- ศิลปะกับการเป็นศิลปินกลายเป็น Artist มันต้องมี Freedom ถ้าเกิด Artist เราไม่มี Freedom เราก็ไม่ได้เป็น Artist อะฮะ บางที่แค่ขอโอกาสให้เราพูดความคิดเห็นเราหน่อย ผมว่าไม่ควรที่จะไปโจมตีศิลปิน หรือว่านักร้อง นักแสดง บางคนที่ออกความคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านเมืองเรา เพราะจริงๆ แค่พูดถึงบ้านเมืองเรา เราก็พูดไม่ได้แล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องสีอย่างเดียว แต่แค่พูดถึงอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็พูดไม่ได้แล้ว มันเสี่ยงไป แล้วผมเชื่อว่าทุกคนที่อยากพูด เขาก็รักบ้านเราแล้วก็รักประเทศไทย แล้วเราพูดไม่ได้หรอ?
- “ถ้านักศึกษาและอาจารย์พูดคุยกันในห้องเรียน ไม่มีบุคคลภายนอก หรือ จะเชิญวิทยากรจากที่อื่นมาคุยก็ไม่เป็นปัญหา แต่การประกาศเชิญชวนต่อสาธารณะ อาจไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะสังคมต้องการความสงบ ฝ่ายความมั่นคงกลัวจะเกิดข้อขัดแย้ง.."
- “หนูคิดว่าคนเรามีสิทธิแสดงความคิดเห็นนะคะ เลยไม่อยากจะไปก้าวก่ายว่าเขาห้ามตำหนิวงเราเลย ส่วนตัวไม่ได้น้อยใจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์แบบนี้ ด้วยความที่ตอนนี้วงเราอาจจะมีคนรู้จักมากขึ้น มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ จริงๆ ก็มีมาตั้งแต่ตอนเดบิวต์แล้วค่ะ พวกเราต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจโลก พอมาอยู่ตรงนี้มันก็จะค่อยๆ โตขึ้น ค่อยๆ ทำใจได้ค่ะ”
- ไม่มีประเทศอเมริกันที่เสรีจนกระทั่งทุกคนเสรี
- "ฉันจะยังคงตั้งคำถามต่อไป เสรีภาพทางความคิดต้องมีอยู่คู่สังคมแห่งนี้ หากไร้ซึ่งเสรีภาพ..สังคมก็ไร้ซึ่งอนาคต"
- คุณมีสิทธิ์เลือกทำสิ่งที่คุณอยากทำ แต่ก็ต้องยอมรับผลที่ตามมาให้ได้เช่นกัน
- "ในฐานะคนที่ตามเรื่องการแบนหนังสือมาบ้าง นี่คือนวัตกรรมใหม่ของการแบนหนังสือในเมืองไทย คือแบนจากบทวิจารณ์ มิได้แบนจากตัวบท"
- #ประเทศกูมี ถ้าฟังด้วยความรู้สึกชาตินิยมที่คับแคบก็อาจจะไม่พอใจ ทั้ง ๆ ที่ในประเทศก็มีประชาชนหลายกลุ่ม หลายความคิดที่สะท้อนปัญหาที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนควรมีเสรีภาพควรมีเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกไม่ใช่การบังคับ ข่มขู่ให้คนหนึ่งพูดได้แต่อีกคนกลับพูดไม่ได้
- ยิ่งสังคมคุณปิดมากเท่าไหร่ คุณไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีข่าวลือมากขึ้น
- ถ้าเราไม่มีเสรีภาพ เราก็ไม่ใช่มนุษย์ เราไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงในกรงขัง ในเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่เขารองรับเสรีภาพความเป็นมนุษย์เราได้มากที่สุดในโลก เราก็เลยรู้สึกว่าเราเป็นมนุษย์ที่นี่
- การปิดกั้นความคิดเป็นเพราะเขาเชื่อว่าประชาชนจะคิดได้ และคิดไม่เหมือนกับเขา เราว่ารัฐเองก็ไม่เเน่ใจว่า สิ่งที่ตัวเองคิดอยู่นั้นตรงหรือเหมือนกับที่ประชาชนคิดหรือเปล่า มองว่าลึกๆ เเล้ว รัฐกลัวว่าประชาชนเห็นสิ่งพวกนี้เเล้วประชาชนจะคิดได้ คิดในสิ่งที่เเตกต่างจากสิ่งที่เขาควรให้เป็น ก็เลยเลือกที่จะปิด คิดว่ารัฐกลัว กลัวว่าหากเปิดเผยไปแล้วประชาชนจะคิดไม่เหมือนต่างหาก เเละกลัวว่ารัฐสั่นคลอน ผู้นำเองคงคิดหลายๆ เเบบ หนึ่งคือเชื่อว่าประชาชนคิดได้ เเละสองคิดว่าถ้าปล่อยให้เป็นเเบบนี้มันจะไม่สามารถควบคุมได้
- อิสรเสรีภาพสำหรับวีคือ choice มันคือทางเลือก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะการที่เราเลือกอะไร มันจะบ่งบอกว่าตัวเราเป็นใคร เรื่องนี้สำคัญ ตัวเราควรจะรู้ว่าเราเป็นใครในชีวิตนี้ อย่างช่วงสอบเข้าเรียน ก็รู้แค่อยากเข้านิเทศฯ จุฬาฯ อยากเรียนภาพยนตร์ เข้าได้แล้วก็ไม่รู้ต้องทำยังไงต่อ ไม่ได้วางแผนเอาไว้หลังจากนั้น ชีวิตมันก็เลยเคว้ง แต่วีใช้วิธีลงมือทำ คือลุยกิจกรรมคณะเลย ซึ่งสมัยนั้นมีให้เราได้เล่นเต็มไปหมด แต่ไม่ได้เป็นดารานำนะ ก็ช่วยงานในแบบชนชั้นกรรมกร เขาให้ทำอะไรก็ทำ เหลาไม้ ตัดฉาก ยกของ ซึ่งรวมแล้วผลงานของพวกเราออกมาดี อย่างน้อยๆ วีก็สนุกกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำในตอนนั้น เอนจอยกับมัน ได้เพื่อนใหม่ ดังนั้น หากเรายังเลือกไม่ได้ตามใจ ก็ขอให้ทำมันไปทั้งหมดทุกอย่างเลยแล้วกัน สุดท้ายทำมากเราก็ได้มาก เราจะได้รู้เองว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ยอมรับเลยว่าก่อนหน้านี้มีผลกระทบกับตัวเองเยอะ จนต้องคอยคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะเขียนเพลงอย่างไรให้คนฟังชอบ คิดไปว่าเพลงจะตอบสนองใคร จนสุดท้ายกลายเป็นเพลงที่ออกมาแล้วตัวเราเองนี่แหละที่ไม่ชอบ แต่ขอไม่บอกนะว่าเพลงไหน คือเพลงมันไม่ได้แย่ แต่เราเองไม่ชอบมันอย่างเต็มที่แบบที่ควรจะเป็น จนถึงวันที่ต้องนำไปเล่นสด ก็ไม่อยากใส่มันไว้ในเพลย์ลิสต์ ไม่รู้จะจับใส่ไว้ตรงไหนดี ครึ่งๆ กลางๆ ไปหมด ทุกข์เลยทีนี้ เพราะที่สุดแล้วก็มีเพียงตัวเรานี่แหละที่จะต้องเล่นเพลงนี้ไปตลอดชีวิต
- ตามระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยศาสนาทุกศาสนาต้องอยู่ใต้หลักเสรีภาพ ความเสมอภาค แปลว่าศาสนาทุกศาสนาต้องถูกรัฐ“คุ้มครอง” ให้มีเสรีภาพในการเผยแผ่อย่างเท่าเทียมกัน มีสถานะเท่าเทียมกัน ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาใดก็ได้ หรือไม่นับถือศาสนาใดๆเลยก็ได้ เมื่อหลักการเป็นเช่นนี้จึงยกศาสนาใดศาสนาหนึ่งให้มีสถานะเหนือศาสนาอื่นๆในฐานะเป็น “ศาสนาประจำชาติ” ไม่ได้ ..ถ้าอ้างว่าประชาธิปไตยมาจากที่อื่น(ตะวันตก) พุทธศาสนาก็มาจากที่อื่น (ศรีลังกา-อินเดีย) เหมือนกัน ข้ออ้างแบบนี้ไม่ make sense หรอกครับ ประชาธิปไตยมันก็เป็น “สมบัติร่วมกัน” ของมนุษยชาติ เหมือความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ นั่นแหละ คนทุกชาติมีสิทธิ์รับเอามาเป็นของตัวเอง ไม่มีใคร “ผูกขาด” ความเป็นเจ้าของ เช่นเดียวกันพุทธศาสนาก็เป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ ที่ใครๆ จะรับเอาหรือไม่ก็ได้
- ในระดับสากล ถ้ามนุษย์ไม่มีเสรีภาพในการแสดงออก คิดอะไรแล้วพูดไม่ได้ สังคมจะเป็นสังคมอำนาจนิยม เพราะจะมีแต่ความเห็นของผู้มีอำนาจเท่านั้นที่เผยแพร่ออกมาได้ ประชาชนเป็นได้เพียงผู้รับฟังและทำตามคำสั่ง ความงอกงามของสังคมจะเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นสังคมที่แคระแกร็นอยู่อย่างนั้น
- ไม่ทำข่าว ต่อให้กองโฆษกเชิญก็ไม่ไป เพราะสื่อตอนนั้นมีศักดิ์ศรี
- แค่แสดงความคิดเห็นอย่างเสรียังทำไมได้ ทำไมการลงประชามติ ถึงจะกลายร่างเป็นก้าวแรกของฉันทามติร่วมกันของคนในสังคม
- กรณีนิสิตหญิงจุฬาฯคนหนึ่งที่เป็นแกนนำจัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุง และเป็นแกนนำจัดชุมนุมประท้วงการยุบพรรคอนาคตใหม่ ที่จุฬาฯ พยายามนำธงสีดำขึ้นแทนธงไตรรงค์บนเสาธงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อมหาวิทยาลัย และยังสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายด้วย แต่นิสิตหญิงคนนี้อ้างว่าใครๆเขา ก็ทำกัน เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ นั่นก็จริง เวลามีการชุมนุมประท้วงก็มักมีการกระทำอะไรทำนองนี้บ่อยๆ แต่ต่างกันกับกรณีนี้ตรงที่ว่า เคยเห็นแต่คนที่เขาทำไปโดยรู้ว่าผิด แต่ก็จะทำ แต่เพิ่งเห็นครั้งนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ รปภ.ของมหาวิทยาลัยมาขัดขวาง ข้อโต้แย้งของเธอคือ “ เป็นการไม่ให้สิทธิเสรีภาพแก่นิสิตจุฬาฯ” แปลว่าเสรีภาพคือจะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้นหรือ ลองไปทำอย่างนี้ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วโลก แล้วอ้างว่านี้คือเสรีภาพ แล้วดูซิว่า มีมหาวิทยาลัยไหนบ้างในโลกจะยอมให้เธอทำบ้าง