่งขัดแย้งกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลยังบอกว่า จำเลยเคยถูกดำเนินคดีอาญาหมายเลขดำที่ 61 ของมณฑลทหารบกที่ 23 ในความผิดฐานร่วมชุมนุมและมั่วสุมทางการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) จำเลยได้เคยรับการปล่อยตัว แต่จำเลยยังคงมีพฤติการณ์แสดงความเห็นในสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวและต่อต้านกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งตรงนี้ไม่มีฐานกฎหมายรองรับเลย เพราะหลักของการประกันตัวต้องไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน แล้วไผ่ก็ไปรายงานตัวทุกนัด ไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี ซึ่งกฎหมายบ้านเมืองที่ศาลว่าคือคำสั่ง คสช.
  • คือการแสดงออกของจำเลยที่อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมันเป็นหลักการพื้นฐาน แต่ศาลมาใช้ศัพท์ว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อให้เห็นว่ามีแนวโน้มจะกระทำความผิดซ้ำ คือศาลมองว่าการแสดงออกของไผ่เป็นการกระทำความผิด มันก็เลยทำให้เห็นว่าวิธีคิดของศาลที่ไม่ยอมรับเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
  • ปกติอำนาจตุลาการต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่ระบบยุติธรรมเราตอนนี้รับรองอำนาจรัฐเผด็จการ ยอมรับอำนาจของ คสช. แล้วตรวจสอบการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน มันกลับตาลปัตรกัน
  • ในต่างประเทศ ถ้าจะเรียนนิติศาสตร์ คุณต้องจบปริญญาตรีก่อนใบหนึ่ง แล้วเรียนนิติศาสตร์เป็นใบที่สอง ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมายควรมีมากกว่า 10 ปีถึงจะไปเป็นผู้พิพากษาได้ แต่ของเราคือ จบนิติศาสตร์ สอบเนติบัณฑิต แล้วก็เข้าเส้นทาง อายุ 25 ก็เป็นผู้พิพากษา การให้คุณค่าของตำแหน่งตุลาการก็ถูกให้ค่าไว้สูงมาก กลายเป็นตำแหน่งที่พิเศษมากกว่าอาชีพนักกฎหมายอื่น
  • ในสามอำนาจคืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ มีอำนาจตุลาการอำนาจเดียวที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ฉะนั้น จึงเห็นว่าตุลาการไม่ได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งที่เจตนารมณ์ของสามอำนาจเขียนไว้ชัด และยังเป็นเรื่องของวิธีคิด การเรียนการสอนของหลักสูตรนิติศาสตร์ของไทยด้วย คือสอนแต่ตัวบทกฎหมาย เขาชอบแซวว่าพวกนักกฎหมายเป็นพวกที่กักขังตัวเองอยู่กับตัวบท อ่านแต่ตัวบท แต่ไม่ได้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่ามีที่มาอย่างไร ตอนหลังเราจึงเห็นคดีที่วินิจฉัยตามตัวบท โดยไม่มีมิติสังคม การเมือง ไม่มีอะไรเลย วินิจฉัยแบบมุ่งดูแค่พยานหลักฐาน กลายเป็นนักกฎหมายเทคนิค

อ้างอิง

แก้ไข